การบริหารจัดการ account

ประวัติ TKP

สุขใจออแกนิคฟาร์ม : แหล่งเรียนรู้

 

สุขใจออแกนิคฟาร์ม



            ในปัจจุบันคนหันมาให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินที่ต้องปลอดสารเคมี ในพื้นที่อำเภอเมืองลำพูนได้มีสวนแห่งหนึ่งได้ริเริ่มปลูกพืชผักที่ปลอดสารเคมีขึ้น ชื่อ สวนสุขใจออร์แกนิคฟาร์ม

            ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของบ้านสวนสุขใจ ฟาร์มออร์แกนิก ได้แก่ ข้าว “ปันสุข” เป็นข้าว 6 ชนิด ได้แก่ ข้าวไรซ์เบอรี่สุขใจ, ข้าวกล้องหอมมะลิดอกสัก, ข้าวเหนียวกล่ำแบบผสม, ข้าวไรซ์เบอรี่แบบผสม, ข้าวเหนียวหอมแม่โจ้ และข้าวขาวหอมมะลิดอกสัก “ไข่ไก่อารมณ์ดี” จากไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อย เพื่อให้แม่ไก่ได้เดินเล่น และไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ โดยมีแนวคิดว่า “From Mom to Mom” จากแม่ไก่สู่คุณแม่ทุก ๆ คน "กบออร์แกนิค" เลี้ยงด้วยอาหารออร์แกนิค ไม่มีสารเคมี...อ่านเพิ่มเติม




ไร่นาสวนผสม : แหล่งเรียนรู้

 


.
185 แหล่งเรียนรู้ไร่นาสวนผสม


            หลายปีก่อนดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ไม่เข้าใจคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง คิดเพียงว่าหากเริ่มต้นทำการเกษตร เช่น ปลูกผัก ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน กว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และจะเอาเงินมาจากไหน เพื่อซื้อสิ่งของ เครื่องใช้ เช่น โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่ตัวเล็กกว่าฝ่ามือที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น ถ้าไม่ได้จากเงินเดือนพนักงานบริษัทที่ดิฉันทำอยู่ขณะนั้น ณ ปัจจุบันนี้ หากมองกลับไปแล้วคงไม่มีความคิดแบบนี้เป็นแน่

            วันนี้ดิฉันจะนำทุกท่านพบกับบุคคลที่มีความสุข โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาประยุกต์ใช้ในชีวิต คุณอนัน หมื่นสิทธิโรจน์ อยู่บ้านเลขที่ 185 หมู่ 8 บ้านม่วงต้นผึ้ง ตำบลบ้านแป้น อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ได้รับรางวัลที่ 3 ประเภท เกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม ในการคัดเลือกเกษตรกรบุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น ระดับจังหวัด ประจำปี 2563 จากกรมส่งเสริมการเกษตร จังหวัดลำพูน ...อ่านเพิ่มเติม




วัดพระธาตุดอยแต : แหล่งท่องเที่ยว

 วัดพระธาตุดอยแต



            วัดพระธาตุดอยแต มีความสำคัญเกี่ยวกับท่าน พระครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๒ หลังจากท่านอุปสมบทได้ ๑ ปี แล้วท่านได้ขอลาพระครูบาขัติยะ หรือคนทั่วไปเรียกท่านว่า “ครูบาแข้งแขะ” อาจารย์องค์แรกของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ไปศึกษากัมมัฏฐานและปฏิบัติธรรมกับพระครูบาอุปละ (อุบล) วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน (ในปี ๒๕๒๘ วัดพระธาตุดอยแต ได้โอนวัดมาขึ้นต่อตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน)

            ซึ่งสมัยนั้นชาวลำพูนนับถือท่านว่าเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด ปฏิบัติเคร่งครัด พระครูบาอุปละได้เมตตาถ่ายทอดครองวัตรปฏิบัติวิชชาอาคมให้พระศรีวิชัยสมควรแก่ภูมิธรรมเป็นเวลา ๑ พรรษา หลังจากได้ศึกษากัมมัฏฐานกับพระครูบาอุปละ (อุบล) ได้ ๑ พรรษา จึงได้อำลากลับมาสู่วัดบ้านปาง ตั้งจิตอธิษฐานปฏิบัติทบทวนภูมิธรรมพิจารณาวัตรปฏิบัติธรรมโดยเคร่งครัดเสมอต้นเสมอปลาย และท่านได้นับถือพระครูบาอุปละ เป็นอาจารย์ผู้สั่งสอนกัมมัฏฐานองค์ที่ ๓ เป็นองค์สุดท้าย ...อ่านเพิ่มเติม

ก่องข้าว..ใบตาล : อาชีพ

 

ก่องข้าว..ใบตาล



            อำเภอบ้านธิเป็นอำเภอขนาดเล็กตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของจังหวัดลำพูนประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร เช่น ทำนา ปลูกผัก ทำสวนลำไย เป็นต้น บริเวณทุ่งนามีการปลูกต้นตาลกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการปลูกมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าส่วนใหญ่นิยมปลูกตามคันนาเป็นแนวยาวเรียงกันเพื่อแสดงอาณาเขตที่ดิน
                ต้นตาลเป็นปาล์มต้นเดี่ยวที่มีความสูงชะลูด มีลำต้นใหญ่และเนื้อแข็งแรงมาก เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน ลำต้น เดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งจะมีกาบขอบใบติดอยู่ประมาณ 5 เมตร ลักษณะของเนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง มีเสี้ยนสีดำอัดกันแน่นด้านในสูงประมาณ 15 เมตร และจะมีใบออกที่ยอด  ...อ่านเพิ่มเติม

"เฮือนไตลื้อ" (บ้านป่าเหียง) : แหล่งเรียนรู้

 

แหล่งเรียนรู้ : "เฮือนไตลื้อ" (บ้านป่าเหียง)





"เฮือนไตลื้อ" (บ้านป่าเหียง)
มรดกทางวัฒนธรรมที่มรดกทางวัฒนธรรมที่ขออุทิศไว้เพื่อชุมชนขออุทิศไว้เพื่อชุมชน

            การเปลี่ยนแปลงของกระแสวัฒนธรรมในปัจจุบัน ได้กลืนกินวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นไปด้วย ทั้งการแต่งกาย วิถีชีวิต อาหารการกิน รวมไปถึงสถาปัตยกรรมอาคารเป็นเรือน ก็แทบจะเป็นบ้านที่ก่อด้วยปูนซีเมนต์แบบเดียวกันทั้งหมด บ้านเรือนรูปทรงแบบโบราณจึงพบเห็นได้ยากมากขึ้นในปัจจุบัน และเชื่อว่าในอนาคตอาจจะสูญหายไปตามกาลเวลาอีกด้ว

            ชุมชนบ้านป่าเหียง ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่ประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมเช่นเดียวกัน บ้านเรือนทรงไทลื้อดั้งเดิมแบบโบราณแทบจะหาชมได้ยากแล้ว คนสร้างเมื่อเสียชีวิตลง บางทีลูกหลานก็ไม่ได้เก็บรักษาหรืออนุรักษ์ไว้ ทำให้หายไปจำนวนมาก พ่อน้อยเมืองอินทร์ สายวังจิตต์ ปัจจุบันอายุ 85 ปี ได้ตระหนักถึงปัญหาการสูญสลายทางวัฒนธรรมบ้านเรือนแบบไทลื้อโบราณ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเรือนอยู่อาศัยที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น จึงได้อุทิศเรือนของตน เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้ โดยยังคงมีเรือนอยู่อาศัยพื้นถิ่นแบบดั้งเดิมที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์และสะท้อนภาพความเป็นอยู่ของท้องถิ่น ตามแบบวิถีของชุมชนไทลื้อไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ...อ่านเพิ่มเติม

แข่งเรือยาว ประเพณีออกพรรษา : ศิลปวัฒนธรรม

 


แข่งเรือยาว ประเพณีออกพรรษา

            ย้อนอดีตไปประมาณ 50 – 60 ปี เมื่อถึงเดือน 12 เป็ง (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 12) เป็นประเพณีที่ชาวบ้านมาทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลไปหาผู้ล่วงลับ (บรรพบุรุษ) ซึ่งเป็นประเพณีตามความเชื่อของชาวไทยพุทธ เล่าต่อกันมาว่า “ท่านพยายม” จะเปิดประตูผีหรือประตูนรกวันปล่อยผีให้ดวงวิญญาณมารับเอาส่วนบุญส่วนกุศลที่ทางญาติทำบุญให้ เทศกาล 12 เป็ง ของทุกๆ ปี พื้นที่ชุมชนตำบลปากบ่อง มีทั้งหมดจำนวน 5 ชุมชน (หมู่บ้าน) คือ ชุมชนบ้านสบทา ชุมชนบ้านท่าต้นงิ้ว ชุมชนบ้านหนองสะลีก ชุมชนบ้านหนองผำ และชุมชนบ้านปากบ่อง ชุมชนบ้านก้องหรือบ้านปากบ่อง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน และชุมชนใกล้เคียงเข้าวัดทำบุญตักบาตรกันแล้ว จะชวนกันไปชมการแข่งเรือยาวประจำปี บริเวณท่าน้ำปิงซึ่งอยู่หลังวัดบ้านก้องนั่นเอง...อ่านเพิ่มเติม


แหล่งอนุรักษ์โคขาวลำพูนบ้านไร่ป่าคา : แหล่งเรียนรู้

 



แหล่งเรียนรู้ : แหล่งอนุรักษ์โคขาวลำพูนบ้านไร่ป่าคา

           แหล่งอนุรักษ์พันธุ์โคขาวลำพูนที่หาดูได้ยากเป็นโคขาวลำพูนที่มีลักษณะที่ดีซึ่งนำไปใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ จุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าตุ้มโดยสำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดลำพูน

โคขาวลำพูนเป็นโคพันธุ์พื้นเมืองที่เกษตรกรในเขตภาคเหนือเลี้ยงสืบทอดกันมาเป็นเวลานานมีประประวัติความเป็นมาอย่างไรไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนแต่น่าจะอยู่กับวิถีชีวิตของเกษตรกรไทยล้านนามาตั้งแต่อดีตจากการบอกเล่าสืบต่อกันมาพอจะสันนิษฐานที่มาของโคขาวลำพูนได้ 3 แนวทางคือ

            1.เกิดจากการกลายพันธุ์ของโคพื้นเมืองในสมัยเจ้าแม่จามเทวีเจ้าผู้ครองนครหริภุญชัย (ลำพูน) เมื่อประมาณ 1,340 ปีที่ผ่านมาเป็นสัตว์คู่บารมีของชนชั้นปกครองในสมัยนั้น

            2.บ้างก็บอกว่าโคขาวน่าจะเป็นต้นตระกูลของโคพื้นเมืองในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นโคทางยุโรปที่ไม่มีหนอกต่อมาถูกผสมข้ามสายพันธุ์โดยโคอินเดียที่มีหนอกทำให้เกิดโคพันธุ์ใหม่ในภูมิภาคนี้ที่มีเหนียงคอสั้นหน้าผากแบนและหูเล็กกางมีหนอกเล็กน้อยแบบโคอินเดีย
            3.จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าสืบต่อกันมาว่าสมัยก่อนราว พ.ศ. 2490-2450 บ้านเมืองไม่มีรถยนต์ที่จะใช้บรรทุกสิ่งของเพื่อการค้าขายผู้คนเลยหันมาใช้สัตว์บรรทุกสิ่งของแทนเช่นม้าต่างโคต่างเป็นต้นเพื่อบรรทุกสิ่งของไปมาค้าขายกันระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านเช่นพม่าเป็นต้นขากลับพ่อค้าก็ซื้อโคตัวเมียสีขาวที่เมืองพม่ามาเลี้ยงที่เมืองลำพูนและมีการปรับปรุงสายพันธุ์จนกลายเป็นโคขาวลำพูนขึ้น
 ...อ่านเพิ่มเติม

วัดพระพุทธบาทตากผ้า ตำนานแห่งล้านนา : แหล่งท่องเที่ยว

 


วัดพระพุทธบาทตากผ้า  ตำนานแห่งล้านนา

            ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติไทย ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทย สืบทอดกันมาอย่างช้านาน วัดเป็น ศาสนสถาน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุสามเณร เป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา ในปัจจุบันมีวัดวาอารามต่างๆ ที่สวยงามและได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วิถีพุทธ เรียนรู้พุทธศาสนา และประวัติศาสตร์

    วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ มีปูชนียสถานที่สำคัญหลายแห่ง มีบรรยากาศร่มรื่น ทิวทัศน์สวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและขึ้นชื่อของจังหวัดลำพูน...อ่านเพิ่มเติม


ลูกประคบสมุนไพร : อาชีพ

 


ลูกประคบสมุนไพร

                ลูกประคบสมุนไพร มีความสำคัญในการนวดแผนไทย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำสมุนไพรหลายชนิดมาผ่านกระบวนการ แล้วมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย เมื่อถูกความร้อนจะระเหยออกมา กลายเป็นกลิ่น เช่น ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด การบูร โดยเราสามารถนำเอาสมุนไพรเหล่านั้นมาหั่นย่อยอย่างหยาบๆ จากนั้นห่อด้วยผ้าดิบเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกลม แล้วนำไปผ่านกระบวนการความร้อนด้วยวิธีการนึ่งไอน้ำ เพื่อให้สมุนไพรละลายออกมาเป็นตัวยาซึมเข้าใต้ผิวหนังตามร่างกาย ...อ่านเพิ่มเติม


อาชีพ : ทอผ้า ”เสน่ห์ของคนทุ่งหัวช้าง"

 


อาชีพ : ทอผ้า ”เสน่ห์ของคนทุ่งหัวช้าง"

                อำเภอทุ่งหัวช้างเป็นอำเภอเล็กๆ ที่เงียบสงบห่างไกลตัวเมืองที่เหมาะสมกับบรรยากาศในการทอผ้า ชุมชนในอำเภอเล็กๆแห่งนี้เป็นที่สืบสานศิลปวัฒนธรรมในการทอผ้ามาเป็นเวลานานดังนั้นการทอผ้าจึงเปรียบเสมือนเป็นอีกหนึ่งวิถีชีวิตที่สำคัญของชาวอำเภอทุ่งหัวช้างที่ไม่ได้มีการจำกัดเชื้อชาติ ศาสนา มีทั้งชาวเมืองพื้นราบ ชาวเขาเผ่าต่างๆที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ผ้าไหมยกดอกที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศ จนได้การรับรองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาโลก
                การทอผ้า หรือ "การทอ" (อังกฤษ : weaving) ถือเป็นศิลปะและหัตถกรรมหรืองานฝีมืออย่างหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นกรรมวิธีการผลิตผืนผ้าโดยใช้เส้นด้ายพุ่งและเส้นด้ายยืนมาขัดประสานกันจนได้เป็นผืนผ้า ทั้งนี้ต้องมีเครื่องมือในการทอ เรียกว่า หูก หรือกี่ (ในภาษาไทยถิ่นอีสาน มักเรียกการทอผ้าว่า "ตำหูก") ...อ่านเพิ่มเติม




สล่าไม้แกะสลัก : ภูมิปัญญา

 

สล่าไม้แกะสลัก




ประวัติการแกะสลักไม้

    สำหรับประวัติการแกะสลักไม้ของอำเภอแม่ทา ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่แต่พอสันนิษฐานตามประวัติศาสตร์ได้ว่า การแกะสลักไม้ของอำเภอแม่ทาเริ่มมาจากตั้งแต่พุทธศักราช 2348 สมัยที่พระเจ้ากาวิละให้ชาวยองทั้งหมดมาบูรณะเมืองลำพูน แล้วชาวยองเหล่านั้นได้แยกย้ายกันไปตั้งถิ่นฐานในที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆ รวมทั้งแม่น้ำทาในเขตอำเภอแม่ทาด้วย โดยเฉพาะในปัจจุบันในเขตตำบลทาทุ่งหลวง ตำบลทากาศและตำบลทาขุมเงิน ของอำเภอแม่ทา ซึ่งเป็นแหล่ง

            ไม้แกะสลักที่ใหญ่และสำคัญและเป็นชาวยองเกือบทั้งหมด ตามประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า ชนชาวยองที่อพยพมาจากเมืองยองนั้น มีฝีมือทางด้านแกะสลักไม้และการทอผ้าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งชาวอำเภอแม่ทา โดยเฉพาะ 3 ตำบลดังกล่าว ก็มีฝีมือในการแกะสลักไม้และการทอผ้าเช่นเดียวกัน...อ่านเพิ่มเติม


ภูมิปัญญา : แม่หญิงล้านนา งดงามล้ำค่า...สู่ตุ๊กตาดินเผา

 



แม่หญิงล้านนา งดงามล้ำค่า...สู่ตุ๊กตาดินเผา

“วัฒนธรรมเก่าเลือนหายไป...วัฒนธรรมใหม่เข้ามาแทนที่” ผู้เฒ่าผู้แก่รู้สึกใจหายทุกครั้ง

            ที่ได้ยินประโยคนี้ ลูกหลานในยุคสมัยปัจจุบันต่างรับอิทธิพลของชาติตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ซึ่งหารู้ไม่ว่าวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาวล้านนากำลังจะเลือนหายไปตามกาลเวลา ตามยุคสมัยของโลกปัจจุบัน

            อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ยังมีผู้ซึ่งมีใจรักในวัฒนธรรมล้านนาและต้องการที่จะสืบสานไปยังรุ่นลูก รุ่นหลาน เพื่อให้เห็นความงดงามอันล้ำค่าอย่างตุ๊กตาปั้นดินเผาชุดผู้หญิงล้านนาในสมัยก่อน ซึ่งเกิดจากแนวคิดและความรู้สึกของผู้ที่มีใจรักและมีศิลปะในการปั้นดินเผา คือนายอดุลย์ เชื้อจิต ชาวบ้านดงหลวง ตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและความงดงามของผู้หญิงล้านนาในอดีต ทั้งด้านการแต่งกาย การนุ่งซิ่น การห่มผ้าสไบ การมวยผม และกิริยาที่อ่อนน้อมถ่อมตน ตุ๊กตาปั้นดินเผาชุดผู้หญิงล้านนาของนายอดุลย์ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว ๔ ประการ...อ่านเพิ่มเติม


แหล่งท่องเที่ยว : วัดทิพย์อัปสรอมรอินทร์ รื่นรมย์ศิลป์ถิ่นล้านนา

 


วัดทิพย์อัปสรอมรอินทร์ รื่นรมย์ศิลป์ถิ่นล้านนา

            วัดทิพย์อัปสรอมรอินทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 307 หมู่ 9 ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน มีตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งพระนางจามเทวีผู้ครองนครหริภุญชัย ได้เสด็จทางเรือตามลำน้ำปิง เพื่อมาสำรวจพื้นที่อาณาเขตการปกครอง ครั้นมาถึงบริเวณชุมชนวังสะแกง มีคุ้งน้ำวนขนาดใหญ่ น้ำไหลเชี่ยวแรง เรือโคลงเคลง ทำให้ปาน (ฆ้อง) เชือกขาดตกน้ำบริเวณคุ้งน้ำวนดังกล่าว พระองค์จึงให้ทหารและชาวบ้านที่ดำน้ำเก่งลงไปหา แต่ก็ไม่พบเพราะบริเวณดังกล่าวมีลักษณะเป็นโขดหิน ลึก พระนางจึงเชื่อในญาณว่า เป็นบริเวณพื้นที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีพญานาคดูแล จึงรับสั่งให้มีการสร้างวัดไว้...อ่านเพิ่มเติม




บ้านท่าหลุกชุมชนต้นแบบการจัดการขยะในชุมชนและครัวเรือน : แหล่งเรียนรู้

 บ้านท่าหลุกชุมชนต้นแบบการจัดการขยะในชุมชนและครัวเรือน


บ้านท่าหลุกชุมชนต้นแบบการจัดการขยะในชุมชนและครัวเรือน

            นับตั้งแต่อดีตมาสู่ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานและนับวันยิ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปีตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ในขณะเดียวกันปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำ แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ทั้งการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย รวมทั้งการกำจัด ถึงแม้จะได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับปริมาณขยะมูลฝอยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี...อ่านเพิ่มเติม

แหล่งท่องเที่ยว : วัดพระธาตุดอยกวางคำ

 


วัดพระธาตุดอยกวางคำ

            วัดพระธาตุดอยกวางคำ ตั้งอยู่ที่ บ้านโป่งแดง-สัญชัย ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน วัดนี้ถูกสร้างโดยหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนากิจจานุรักษ์ (อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว) เมื่อประมาณ 50 กว่าปีที่แล้วในสมัยที่หลวงปู่ได้ติดตามครูบาเจ้าศรีวิชัย และครูบาเจ้าอภัยขาวปี(วัดพระพุทธบาทผาหนาม อำเภอลี้) มาบูรณะวัดพระธาตุหัวขัวอำเภอทุ่งหัวช้าง...อ่านเพิ่มเติม

พิธีแห่ช้างเผือกและสืบชะตาแม่น้ำลี้ : วัฒนธรรม

 


ประเพณีแห่ช้างเผือกและสืบชะตาแม่น้ำลี้

               จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมส่งผลทำให้ประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาเกือบจะหายไป คนรุ่นใหม่มักไม่เล็งเห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรม จะมีเพียงผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้นที่ยังสามารถเล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆไว้ แต่ยังคงขาดการบันทึกเก็บไว้ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บและเผยแพร่เป็นดำรงไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและสืบต่อกันไปไม่ให้วัฒนธรรมได้หายจากไป วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนร่วมอยู่ด้วยกันได้ตามความเชื่อในวัฒนธรรม วัฒนธรรมยังเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติ เนื่องจากมนุษย์จะต้องอาศัยธรรมชาติในการดำเนินชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆจะสอดแทรกให้อนุรักษ์ธรรมชาติ เช่นเดียวกับวัฒนธรรมและประเพณีในอำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง เป็นอำเภอในจังหวัดลำพูนที่มีภูมิประเทศล้อมรอบไปด้วยภูเขาเป็นอำเภอเล็กๆ ด้วยความสมบูรณ์ทางภูมิภาคและประกอบมีแม่น้ำ และห้วยน้ำต่างๆหลายสายที่ไหลผ่าน แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำไร่ทำสวนเป็นส่วนมาก วิถีชีวิตจึงมีความแตกต่างจากอำเภออื่นๆ ที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายพืชผักจะปลูกกินเองตามบ้านเรือน เลี้ยงไก่ไข่ บางบ้านจะเลี้ยงหมู เพื่อไว้ประกอบอาหาร ...อ่านเพิ่มเติม


แหล่งเรียนรู้ : สวนผัดกูดปลอดภัย แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

 


สวนผัดกูดปลอดภัย แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

            แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สวนผักกูดปลอดภัย ตั้งอยู่ที่ 233 หมู่ 1 ต.ทาสบเส้า อ.แม่ทา จ.ลำพูน โดยมี นายสุรชัย แสงบุญเรือง เป็นเจ้าของสวนผักกูด ได้กล่าวว่า เมื่อกล่าวถึง “ผักกูด” คนรุ่นใหม่น้อยคนนักที่จะคุ้นเคยและรู้จัก หรือได้รับประทานผักชนิดนี้กัน แต่ก็ยังเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ที่รักสุขภาพนิยมนำมารับประทานเพื่อให้ประโยชน์ต่อร่างกาย “ผักกูด” เป็นชื่อของผักพื้นบ้านที่อยู่ในตระกูลเฟิน ซึ่งสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ นิยมนำยอดอ่อนและใบอ่อนมาปรุงอาหาร หรือลวกจิ้มน้ำพริก โดยมีสรรพคุณแก้ไข้ ตัวร้อน พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต และความดันโลหิตสูง เป็นต้นลักษณะใบจะเป็นแผงรูปขนนกคู่ขนานกัน ใบอ่อนปลายยอดจะม้วนงอแบบก้นหอย ส่วนตรงที่เป็นสปอร์ซึ่งอยู่ด้านหลังใบที่แก่จัด จะทำให้ต้นผักกูดมีการขยายพันธุ์รวดเร็ว โดยการแตกกอใหม่ ...อ่านเพิ่มเติม




แหล่งท่องเที่ยว : อ่างเก็บน้ำแม่เมย

 


อ่างเก็บน้ำแม่เมย

            อ่างเก็บน้ำแม่เมย : เป็นอ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อเช่นกัน โดยเฉพาะนักตกปลา ซึ่งบริเวณรอบๆพื้นที่อ่างเก็บน้ำแม่เมย ก็มีความสวยงามไปด้วยทิวทัศน์ธรรมชาติจะมองเห็นทิวเขาสวยงามที่สลับทับซ้อนเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีที่พักให้กับชาวบ้านในชุมชนและบริเวณใกล้เคียงได้มาพักผ่อนกัน ริมน้ำมีศาลาที่พักให้นั่ง มีร้านจำหน่ายอาหาร สถานที่เงียบสงบ สัมผัสสายลม แสงแดด และเป็นแหล่งตกปลาตามธรรมชาติ ...อ่านเพิ่มเติม


วัฒธนธรรมสืบสานชาติพันธุ์กะเหรี่ยง บ้านแม่ขนาด : วัฒนธรรม

 



 วัฒนธรรมสืบสานวัฒนธรรมกะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด

            ประวัติ หมู่บ้านแห่งนี้มีแม่น้ำขนาดหรือห้วยแม่คะนะไหลผ่าน จึงได้ชื่อว่า บ้านแม่ขนาดซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง(ปาเกอะญอ) มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่จะยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมีความเป็นอยู่ที่สงบเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้มีภาษาและการแต่งกายเป็นของตัวเอง ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทอผ้าไว้ใช้เองเริ่มตั้งแต่การปลูกฝ้าย ปั่นด้าย ทอผ้า และประดับลูกเดือย มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ภายในหมู่บ้านยังมีกลุ่มทอผ้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาวเขาและสิ่งทอทุกชนิดให้ได้เลือกซื้อกันอีกด้วย...อ่านเพิ่มเติม


แหนมเห็ด : อาชีพ


อาชีพท้องถิ่น “แหนมเห็ด”






ประวัติความเป็นมา

    แหนมเห็ดเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านปงแม่ลอบ หมู่ 1 ตำบลทาแม่ลอบ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน แต่เดิมนั้นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้มีการเพาะเห็ดเพื่อจำหน่ายเป็นประจำอยู่แล้ว แต่มีแนวความคิดที่ต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของกลุ่ม จึงนำภูมิปัญญาเกี่ยวกับการทำแหนมมาประยุกต์ใช้ในการทำแหนมเห็ดนั่นเอง... อ่านเพิ่มเติม

ศรัทธา วิถีชาวพุทธปกาเกอะญอแห่ง “บ้านห้วยต้ม” ลำพูน : วัฒนธรรม

 

ศรัทธา วิถีชาวพุทธปกาเกอะญอแห่ง “บ้านห้วยต้ม” ลำพูน



                ปัจจุบันการเดินทางท่องเที่ยวไม่ใช่เรื่องยากเย็นอีกต่อไป เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นนักท่องเที่ยวพากันหลั่งไหลไปเที่ยวต่างจังหวัดในช่วงเทศกาลกันอย่างหนาแน่น จนทำให้เราไม่สามารถใช้เวลาซึมซับบรรยากาศในสถานที่นั้นๆได้อย่างเต็มที่ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เดินทางท่องเที่ยวเพื่อพบปะผู้คนและซึมซับ เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างออกไปจากชีวิตประจำวัน ขอให้ลางาน เก็บกระเป๋าแล้วตามเรามา จะพาคุณไปเรียนรู้วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยที่มีชื่อว่า “ปกากะญอ” ที่ชุมชนพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งขอบอกว่าที่นี่ไม่ใช่แค่สถานที่ท่องเที่ยว แต่จะเป็นที่ที่คุณได้ใช้ชีวิตแบบ “อินไซด์” กับชาวปกากะญอเชียวล่ะ...อ่านเพิ่มเติม

เที่ยววัดพระพุทธบาทผาหนาม ตามรอยนักบุญ : แหล่งท่องเที่ยว

 



เที่ยววัดพระพุทธบาทผาหนาม ตามรอยนักบุญ

พระธาตุงามตา ประเพณีล้านนา ไหว้สาครูบาขาวปี

เที่ยววัดพระพุทธบาทผาหนาม ตามรอยนักบุญ

บ้านผาหนาม  ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน

            ความเป็นมาของสถานที่ท่องเที่ยว วัดพระพุทธบาทผาหนาม  ตามรอยนักบุญ วัดพระพุทธบาทผาหนามตั้งอยู่บนถนนหมายเลข 106 ถนนลี้- ลำพูน ห่างจากตัวจังหวัดลำพูนประมาณ105 กิโลเมตร ซึ่งเป็นสถานที่ทางศาสนสถาน เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ตามคำบอกกล่าวของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า เดิมทีนั้นวัดพระพุทธบาทผาหนามยังเป็นซากปรักหักพัง แต่ยังมีรอยพระพุทธบาท ต่อมาครูบาอภิชัยขาวปีซึ่งเป็นศิษย์ยานุศิษย์ครูบาศรีวิชัยได้ร่วมกับคณะศรัทธาในพื้นที่ เป็นประชาชนบ้านผาหนามที่ได้อพยพหนีน้ำท่วมจากอำเภอฮอด และอำเภอดอยเต่าจังหวัดเชียงใหม่ มาร่วมกันบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานขึ้นใหม่จนรุ่งเรืองถึงปัจจุบัน จนเป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นสถานที่ในการทำบุญของผู้คนที่มีจิตศรัทธา รวมถึงผู้คนต่างถิ่น ซึ่งกล่าวไว้ว่าถ้ามาเยือนเมืองลี้ ต้องแวะกราบสักการะครูบาขาวปี...อ่านเพิ่มเติม


หอศิลป์ที่อบอุ่น กับธรรมศิลป์ริมลี้ แวนนาริน : แหล่งเรียนรู้

 

หอศิลป์ที่อบอุ่น กับธรรมศิลป์ริมลี้ แวนนาริน




            ความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้ วัดบ้านแวน หมู่ที่ 1 ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นวัดเล็กๆในตำบลลี้ และเป็นสถานที่ ที่พึ่งทางจิตใจของชาวบ้านในด้านพระพุทธศาสนา แม้แต่เรื่องของการศึกษา จนเป็นที่มาของคำว่า บวชเรียน แต่ในปัจจุบัน "วัด" กลับมีบทบาทต่อชุมชนลดน้อยลงเหลือเพียงแค่เป็นสถานที่จัดพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น ...อ่านเพิ่มเติม


ฟ้อนเจิงจากศาสตร์การต่อสู่ สู่การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ : วัฒนธรรม

 

ฟ้อนเจิง
จากศาสตร์การต่อสู่ สู่การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ




                    ฟ้อนเจิง เป็นการร่ายรำด้วยเชิงดาบและมือเปล่า ซึ่งมักจะแสดงออกในลีลาของนักรบ ซึ่งผู้ฟ้อนจะต้องมีความสามารถเป็นพิเศษ และก่อนที่จะมีการฟ้อนเจิง ก็ต้องมีการฟ้อนตบมะผาบเสียก่อน การฟ้อนตบมะผาบ เป็นการฟ้อนด้วยมือเปล่าที่ใช้ลีลาท่าทางยั่วเย้าให้คู่ปรปักษ์บันดาลโทสะ ในสมัยก่อนการรบกันใช้อาวุธสั้น เช่น ดาบ หอก แหลน เข้าโหมรันกัน โดยเหล่าทหารหาญจะรำดาบเข้าประชันกันเป็นคู่ๆ หรือเป็นพวกๆ ใครมีชั้นเชิงดีก็ชนะ ด้วยการรำตบมะผาบในท่าทางต่างๆ โดยถือหลักว่าคนที่มีโทสะจะขาดความยั้งคิด และเมื่อนั้นย่อมจะเสียเปรียบคนที่ใจเย็นกว่า เมื่อมีการรำตบมะผาบแล้ว ก็จะมีการฟ้อนเจิงประกอบอีกด้วย เมื่อเห็นว่ามีความกล้าหาญพอแล้วก็เข้าปะทะกันได้ และการฟ้อนเจิงนั้น อาจจะใช้มือเปล่าได้ในท่าทางต่างๆ ที่ต้องใช้ความรวดเร็วว่องไว การเกร็งกล้ามเนื้อทุกส่วนเป็นการปลุกตัวเองไปก่อนที่จะเริ่มต่อสู้จริงๆ (หอสมุดแห่งชาติ, 2532) ...อ่านเพิ่มเติม

สังกะวาดรมควัน เสน่ห์ก้อท่า หอมจากเตา : อาชีพ

 


อาชีพประจำท้องถิ่นอำเภอลี้

“สังกะวาดรมควัน  เสน่ห์ก้อท่า หอมจากเตา”

              “กินข้าวกินปลามาหรือยัง” เป็นคำทักทายถามไถ่แบบไทยๆ ที่แฝงความเป็นห่วงเป็นใย หรือเพียงประโยคทักทายติดปากผู้ใหญ่ในความหมายว่าสวัสดีก็ตาม ที่แน่ๆ เราแทบจะไม่เคยได้ยินคำทักทายว่า กินข้าวกินหมูมาหรือยัง กินข้าวกินไก่มาหรือยัง ด้วยข้าวกับปลาเป็นอาหารหลักเก่าแก่ของคนไทย ซึ่งในพื้นที่ของตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน นั้น มีสภาพเป็นที่ราบเชิงเขา มีลักษณะคล้ายกับกระทะ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง พื้นที่ล้อมรอบด้วยภูเขา และป่าไม้ พื้นที่ตำบลก้อมี น้ำตกก้อหลวงที่มาจากเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ที่ติดกับเขตพื้นที่ของจังหวัดลำปาง ไหลมารวมกับแม่น้ำปิงที่แก่งก้อ เป็นแหล่งชุมชนของปลา นาๆ ชนิด อาทิเช่น ปลาสังกะวาด ปลาตะเพียน ปลานิล เป็นต้น ทำให้ชุมชนเกิดอาชีพทำการประมงเป็นอาชีพหลัก มีการลงหลักปักฐานอยู่ในลำน้ำแม่ปิง บนเเก่งก้อ ชาวบ้านยังใช้ภูมิปัญญา ในการถนอมอาหารจากปลา ที่หาได้จึงเกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่เกิดจากการนำปลาในพื้นที่มาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มเช่นการทำปลาย่าง การทำปลาส้มการทำปลาแห้ง และอื่นๆอีกมากมาย ...อ่านเพิ่มเติม
“สังกะวาดรมควัน เสน่“สังกะวาดรมควัน เสน่ห์ก้อท่า หอมจากเตา”ห์ก้อท่า หอมจากเตา”