การบริหารจัดการ account

ประวัติ TKP

ประเพณีสืบชะตาน้ำลี้และแห่ช้างเผือก

 



ประเพณีสืบชะตาน้ำลี้และแห่ช้างเผือก

            ความเป็นมา "ประเพณีแห่ช้างเผือก” จัดที่ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ถ้าหากปีใดเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ บ้านเมืองเกิดแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล แม่น้ำแห้งขอด ชาวบ้านจะจัดพิธีขอฟ้าของฝนขึ้นมา โดยเฉพาะจะทำกันในช่วงเดือนกรกฎาคม (เดือน๙ ของชาวล้านนา) ก่อนเข้าพรรษา เพราะเป็นฤดูกาลที่ชาวนาต้องหว่านกล้าข้าว มีฝนตกต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองชุ่มฉ่ำ อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จะชนะศีกศัตรูหมู่มารทุกหมู่เหล่า ช้างเผือกเมื่อเกิดมีในบ้านเมืองใด ชาวบ้านหรือเจ้าของช้าง ส่วนมากมักจะต้องนำช้างไปถวายเจ้าเมืองผู้ครองนครบ้านเมืองนั้น ชาวบ้านหรือเจ้าของช้าง จะไม่เลี้ยงเอาไว้เหมือนช้างเชือกอื่นๆ ลักษณะของช้างเผือก ช้างเผือกมีลักษณะ ๗ ประการ ดังนี้ ๑)ตาขาว มีดวงตาสีขาวเรื่อๆ เหมือนตาน้ำข้าว ๒)เพดานขาว มีเพดานปากขาวดุจเนื้อในของเผือกมัน ๓)เล็บขาว มีเล็บขาวเหมือนงานของมันเองทั้งหมด หนังหุ้มเล็บสม่ำเสมอ ๔)พื้นหนังขาว สีคล้ายหม้อดินใหม่ทั่วสรรพางค์กาย ๕)ขนหางขาว มีขนที่หางเป็นพวงพุ่ม ลดหลั่นกันจนถึงน่อง ๖)ขนขาวมีขนทั่วสรรพางค์กายเป็นสีขาวนวล และ๗)อัณฑะขาว มีสีคล้ายหม้อดินใหม่ ...อ่านเพิ่มเติม

No comments:

Post a Comment