การบริหารจัดการ account

ประวัติ TKP

รู้หรือไม่ว่า โปรแกรม Antivirus มีประโยชน์ต่อการใช้งานออนไลน์


ปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารส่วนบุคคลประเภทต่างๆ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลและสนองต่อการทำงานในโลกดิจิตอลอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ภัยบุกรุกคุกคาม ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส มัลแวร์  ที่ตามติดคู่มากับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสารส่วนบุคคล ก็พัฒนาตามมาอย่างไม่หยุดยั้ง  นับเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ดิจิตอลไม่ควรมองข้าม

โปรแกรม Antivirus เป็นอีกโปรแกรมหรือ Apps หนึ่งที่ถือว่าจำเป็นที่สุด มีทั้งแบบฟรีและแบบเสียค่า license ซึ่งส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มีระยะเวลาใช้งานเพียง 1 ปี เท่านั้น (ราคาประมาณ 200 - 1800 บาท)

นอกจากนี้ บางโปรแกรมที่ มีแบนเนอร์ติดตาม Social media อาทิ Facebook ก็มีการโฆษณา ประสิทธิภาพต่างๆที่แสนวิเศษ แต่เมื่อดาวน์โหลดมาใช้งานจริง โปรแกรมบางตัว จะทำการ scan ให้เห็นถึงประสิทธิภาพ แต่เวลาจะใช้งานจริง ก็จะไม่สามารถจำกัดภัยร้ายได้ โปรแกรม จะให้ท่านลงทะเบียนเพื่อ เสียเงิน แถมบางตัว ก็ถอนการติดตั้งออกจากระบบลำบากด้วย

มีคำถามว่า แล้วโปรแกรมแบบใดดีที่สุด แบบฟรี หรือเสียเงิน แล้วแบรนด์ไหนทีมีประสิทธิภาพดี  นับเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก  บางคนชินกับการใช้แบรนด์หนึ่ง ก็จะว่าโปรแกรมนั้นดีกว่าตัวนี้ ซึ่งถือว่า แล้วแต่คนชอบ (ผู้เขียนจะใช้ของ Symantec : Norton 360) 

สำหรับวันนี้ จะมาแนะนำ โปรแกรม ทั้งฟรี และแบบเสียค่าบริการ โดยนำเอาข้อมูลส่วนหนึ่งของ Lab ทดสอบที่น่าเชื่อถือของ เว็บไซต์ PCMAG มาเป็นกรณีศึกษา (ปี 2016-2017)

โปรแกรม แบบ ฟรี



ประกอบด้วย

1. Avast antivirus โดยโปรแกรมนี้ถือได้ว่ามีผู้ใช้งานมาก และมีความน่าเชื่อถือในลำดับต้นๆ ที่สำคัญโปรแกรมเวอร์ชั่นฟรี มีประสิทธิภาพในการใช้งานง่ายใช้ทรัพยากรระบบน้อย สนใจศึกษาเพิ่มเติมที่  https://www.avast.com//th-th/index


2. AVG AVG Anti-Virus ออกแบบมาให้ทำงานเบื้องหลังอย่างมีประสิทธิภาพอย่่างเงียบๆ มีอินเตอร์เฟซที่ใช้งานสะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ยังใช้ทรัพยากรระบบน้อยมาก แต่จะแสดง popup หรือหน้าแสดงเชิญชวนให้ท่านเลือกใช้ AVG Professional อยู่บ้างพอรำคาญ ก็น่าเห็นใจที่ต้องขายผลิตภัณฑ์นะ ไงสนใจก็เข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ http://www.avg.com/ww-en/thank-you-antivirus-free?build=692 หรือจะไปศึกษาหน้าตัวแทนประเทศไทยที่  http://avg.antivirus-soft.com/


3. Panda Free Antivirus 2016 Panda Antivirus เป็นอีกตัวที่มีชื่อเสียงในการทำงานที่ดี มีคุณลักษณะประสิทธิภาพโดยรวมที่ยอดเยี่ยม มีออปชั่นตรวจจับการเชื่อมต่อของ port USB ซึ่งโปรแกรมจะทำการสแกนก่อนทันที   ไนอกจากนี้หน้าตาอินเตอร์เฟซเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน มีความเรียบง่าย มีขนาดไฟล์ที่มีขนาดเล็ก แต่ การทำงานไม่ได้เล็กตามเลย นับว่า Panda Antivirus เป็นซอฟต์แวร์ที่ดีตัวหนึ่งเลยทีเดียว ที่สำคัญนอกจากเวอร์ชั่นฟรีแล้วหากใช้เวอร์ชั่นเสียเงิน ราคาก็ ค่อนข้างถูก ติดต่อตัวแทนในไทยที่ http://www.pandaavshop.com/product/15/panda-antivirus-pro-2016-key-code-1-device
ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://www.pandasecurity.com/thailand/




4. Bitdefender Antivirus Free Edition เป็นอีกหนึ่ง โปรแกรมแอนตี้ไวรัส ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ตัวโปรแกรมมีขนาดเล็ก ใช้ทรัพยากรระบบต่ำมาก มีประวัติในการปกป้องเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ดีเยี่ยม กล่าวว่าเป็นโปรแกรมที่มีความแม่นยำและโครงแชมป์ในการตรวจจับด้วย (ข่าวเล่าอ้าง)


ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://www.bitdefender.com/solutions/antivirus.html




เรามาดู ผลการทดสอบกัน ผลคือ  Avast Free Antivirus 2016 ดีที่สุด รองลงมา เป็น AVG AntiVirus Free (2016) Panda Free Antivirus (2016), Bitdefender Antivirus Free Edition (2014), Avira Antivirus 2016, Comodo Antivirus 8 ตามลำดับ ส่วน Microsoft Windows Defender  แม้จะไม่ติดโผ แต่เนื่องจากมากับ Windows 10 ก็มั่นใจในประสิทธิภาพ ความเสถียรภาพที่ดีน่าเชื่อถือได้ (มั้ง)

แนะนำให้ทดลอง Download ตามลิ้งค์ที่ได้ให้ไว้ ลองเลือกใช้ดูนะครับ

โปรแกรม แบบ เสียเงิน




ผลการทดสอบ McAfee Antivirus Plus 2017,  Webroot SecureAnyware Antivirus , Symantec Norton Security และ Bitdefender Antivirus Plus ดีที่สุด ส่วน Avast Pro Antivirus 2016, Emsisoft Anti-Malware 11.0, ESET NOD32 Antivirus 9 และ Trend Micro Antivirus+ Security (2017) คุณภาพดีเยี่ยมเช่นกัน

อ้างอิง http://www.pcmag.com/article2/0,2817,2372364,00.asp

รู้หรือไม่ว่า การนำวิดีโอจาก YoueTube มาวางหรือเผยแพร่ใน Social media ของตนเองที่ไม่แสวงหาผลกำไร ไม่ผิดกฏหมาย

ปัจจุบันเราท่านจะมีการใช้งาน Social media ในหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Line, Instagram, Twitter, BLOG, หรือแม้กระทั่ง Website ส่วนตัว ขององค์กร หรือของหน่วยงาน พบว่ามีหลายคนที่นำวิดีโอจาก YouTube โดยเฉพาะ Music Video ของค่ายเพลงที่ตนเองชื่นชอบ มาเผยแพร่แชร์ต่อบน Social media ของตนในลักษณะใส่โค๊ดคำสั่ง Embed  แม้จะกระทำในวงจำกัด(หรือเปล่า) ในกลุ่มเพื่อนก็ตาม ซึ่งแต่เดิม(ก่อนเดือนสิงหาคม 2558) ถือว่ามีความผิด เพราะการกระทำดังกล่าวถือเป็นการทำซ้ำงานลิขสิทธิ์ และถือเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วย ซึ่งสิทธิในการทำซ้ำและสิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์

แต่ปัจจุบันใดมีการตีความใหม่และได้มีการเผยแพร่โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา  ว่า การทำเช่นนั้น ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

ด้วยเหตุผลที่ว่า 
1.การ embed เป็นเพียง code คำสั่งเช่นเดียวกับการ share link ที่ถือเป็นการอ้างอิงกลับไปยังคลิปวิดีโอของเจ้าของลิขสิทธิ์ต้นทาง มิได้โยกย้ายตำแหน่ง แหล่งที่มา หรือการนำลงมาเพื่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ


2.การที่ User หมายถึงผู้บริโภคจะทำการ embed ได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของคลิปวิดีโอบน YouTube ไม่ได้ยกเลิกคำสั่งการฝังได้ (ภาพการตั้งค่าจากด้านบน) เท่ากับเป็นการเผยแพร่ในลักษณะ Public ซึ่งถือได้ว่าเจ้าของลิขสิทธิ์วิดีโอนั้นอนุญาตให้สาธารณชนทั่วไปเข้าถึงงานดังกล่าวได้ เพราะฉะนั้น การนำวิดีโอจาก YouTube มาเผยแพร่ไว้ที่ blog หรือ Social media ของเราในลักษณะของการฝังโค้ด (embed) จึงอาจไม่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์เช่นเดียวกับการแชร์ลิงค์ของคลิปวิดีโอ

หน้าที่และบทบาทของผู้จัดการศึกษาออนไลน์


1. งานออกแบบ พัฒนาและสร้างหลักสูตร บทเรียน
o กำหนดองค์ประกอบสำคัญของการสร้างบทเรียนทั้งหมด อาทิ  เนื้อหา วัตถุประสงค์ รูปแบบ ลักษณะ วิธีการที่จะนำเสนอที่เหมาะสมกับผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ออนไลน์
o จัดทำผังสร้างงาน (Storyboard) จัดลำดับการนำเสนอเนื้อหา แหล่งเชื่อมโยง (link) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อศึกษาเพิ่มเติม
o ออกแบบกำหนดรายละเอียดบทเรียนการเรียนรู้ออนไลน์ตามผังสร้างงาน อาทิ การออกแบบ หน้าแสดงผล (interface) ตัวช่วยนำทาง (navigation) โครงสร้างรวมของบทเรียน(site directory)
o จัดทำบทเรียนการเรียนรู้ออนไลน์ตามรายละเอียดที่ได้กำหนดไว้ และดำเนินการทดสอบกระบวนการเชื่อมโยง ทั้งภายในและภายนอกสาระบทเรียนตามโครงสร้างรวมของบทเรียน(site directory)

2. งานจัดการศึกษา/การเรียนรู้
o นำหลักสูตรเข้าระบบ course management system
o เผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักสูตร
o แต่งตั้งครูที่ปรึกษาประจำหลักสูตร(e-instructor)เพื่อสนับสนุนการให้คำแนะนำแก่ผู้เรียน
o เปิดหลักสูตรในการจัดฐานการเรียนรู้
o ประเมินผล หรือวัดผลการเรียนรู้ในแต่ละหลักสูตร
o ควบคุม ตรวจสอบการเข้าฐานการเรียนรู้ ให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

3. งานออกแบบการแสดงผลและสื่อประกอบ (Interface & Media Element Design)
o งานจัดการด้านชิ้นส่วนกราฟิกและสื่อมัลติมีเดียประกอบบทเรียนและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
o งานออกแบบภาพรวมการแสดงผลบนหน้าจอของทุกอุปกรณ์ (User Interface)

4. งานบริหารระบบฐานข้อมูลการเรียนรู้  (E-learning Management System) 
o จัดโมดุลรายวิชาที่สร้างให้เหมาะสมกับระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์
o พัฒนาข้อมูลบทเรียน สาระเนื้อหารายวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
o ดำเนินการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูลบทเรียนและข้อมูล สาระเนื้อหารายวิชา กับเครือข่าย ภายใต้กลไกการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน(Education Resource Sharing)
o ดำเนินการเชื่อมโยง ข้อมูลหลักสูตร เข้าสู่ระบบ Web Portal

5. งานจัดการความเสี่ยงของระบบจัดการศึกษาออนไลน์ 
o การป้องกันและรักษาข้อมูลบทเรียนและเนื้อหาการเรียนรู้บน Server/Cloud
+ ทำการสำรองข้อมูลจาก Web Servers/Cloud
o การป้องกันความเสียหายจากไวรัสคอมพิวเตอร์
+ ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสลิขสิทธิ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ใช้พัฒนาสื่อ หลักสูตร และบทเรียน
+ ปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัส (Virus Definition File) จากเว็บไซด์ของบริษัทเจ้าของโปรแกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ

6. งานพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับระบบจัดการศึกษาออนไลน์ 
o ศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อหลักสูตร บทเรียน และเนื้อหาการเรียนรู้
+ ศึกษา พัฒนาเทคโนโลยีเว็บ ที่สอดคล้องต่อสภาพ ปัจจัย กระบวนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามมาตรฐาน SCORM
+ นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ
o การรักษามาตรฐานของไฟล์ข้อมูลบทเรียนและเนื้อหาการเรียนรู้
+ จัดหาโปรแกรม (Software) สำหรับใช้ในการผลิตเนื้อหา บทเรียน เพื่อป้องกันปัญหา จากการละเมิดลิขสิทธิ์
+ จัดทำแม่แบบรวมทั้งไฟล์บทเรียนให้มีมาตรฐานต่อระบบการจัดการศึกษาออนไลน์ เป็นไปตามมาตรฐาน SCORM
+ ปรับปรุงไฟล์ข้อมูลเนื้อหา บทเรียน ให้ทันสมัยเป็นปัจจุบัน รองรับพัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ในทุกๆอุปกรณ์ได้อย่างสมบูรณ์