การบริหารจัดการ account

ประวัติ TKP

เตียนปูจาบ้านหนองสะลีก : ศิลปวัฒนธรรม




ประวัติความเป็นมา
            เทียนบูชา หรือ เตียนปูจา ถือเป็นประเพณี และคติความเชื่อของคนล้านนา ที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเชื่อกันว่า การบูชาเทียนเช่นนี้ จะทำให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นกับชีวิตของตนเอง
            เทียนบูชา เป็นที่นิยมใช้กัน เนื่องจากชาวล้านนามีความเชื่อว่า เมื่อชาวล้านนาประสบกับเรื่องอะไรมักจะจุดเทียนนั้น เช่นถ้าหากรู้สึกว่าระยะนี้ตนเองเกิดเรื่องราวไม่ดีต่างๆ นานา ก็จะไปบูชาเทียน ลดเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์ จากพระสงฆ์หรือผู้ที่เคยบวชพระ แล้วนำมาบูชาเคราะห์ร้าย สิ่งไม่ดี เป็นต้นว่า เสนียดจัญไร ทุกข์โศก โรคภัย ก็จะหายไป ...อ่านเพิ่มเติม



เส้นขนมจีนข้าวหมักบ้านหนองดู่ : อาชีพ

เส้นขนมจีนข้าวหมักบ้านหนองดู่



            ความเป็นมาของภูมิปัญญาชื่อเรียกขนมจีน ภาคเหนือ เรียกว่า ขนมเส้น, ภาคอีสาน เรียกว่า ข้าวปุ้น, ภาคกลางและภาคใต้ เรียกว่า ขนมจีน ขนมจีนเป็นอาหารของคนมอญหรือรามัญ คนมอญเรียกขนมจีนว่า “คนอมจิน” คนอม หมายความว่าจับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน จินแปลว่าทำให้สุก จากการสอบถามคนมอญในหมู่บ้านหนองดู่ ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ว่าขนมจีนเข้ามาในบ้านเราได้อย่างไรนั้น ท่านเล่าว่ามาจากชาวมอญที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยและได้นำวิถีการดำรงชีวิตความเป็นอยู่เข้ามาใช้ในประเทศไทยด้วย แล้วก็ได้มีการเรียนรู้และซึมซับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ซึ่งกันและกันระหว่างคนไทยกับคนมอญ ซึ่งรวมถึงในเรื่องของอาหารการกินรวมอยู่ด้วย ขนมจีนก็เป็นอาหารอีกอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน ที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากชาวมอญ รวมถึงการทำเส้นขนมจีนข้าวหมักและทำสืบต่อๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น   ...อ่านเพิ่มเติม

ถั่วเน่าแข็บบ้านป่าตาล : อาชีพ

ถั่วเน่าแข็บบ้านป่าตาล



            ถั่วเน่าเป็นอาหารพื้นเมืองที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาหลายรุ่น เป็นอาหารพื้นบ้านอยู่คู่กับคนล้านนามาเป็นเวลานาน เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เชื่อกันว่าถั่วเน่ามีต้นกำเนิดมาจากไทใหญ่ ในอดีตถั่วเน่าเคยเป็นของบรรณาการอันทรงคุณค่าที่พญาละคอน (เจ้าเมืองลำปาง ละคอน หมายถึง ลำปาง) เคยเอาถั่วเน่าถวายเป็นบรรณาการแก่พญาแม่กุ แห่งเมืองนพบุรีเชียงใหม่ ทำให้เมืองละคอน ไม่ถูกทัพเชียงใหม่และทัพเงี้ยวเมืองนายเมืองเชียงทองตียึดเมือง เพราะพึงพอใจในรสชาติถั่วเน่า  ...อ่านเพิ่มเติม



แหล่งทอผ้าบ้านหนองเงือก

 

ผ้าฝ้ายทอมือคุณภาพจากแหล่งผลิตโดยตรงที่ไม่เพียงเป็นแหล่งทอผ้าฝ้ายที่สำคัญของลำพูนเท่านั้น หากยังเป็นแหล่งผลิตชิ้นงานส่งจำหน่ายในเมืองท่องเที่ยวในภาคเหนืออย่างเชียงใหม่อีกด้วย ที่นี่เต็มไปด้วยผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ   ...อ่านเพิ่มเติม


วัดหนองเงือก : แหล่งท่องเที่ยว


วัดหนองเงือก






วัดหนองเงือก

ประวัติความเป็นมา : วัดหนองเงือก เป็นวัดสำคัญเก่าแก่วัดหนึ่ง มีประวัติความเป็นมายาวนาน ที่วัดแห่งนี้ยังมีโบราณสถาน โบราณวัตถุอันทรงคุณค่ามหาศาล นอกจากนั้นวัดหนองเงือก ยังเป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าของนักโบราณคดีทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะจากนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ลักษณะสำคัญของวัดหนองเงือกเป็นวัด ที่สร้างขึ้นตามแบบศิลปกรรมพื้นบ้านเมืองเหนือสมัยเก่า ที่ซุ้มประตูหน้าวัดสร้างขึ้นตามแบบศิลปะล้านนาเป็นซุ้มประตูโขงประดับด้วย ลวดลายวิจิตรพิศดาร แสดงให้เห็นถึงฝีมือทางสถาปัตยกรรมของช่างสมัยโบราณ พระวิหารของวัดเป็นอาคารทรงไทยล้านนา      บานประตูมีลวดลายแกะสลักไม้ที่สวย งามไม่แพ้ที่อื่นๆ ภายในวิหารจะมีเสาไม้สักทั้งต้นขนาดหนึ่งคนโอบสูง 12 ศอก ด้านหลังของวิหารวัดเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระแก้วมรกตและพระบรมสารีริกธาตุ เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นในสมัยของครูบาญาณะ  เจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ...อ่านเพิ่มเติม











ชุดผ้าสำลีบ้านท่าต้นงิ้ว



กระบวนการผลิต
1. ออกแบบผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มีหลายขนาด หลากหลายแบบ
2. สร้างแบบ (แพทเทิร์น) ตามผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกแบบ
3. นำผ้าที่ต้องการตัดมาปูบนโต๊ะสำหรับตัดผ้า พับผ้ากลับไปกลับมาตามความต้องการ ดึงผ้าให้ตึง
4. นำแพทเทิร์นที่เตรียมไว้มาเป็นแบบในการตัดผ้า วาดแบบลงไปบนผ้า
5. ตัดผ้าตามแบบ โดยใช้เครื่องตัดผ้า
6. นำผ้าที่ผ่านการตัดเรียบร้อยแล้วนำมาเย็บตามแบบ
7. นำผ้าที่เย็บสำเร็จแล้วพับเป็นชุดๆ และแพ็คลงถุง เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป

ประเพณีแข่งเรือยาว

 
 

ประเพณีการแข่งเรือยาวในตำบลปากบ่องจะเริ่มแข่งขันกันหลังเทศการออกพรรษาของทุกๆปี และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการโดย นายอำเภอป่าซาง จุดแข่งเรือยาวตั้งอยู่ ณ ท่าน้ำแม่ปิง หมู่ที่ 5 ตำบลปากบ่อง โดยมีผู้เข้าแข่งขันอย่างล้นหลาม รวมถึงตำบลและจังหวัดใกล้งเคียงที่ส่งฝีพายของตำบล หมู่บ้านและจังหวัดเข้าร่วม   ...อ่านเพิ่มเติม

การสานใบมะพร้าวและไม้ไผ่ : ภูมิปัญญาชาวบ้าน

การสานใบมะพร้าวและไม้ไผ่


            ปลาตะเพียนสาน เป็นงานประดิษฐ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย เดิมมักใช้ใบลานมาทำเป็นเส้นแผ่นยาว บาง นำมาตากแดด 2-3 นาที และนำมาสานเป็นรูปปลาตะเพียน ปัจจุบันใบลานค่อนข้างหายาก จึงนิยมใช้ใบมะพร้าวมาแทนเพราะมีโครงสร้างที่เหนียว เหมือนกัน จากนั้นนำมาประกอบเป็นโมบาย สมัยก่อนคนไทยมีอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่ ในคูคลองก็จะมีปลาตะเพียนเป็นจำนวนมาก ปลาตะเพียนสานจึงเป็นสัญลักษณ์แห่ง ความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากช่วงที่ปลาโตเต็มที่นั้น เป็นช่วงเดียวกับ ช่วงเวลาที่ข้าวตกรวง นอกจากนี้ผู้ใหญ่มักจะแขวนปลาตะเพียนสาน ไว้เหนือเปลเด็ก เพื่อเป็นการอวยพรให้เด็กสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย
            นาย ชัยพร วรรณเรือน ประชากรบ้านปากบ่อง หมู่ที่ 5 ตำบลปากบ่อง เป็นปราชญ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ประเภท ศิลปะด้านการสาน เช่น สานปลาตะเพียนด้วยใบมะพร้าว และมีความสามารถในการใช้ไม้ไผ่มาสานเป็นผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ เช่นสุ่มไก่ ไซดักปลา เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน เยาวชนและผู้สนใจในชุมชนได้
 ...อ่านเพิ่มเติม


วัดอินทขิล/ประเพณีใส่ขันดอก : ศิลปวัฒนธรรม

วัดอินทขิล/ประเพณีใส่ขันดอก


ประวัติวัดอินทขีล สร้างเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๓๗ โดยปฐมมูลศรัทธา พระเป็นเจ้าธัมมลังก๋ามหาอุปราชหอหน้า (บุญมา) ผู้ที่มีจิตศรัทธาอันแรงกล้า เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้สร้างวัดอินทขิลถวายไว้ในบวรพุทธศาสนา เป็นปูชนียสถาน เป็นที่ทำบุญทำทาน รักษาศีล เป็นที่กราบไหว้เคารพสักการะบูชา แก่สมณะพราหมณ์ เทวดา และสาธุชนทั้งหลายทั่วไป วัดอินทขีล ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕๘ บ้านป่าซาง ถนนสายลำพูน-ลี้ หมู่ที่ ๑ ตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๒๓ ตารางวา มีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุ มีพระเจดีย์ ทรงคล้ายสุวรรณจังโกฏิเจดีย์ หรือปทุมวดีเจดีย์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ และเสาอินทขีล เป็นหลักเมืองเก่าแก่ของเวียงป่าซาง เสาหลักเมืองกลางใจเมืองป่าซาง ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดอินทขิล เมื่อสร้างวัดเรียบร้อยแล้ว ให้นามชื่อวัดว่า วัดอินทขิล ตามเสาหลักเมืองเวียงป่าซาง วัดอินทขิลแปลได้ความว่า เขื่อนเมือง , หลักเมือง หรือ เสาที่พระอินทร์ประทานให้ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ วัดอินทขิลตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

เสาอินทขิล ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารเปลือยไม้สักทรงล้านนาประดับด้วยไม้แกะสลักปิดทองคำเปลว และได้สร้างอนุสาวรีย์เป็นปูชนียบุคคลไว้สองพระรูปคือ

1 พระรูปของสมเด็จพระนราธบดีพระเจ้ากาวีละ พระองค์ได้สร้างเวียงเวฬุคามป่าซาง

2 พระรูปของพระเป็นเจ้าธัมมลังก๋ามหาอุปราชหอหน้า (บุญมา) พระองค์ได้สร้างวัดอินทขิล

ประเพณีที่สำคัญ คือประเพณีใส่ขันดอกไม้บูชาเสาอินทขิล เสาหลักเมืองป่าซางเป็นประเพณีท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา ตามตำนานกล่าวว่า เสาอินทขิลเดิมเป็นไม้ราชพฤกษ์และได้เปลี่ยนเป็นเสาปูนปั้นในสมัยพระเจ้ากาวิละ ราวปี พ.ศ.๒๓๒๕ ประดิษฐานไว้ ณ วัดอินทขิลกลางเวียงเวฬุคามป่าซาง โดยเชื่อว่า เสาอินทขิลเป็นที่รวมดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่สร้างเมืองเวฬุคามป่าซาง ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพชนและนำมาซึ่งความมั่นคง มั่งคั่ง ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์และความเป็นสิริมงคลแก่ชาวเมืองป่าซาง จึงจัดให้มีพิธีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิลขึ้นต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน โดยกำหนดจัดขึ้นในวันขึ้นค่ำ เ...อ่านเพิ่มเติม


ผ้าบาติก : อาชีพ



ประวัติความเป็นมา

ร้านอารีบาติกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยคุณนิรันดร์ เตอะสกุล หรือคุณกล้วย ซึ่งเป็นคนที่มีใจรักในงานด้านศิลปะทุกแขนง เช่นการฟ้อนรำการแต่งกายพื้นเมือง การประดิดประดอยโดย เฉพาะในเรื่องของการแต่งกายด้วยผ้าไทย และมีการศึกษารูปแบบของชุดพื้นเมืองของชาวยองในสมัยโบราณอย่างลึกซึ่ง จนเป็นที่แพร่หลายในจังหวัดลำพูน และได้รับฉายา “พญายอง” คุณนิรันดร์ เริ่มทำผ้าบาติกเป็นครั้งแรกและมีการถ่ายทอดความรู้สู่เครือญาติจนเกิดเป็นธุรกิจของครอบครัวสร้าง ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จนกระทั่งคุณนิรันดร์ได้เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2540 คุณอารี เตอะสกุล ผู้เป็นน้องสาวจึงได้สานต่อเจตนารมณ์ และมีการพัฒนาลวดลายต่าง ๆ มากขึ้น รวมถึงการปรับปรุงกระบวน การผลิตให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมายจนสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และทำการผลิตเรื่อยมาจนปัจจุบัน

การทำผ้าบาติก เป็นงานศิลปะหัตกรรมบนผืนผ้าที่ทำโดยอาศัยเทคนิกคือ การเขียน/พิมพ์เทียนลงบนผืนผ้าสีขาวลงสีให้เส้นเทียนกั้นไว้ไม่ให้สีเข้าหากัน โดยการวาดเขียนหรือพิมพ์ตามแบบพิมพ์ลวดลายที่สวยงามตามต้องการ ผ้าบาติกสามารถนำไปใช้ทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม ของใช้ต่าง ๆ ได้มากมายหลายชนิด เช่น ใช้ทำเสื้อผ้านุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ กระเป๋า ฯลฯ  ...อ่านเพิ่มเติม

วัดป่าซางงาม : แหล่งท่องเที่ยว



ประวัติวัดป่าซางงาม สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ตามประวัติวัดแจ้งว่าสร้างประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๐ เดิมเป็นวัดร้างมาก่อน ต่อมาครูบานันทา ธุดงค์มาจากเมืองยองหรือสิบสองปันนา เป็นผู้ทำการบูรณะก่อสร้างขึ้น การบริการและการปกครอง นอกจากนี้ได้จัดตั้งห้องสมุดขึ้นในวัดป่าซาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓  ...อ่านเพิ่มเติม

พระธาตุสองพี่น้อง


พระธาตุสองพี่น้อง
เป็นพระธาตุสององค์ ตั้งอยู่ ในเขตบริเวณของวัดเชตวันหนองหมู บ้านเชตวัน หมู่ที่ 7 ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน สาเหตุที่ได้สร้าง พระธาตุสององค์ เนื่องจากวัดเชตวันหนองหมูมีศรัทธาผู้อุปถัมภ์ด้วยกันอยู่ 2 หมู่บ้านคือ หมู่บ้านเชตวันหนองหมู หมู่ที่ 7 และ บ้านไร่ หมู่ที่ 8 เหตุนี้เองจึงได้มีการสร้างองค์พระธาตุสององค์อยู่คู่กันเพื่อให้คนในหมู่บ้านทั้งสองหมู่บ้านสามัคคี ปรองดองกัน และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข    ...อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์อุโมงค์ลดโลกร้อน สถานที่ให้ความรู้



ศูนย์ลดโลกร้อนประกอบด้วยสองอาคาร อาคารแปดเหล่ยม หรือเฮือนแปดเหลี่ยนมและอาคารปูนอีกหลังติดกัน โดย วิโรจน์ นิไทรโยค ผู้อำนวยการกองศึกษา เล่าความเป็นมาของศูนย์นี้ว่า ในปี 2548 เทศบาลตำบลอุโมงค์ได้ร่วมกับโรงเรียนอุโมงค์วิทยาคมจัดทำ “โครงการลดเมืองร้อนด้วยมือเรา” เพื่อส่งให้สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยพิจารณาและได้รับการคัดเลือก  ...อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์วัฒนธรรมเทศบาลตำบลอุโมงค์


 เทศบาลตำบลอุโมงค์ ได้จำลองอาคาร “ห้างเจ้า” มาก่อสร้างเป็นศูนย์วัฒนธรรมเทศบาลตำบลอุโมงค์ บริเวณปิงห่างหน้าวัดกอม่วง เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมเครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำมาหากินของชาวบ้านสมัยก่อน รวมทั้งได้พัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะ  สถานที่ท่องเที่ยว  สำหรับพักผ่อนหย่อนใจแก่ชุมชน อาคารพิพิธภัณฑ์ได้จำลองอาคาร "ห้างเจ้า" อาคารทรงแปดเหลี่ยมที่สร้างขึ้นโดยเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ ผู้ครองหริภุญไชยองค์สุดท้าย มาเป็นต้นแบบในการก่อสร้าง ...อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลอุโมงค์



ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลอุโมงค์ เกิดขึ้นจากนโยบายที่ปรารถนาจะพัฒนาพื้นที่ให้มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืน (อุโมงค์เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน) ซึ่งความยั่งยืน จะเน้นการพัฒนาที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาโดยอาศัยและพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกื้อกูลต่อกันและทำให้เกิดความสมดุล   ...อ่านเพิ่มเติม

การทำข้าวแต๋นลำไย



ความเป็นมา การทำข้าวแต๋นลำไย

การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของ
ประเทศให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ ๒๕๕๕ ภายใต้กรอบเวลา ๒ ปี ที่จะพัฒนา ๕ ศักยภาพของพื้นที่ใน ๕ กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ใน ๕ ภูมิภาคหลักของโลก “รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก” ตลอดจนกำหนดภารกิจที่จะยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่ม ศักยภาพและขีดความสามารถให้ประชาชน ...อ่านเพิ่มเติม

ดอยขะม้อ


ประเพณีขึ้นดอยขะม้อ
ก่อนจะมีงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นประจำทุกปีของจังหวัดลำพูน3 วัน หรือในวันขึ้น 15 ค่ำของทุกปี จะมีประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของจังหวัดลำพูน คือประเพณีขึ้นดอยขะม้อ ซึ่งเชื่อกันว่าการขึ้นไปนมัสการบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์และได้นำน้ำศักดิ์สิทธิ์มาดื่มกินจะทำให้เกิดสิริมงคลในชีวิตและรักษาโรคต่างๆให้บรรเทาลงได้ ทุกปีจึงมีประชาชนทั้งในจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมประเพณีดังกล่าวเป็นจำนวนมาก   ...อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรม : การเลี้ยงผีขุนน้ำ



การเลี้ยงผีขุนน้ำ

                ตำบลมะเขือแจ้ สืบสานประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ ณ บริเวณหอชัยห้วยขุนน้ำต้นน้ำแม่ตีบ หมู่ที่ 10 บ้านหนองหอย ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยมีกิจกรรมประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ การบวชป่า และการสร้างฝายชะลอน้ำ สำหรับประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ เป็นประเพณีตามความเชื่อในวัฒนธรรมล้านนา  ...อ่านเพิ่มเติม 

ยาสมุนไพร ป.ล.ย.






 ในยุคปัจจุบันคือยุคของคุณบุญทวี กันทาแจ่ม ซึ่งเป็นลูกของคุณพ่อเอกสีลา กันทาแจ่มในยุคนี้การดำเนินกิจการได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหลายอย่าง และนับได้ว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญยิ่งเพื่อให้ปรับเข้าตามยุคตามสมัย ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ตามที่กฎหมายกำหนด และเพื่อสร้างศรัทธา ความน่าเชื่อถือและเกิดการยอมให้เหมือนกับรุ่นเก่าๆ ที่ผ่ามา  ...อ่านเพิ่มเติม

ผลิตภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์จากไม้


ผลิตภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์จากไม้
ประวัติความเป็นมา บ้านมะเขือแจ้ หมู่ที่ 1 ตำบลมะเขือแจ้ เป็นหมู่บ้านชาวยองที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้ๆดอยขะม้อ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีน้ำทิพย์อันศักดิ์สิทธิ์อยู่บนดอย น้ำทิพย์นี้จะไม่มีวันเหือดแห้งถึงแม้ว่าจะเป็นฤดูไหนก็ตาม ...อ่านเพิ่มเติม

กลุ่มตีมีดสันนาฮี้




กลุ่มตีเหล็ก ตำบลหนองหนาม โดย นายเมฆ ยะบึง
ที่อยู่ หมู่ 4 ตำบลหนองหนาม อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการตีมีดและการตีเหล็กเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานด้านการตีมีดและการตีเหล็ก

สวนพุทธธรรม ตำบลหนองหนาม



สวนพุทธธรรม ตำบลหนองหนาม อำเภอเมือง จังวัดลำพูนแหล่งเรียนรู้..116 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองหนาม อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จากจุดเริ่มต้นของโครงการวิจัยฯและการจัดเวทีแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องของสถาบันวิจัยหริภุญชัย ...อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลหนองหนาม



ประวัติความเป็นมา ที่ทำการ อบต.หนองหนามหลังเก่า ตั้งอยู่บ้านกอลุง หมู่ 3 ตำบลหนองหนาม อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีลักษณะพื้นที่เป็นป่ารกทึบ มีอาคารร้าง และบ่อน้ำเก่า เป็นสถานที่ไม่ได้ทำประโยชน์ให้แกชุมชน ...อ่านเพิ่มเติม