การบริหารจัดการ account

ประวัติ TKP

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุอารามหนองผำ : ศิลปวัฒนธรรม

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุอารามหนองผำ




 องค์พระธาตุ คือสัญลักษณ์ตัวแทนของพระพุทธเจ้า สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้คนแสดงความเคารพต่อพระพุทธศาสนา คนล้านนา จึงคิดกิจกรรมที่รวมคนในการร่วมกันรักษา สิ่งที่เราเคารพบูชาตามฤดูกาลต่างๆ  เดือนแปดเป็ง คืองานสรงน้ำหลังผ่านฤดูร้อน ฤดูหนาว ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน ก็จะทำความสะอาดพระธาตุ เพราะจะได้สวยงาม ให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ทุกวิธีคิด คือการรวมคนที่เคารพองค์พระธาตุ คือตัวแทนสัญลักษณ์ ของพระพุทธศาสนา จึงเป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนพึงกระทำเช่นนี้ จึงมีกิจกรรมเช่นนี้มาร่วมหลายศัตวรรษ ...อ่านเพิ่มเติม








พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดห้วยห้าง : แหล่งเรียนรู้


พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดห้วยห้าง





พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยห้าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน โดยมีพระครูสิริสุตาภิมล เป็นผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์ดังกล่าว เป็นสถานที่เก็บรวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุอันมีค่า เช่น พระพุทธรูป หีบพระธรรม ใบลาน ธรรมมาส และเครื่องมือเครื่องใช้ สำหรับในวิถีชีวิตของชุมชนสมัยโบราณ และยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของเด็ก เยาวชน และประชาชน ...อ่านเพิ่มเติม























เกษตรพึ่งพาตนเอง : แหล่งเรียนรู้

เกษตรพึ่งพาตนเอง





แหล่งเรียนรู้ชุมชน นายเอกยุทธ  หล้าแก้ว

ประวัติ นายเอกยุทธ  หล้าแก้ว เป็นบุตรของนายผัดและนางหล้า หล้าแก้ว มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน นายเอกยุทธเป็นคนที่ 4 นายเอกยุทธ  หล้าแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2518 ปัจจุบันอายุ 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 117 หมู่ 10 ต.ตะเคียนปม อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน จบการศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจาก กศน.อำเภอทุ่งหัวช้าง นายเอกยุทธ หล้าแก้ว เป็นผู้มีความรู้ในเรื่องดินจนได้รับการยกย่องจากสำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งหัวช้างให้เป็นหมอดินเมื่อปี 2546 นายเอกยุทธ หล้าแก้วได้ใช้ที่ดินในบริเวณบ้านของตนเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย การปลูกพืชผสมผสานการดำเนินชีวิตโดยการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ การทำเกษตรผสมผสานเพื่อลดการใช้สารเคมีในพื้นที่ทำกิน การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อการดำรงชีวิตเอาตัวรอดในยุคโลกาภิวัฒน์ นอกจากนี้บ้านของนายเอกยุทธ  หล้าแก้ว ยังเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของคนในชุมชนและนอกชุมชนอย่างต่อเนื่อง ปี2556 นายเอกยุทธ  หล้าแก้ว ได้ร่วมกับครู ศศช.บ้านป่าก่อในขณะนั้นคือนายกิติศักดิ์  มะกอกทิพย์ ในการแก้ไขปัญหาการเผาเปลือกข้าวโพดจนเกิดเป็นมลพิษ โดยการทำปุ๋ยหมักจากเปลือกข้าวโพดจนได้รับรางวัลดีเด่นจากโครงการหลวง และต่อเนื่องด้วยการทำถ่านอัดแทงจากเปลือกข้าวโพดกับครูศศช.บ้านป่าก่อคนปัจจุบัน นำไปสู่การเสนอผลงานในงาน กพด. ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการลดการเผาการเกิด PM2.5 ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายเอกยุทธ  หล้าแก้ว ได้สมรสกับนางอรุณี  หล้าแก้ว มีบุตรด้วยกัน 3 คน ปัจจุบันนายเอกยุทธ  หล้า แก้วยังคงเดินตามรอยแนวทางของพ่อหลวง ร.๙ อย่างต่อเนื่อง เป็นที่ปรึกษาให้กับคนในชุมนอยู่เสมอ ...อ่านเพิ่มเติม

















จักสานไม้ใผ่ : ภูมิปัญญาท้องถิ่น

 จักสานไม้ใผ่




งานจักสานไม้ไผ่ เกิดขึ้นโดยการใช้ไม้ไผ่นำมาจัก ผ่า ฉีกให้เป็นเส้นบาง ๆ แล้วนำมาขัด สาน สอด ไขว้ ขึ้นโครงเป็นรูปทรงทำเป็นภาชนะ เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ จัดเป็นงานศิลปหัตถกรรมและหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความผูกพันและอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนาน แสดงได้ถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาบรรพบุรุษ มีการสืบทอดกันมาแต่โบราณ มีอยู่ในทุกภาคของประเทศ ด้วยเป็นทั้งหัตถกรรมที่เป็นของใช้ในในครัวเรือนและชีวิตประจำวันจนถึงเป็นอาชีพที่เป็นแหล่งรายได้อีกด้วยการสร้างสรรค์งานจักสานไม้ไผ่ต้องใช้ทั้งภูมิปัญญาความประณีต ความละเอียดอ่อน และทักษะฝีมือเชิงช่าง ตั้งแต่การรู้จักคุณสมบัติของไม้ไผ่แต่ละชนิดที่มีความเหมาะสมกับการนำมาใช้ประโยชน์ในการจักสาน การเตรียมเส้นเพื่อการสานที่เหมาะสมกับการสานผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด แต่ละรูปแบบและที่สำคัญคือการสานขึ้นรูปจนสำเร็จเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่นำไปประโยชน์ใช้สอยตามที่ต้องการ งานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ จึงยังคงเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ยังคงมีการสืบทอดต่อกันมา นับจากอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน  ...อ่านเพิ่มเติม






บ้านห้วยไร่ : แหล่งท่องเที่ยว

 บ้านห้วยไร่




ประวัติหมู่บ้าน

       บ้านห้วยไร่ (บ้านเก๊า)  หมู่บ้านเดิมอดีตตั้งอยู่ฝั่งน้ำห้วยไร่  เหนือบ้านวังปาน และบ้านแม่ลี้  ในอดีตได้เกิดโรคไข้ทรพิษ  ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านล้มตายจำนวนมาก  เนื่องจากเกิดโรคตามความเชื่อของชาวบ้านว่าถูกผีทำร้าย  ถ้าตั้งหมู่บ้านต่อไปจะอยู่ไม่เป็นสุขจึงทำให้ชาวบ้านห้วยไร่ได้แยกย้ายหาที่อยู่อาศัยใหม่  โดยแยกหมู่บ้านออกมาตั้งเป็นบ้านห้วยไร่  บ้านวังปาน บ้านแม่ลี้  บ้านแม่แสม  ในระยะแรกมีประชากร  20  หลังคาเรือน  60  กว่าคน

       การย้ายเข้ามาตั้งหมู่บ้านห้วยไร่ในอดีตนั้นตั้งอยู่บริเวณลำห้วยไร่  ซึ่งไหลผ่านหมู่บ้านจึงได้ตั้งชื่อตามลำห้วยเมื่อย้ายเข้ามาจัดตั้งหมู่บ้านที่ตั้งปัจจุบัน การตั้งหมู่บ้านใกล้ลำห้วยมะดา ซึ่งไหลผ่านเหนือหมู่บ้าน ชาวบ้จึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่ามะดะเมื่อประชากรเข้ามาอาศัยจำนวนมากขึ้นการตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นอยู่กับการปกครองของอำเภอลี้ ซึ่งตั้งชื่อเป็นบ้านห้วยไร่อย่างเป็นทางการ

      

ประวัติชาติพันธุ์

       ชาวบ้านห้วยไร่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง  โดยผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านห้วยไร่ สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษเผ่ากะเหรี่ยงมาจากชายแดนไทย – พม่า  บริเวณอำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่  โดยเข้ามาแสวงหาที่ทำกินและที่อยู่อาศัย  ภาษาที่ใช้สื่อสารกันภายในหมู่บ้านเป็นภาษาท้องถิ่นในหมู่บ้าน  คือ  ภาษากะเหรี่ยง  พอสันนิษฐานได้ว่าต้นกำเนิดของหมู่บ้าน  โดยมีนามสกุลในหมู่บ้านเป็นแกนนำคือ    วิหล้ากว้าง , ปัญโญ , คำนวล ,  สุกันและปู่เงิน  ...อ่านเพิ่มเติม








ประเพณีแห่ช้างเผือกตามวิถีของบ้านห้วยไร่ : วัฒนธรรม

 ประเพณีแห่ช้างเผือกตามวิถีของบ้านห้วยไร่ 



ประวัติความเป็นของศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชุมชน

แม่น้ำลี้ เป็นแม่น้ำสาขาหนึ่งของน้ำแม่ปิง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตผู้คนริมสอง       ฟากฝั่ง ไหลหล่อเลี้ยงชุมชนน้อยใหญ่กว่า 4 อำเภอ อันได้แก่ อำเภอลี้ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอบ้านโฮ่งและอำเภอเวียงหนองล่อง ก่อนจะไหลไปรวมกับน้ำแม่ปิงที่บ้านวังสะแกง  บริเวณสบลี้ อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน

ความสำคัญของช้างเผือกที่ชาวบ้านนำมาเป็นสัญลักษณ์ในพิธีกรรมขอฝนนั้น กล่าวคือ            ช้างเผือกเป็นช้างมงคลหากเกิดขึ้นในบ้านเมืองใด จะทำให้บ้านเมืองนั้นอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร มีฝนตกต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองจะชุ่มฉ่ำอยู่เย็นเป็นสุข ขณะเดียวกันในชาดกเรื่องพระเวสสันดร มีช้างเผือกมงคลชื่อ พระยานาเคน ซึ่งเป็นช้างคู่บารมีพระเวสสันดร โดยเมื่อครั้ง นางกุษฏีได้ให้ประสูตพระเวสสันดร ขณะนั้นได้มีนางช้างเชือกหนึ่งได้พาลูกช้างเข้ามายังโรงช้าง  ลูกช้างเชือกนั้นเป็นลูกช้างเผือกที่มีลักษณะต่างจากช้างทั่วไป นับแต่วันที่ช้างเผือกได้เข้ามาอยู่ในเมืองของพระเจ้าสนชัย น้ำท่าก็อุดมสมบูรณ์ พืชพรรณธัญญาหารก็เจริญงอกงาม ประชาชนพลเมืองอยู่เย็นเป็นสุขครั้นวันหนึ่งมีเมืองอีกเมืองชื่อ กรินทราช ได้ส่งพราหมณ์ 8 รูปมาขอช้างเผือกมงคลนี้จากพระเวสสันดร เหตุเพราะเมืองกรินทราชเกิดภาวะแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชพรรณล้มตาย  ชาวเมืองเกิดความเดือดร้อน พระเวสสันดรซึ่งขณะนั้นได้บำเพ็ญทานบารมี ก็ได้ส่งพระยานาเคน ช้างเผือกมงคลให้แก่เมืองกรินทราช เมื่อได้ช้างเผือกไปฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ จากชาดกเรื่องพระเวสสันดร ซึ่งกลายมาเป็นต้นแบบแนวคิดประเพณีแห่ช้างเผือกของคนลุ่มน้ำลี้ ...อ่านเพิ่มเติม



หลังคาหญ้าคากับการนำมาประกอบอาชีพในท้องถิ่น : อาชีพ

 หลังคาหญ้าคากับการนำมาประกอบอาชีพในท้องถิ่น


ประวัติความเป็นมาของการทำหลังคาหญ้าคา

เนื่องจากในอดีตบ้านเรือนในชนบทส่วนใหญ่ขาดรายได้มีรายได้น้อยอีกทั้งอยู่ห่างไกลจากสังคมในเมื่องจำงนิยมใช้หญ้าคามาไพทำเป็นหลังคาบ้าน ชาวบ้านบ้านดอยวงค์  ต.ทุ่งหัวช้าง อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน จึงได้นำภูมิปัญญานี้มาสร้างเป็นที่อยู่อาศัยและสร้างรายได้ โดยการไพหญ้าคาเพื่อจำหน่าย ซึ่งได้รับความรู้และวิธีการไพหญ้าจากการถ่ายทอดจากพ่อแม่ บรรพบุรุษ ที่ได้ทำให้ดูและฝึกฝนจนสามารถไพหญ้าได้ถือว่าเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ในปัจจุบันมีชาวบ้าน  จำนวนมากแทบทั้งหมู่บ้านได้ไพหญ้าคาสร้างเป็นหลังคาบ้าน หลังคากระท่อมปลายนา อีกทั้งขายเป็นอาชีพเสริม หญ้าคาที่ไพส่วนใหญ่จะเกี่ยวมาจากป่าเขตพื้นที่ของหมู่บ้าน ถึงแม้ในปัจจุบันการมุงหลังคาบ้านเรือนไม่นิยมมุงหลังคาด้วยหญ้าคาแล้วแต่ผู้คนก็ยังนิยมนำไพหญ้าคาไปมุงหลังคากระท่อมทำร้านอาหารแพปลาและทำโรงเรือนต่าง ๆ เนื่องจากหลังคาที่มุงด้วยหญ้าคานั้นจะเย็นสบายประหยัดกว่ากระเบื้องและสังกะสีนี่จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ไพหญ้าคายังคงอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ...อ่านเพิ่มเติม









การทำข้าวเหนียวมูล (สังขยา) : อาชีพ

 การทำข้าวเหนียวมูล (สังขยา)



วิธีทำข้าวเหนียวมูน











ประเพณีเปลี่ยนผ้าครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี : ศิลปวัฒนธรรม


ประเพณีเปลี่ยนผ้าครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี




ประวัติ “ตำนานห่มขาว ” ครูบาอภิชัยขาวปี 

คนเมืองเหนือออกเสียงเป็น “ขาวปี๋” คือศาสนทายาทผู้สืบสานตำนาน “ตนบุญแห่งล้านนา” ต่อจากครูบาเจ้าศรีวิชัย ในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นแนวร่วมในการต่อต้านอำนาจจากสยามที่พยายามครอบงำวงการสงฆ์ล้านนา เหตุที่ถูกเรียกว่า “ขาวปี” ก็เพราะท่านถูกจับสึกจากความเป็นพระสงฆ์ ทำให้ต้องมานุ่งห่มผ้าขาว

(การถูกจับสึกครั้งที่ 1) แม้จะเป็นพระป่าผู้สมถะครองตนอย่างดีมาโดยตลอด แต่เนื่องจากความใกล้ชิดในฐานะศิษย์เอกคอยอุปัฏฐากครูบาเจ้าศรีวิชัย จนได้รับยกย่องว่าเป็นเสมือน “มือขวา” ทำให้ครูบาอภิชัยขาวปีย่อมได้รับผลกระทบจากคณะสงฆ์ล้านนาและฝ่ายราชการที่ไม่พอใจครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ตามไปด้วยโดยปริยาย

 ปี พ.ศ.2467เมื่อครูบาอภิชัยขาวปีบวชได้ 13 พรรษา ท่านถูกกลั่นแกล้ง และถูกจับดำเนินคดีอย่างไร้เหตุผล ในข้อหาหลบเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร ทั้งๆ ที่กาลเวลาล่วงผ่านอายุในวัยเกณฑ์ไปนานกว่า 15 ปีแล้ว คือขณะนั้นท่านอายุ 35 ปี แต่ทางการยังไปขุดคุ้ยเอกสารย้อนหลัง อ้างเหตุผลร้อยแปดพันเก้า หาเรื่องบังคับให้ท่านสึกและครองผ้าขาวเป็นครั้งแรก ...อ่านเพิ่มเติม






บั้งไฟบ้านหนองผำ : ศิลปวัฒนธรรม


บั้งไฟบ้านหนองผำ





ประวัติ ความเป็นมาองค์ความรู้จากภูมิปัญญา

นายจันทร์ จันทร์ดี เกิดในชุมชนของชนเผ่ากะเหรี่ยง ที่มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ภาษา หรือการจุดบั้งไฟในงานบุญของชุมชน จึงได้เรียนรู้วิธีการทำบั้งไฟจากญาติผู้ใหญ่ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่เขย พี่เขยเป็นคนอิสานจังหวัดกาฬสินธ์ และได้หัดทำบั้งไฟมาเรื่อยๆ ได้นำมาจุดในงานบุญประเพณีของหมู่บ้านเป็นประจำทุกปี และยังมีการสืบทอดภูมิปัญญาที่ตนได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์รุ่นก่อนให้แก่เด็กในชุมชน นายจันทร์ดี ซึ่งได้รับการยอมรับจากคนในชุมชนว่าเป็นผู้มีภูมิปัญญาด้านการทำบั้งไฟ ถึงแม้จะมีอายุไม่มากนัก แต่มีความต้องการที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นของชนเผ่าเอาไว้ คิดว่าบั้งไฟเป็นสิ่งที่ใช้สักการะเทวดาในการขอพรให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พืชพันธุ์ธัญญาหารให้แก่คนในพื้นที่ ซึ่งการจุดบั้งไฟเป็นประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมาหลายชั่วอายุคนจึงควรสืบทอดไว้ ...อ่านเพิ่มเติม

งานจักสาน : ภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

งานจักสาน






ปราชญ์ภูมิปัญญาบ้านป่าก่อ นายดอก  ปู่เงิน

ประวัตินายดอก  ปู่เงิน ปัจจุบันอายุ  80  ปี อยู่บ้านเลขที่ 1/1 หมู่ 10 ต.ตะเคียนปม อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน นายดอก  ปู่เงิน เดิมทีเป็นชาวบ้านหมู่บ้านห้วยไร่ ได้มาพบรักแต่งงานกับนางคำเอ้ย       ปู่เงิน (ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว) ชาวบ้านป่าก่อ มีบุตรธิดา 4 คน ประกอบด้วย 1.นายคำ  ปู่เงิน อายุ 58 ปี อาชีพเกษตรกร อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่10 ต.ตะเคียนปม อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน สมรสแล้วมีบุตรธิดา 2 คน 2.นางผัด  ตาอินทร์ อายุ 54 ปี อาชีพอาชีพรับจ้าง สมรสแล้ว(ปัจุบันสามีเสียชีวิต) มีบุตรธิดา 2 คน  3. นายเสาร์  ปู่เงิน อายุ 49 ปี อาชีพเกษตรกรและรับจ้างทั่วไปอยู่บ้านเลขที่99/1หมู่10 มีบุตรธิดา 3 คน  4.นางสมศรี  สมร่าง อายุ 46 ปี อาชีพรับราชการครู สถานภาพสมรสมีบุตรธิดา1 คน โดยปัจจุบันนายดอก  ปู่เงินได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากบุตรหลานที่อยู่ในชุมชนและนายดอกยังเป็นผู้มีจิตสาธารณะอยู่เสมอ มักจะกวาดถนนสาธารณะให้สะอาดอยู่เป็นประจำ และมีความถนัดในเรื่องของงานจักสาร การทำไม้กวาดดอกหญ้า ไม่กวาดทางมะพร้าวที่มีฝีมือมากคนหนึ่งในหมู่บ้าน ...อ่านเพิ่มเติม





ผ้าทอสามสี เสน่ห์ของผ้าทอบ้านก้อทุ่ง : อาชีพ

 ผ้าทอสามสี เสน่ห์ของผ้าทอบ้านก้อทุ่ง



           ตำบลก้อเป็นตำบลขนาดเล็กตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกสุดของอำเภอลี้ ติดกับเขตอุทยานแม่ปิง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร เช่น ทำไร่ข้าวโพด ทำนา ปลูกผัก ทำสวนลำไย เป็นต้น บริเวรพื้นที่การทำไร่ข้าวโพด การทำสวนลำไย สารารถปลูกฝ้ายเพื่อประหยัดพื้นที่และช่วยสร้างพื้นที่ดิน หลังจากการทำเกษตร ชาวบ้านกลุ่มผู้สูงอายุ จะว่างงาน ในยามที่ว่างจากการทำนาชาวบ้านจะรวมตัวกันหาอาชีพเสริมเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวด้วยเหตุนี้นางกัลยาณี เกตุแก้ว ซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านการทอผ้า จึงได้ชักชวนชาวบ้านที่มีความสนใจตรงกัน ตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้นมาและมีผู้เข้าร่วมเป็นประมาณ 20 คนทำให้มีกลุ่มทอผ้าของหมู่บ้านเกิดขึ้นจนถึงปัจจุบัน ผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติเป็นผลผลิตภายในชุมชน ที่เอื้อต่อธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชนในการดำรงชีวิตตามประเพณีที่สืบทอดกันมา แรงงานเกิดจากการรวมกลุ่มของคนในชุมชน ร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน สร้างความสามัคคี เอื้ออารีต่อกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง นอกจากเป็นงานที่สร้างรายได้ให้คนในกลุ่มแล้ว ยังสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนและบุคคลทั่วไปได้อีกด้วย ...อ่านเพิ่มเติม










ข้าวเกรียบ ผลิตภัณฑ์แห่งภูก้อ : อาชีพ




ข้าวเกรียบ ผลิตภัณฑ์แห่งภูก้อ


            ตำบลก้อ เป็นตำบลเล็กๆที่มีเพียง 4 หมู่บ้าน เป็นเขตพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง บ้านก้อท่า เป็นหมู่บ้านสุดท้ายของตำบลก้อ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพการทำเกษตร การทำไร่ข้าวโพด การทำสวนลำไย การปลูกผลไม้ เช่น มะม่วง กล้วย เป็นต้น

            กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุ ที่มีผลเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของไทย กล้วยเป็นผลไม้ที่ปลูกกันทุกครัวเรือน กล้วยมีประโยชน์มากมายทั้งด้าน

            ลำไย เป็นผลไม้ที่รู้จักกันในจังหวัดลำพูนเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดลำพูน และชาวบ้านก้อ ก็มีการปลูกลำไยกันมาก ทำให้เวลาผลผลิตออกนั้นเกิด ผลผลิตล้นตลาดราคาตกต่ำในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยว

            ชาวบ้านก้อท่า จึงรวมกลุ่มกันคิดพัฒนาอาชีพ โดยการนำผลไม้ในหมู่บ้าน โดยเฉพาะลำไยและกล้วย นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านของชุมชนเพื่อส่งขาย โดยมีการนำเอาลำไยและกล้วย มาทำเป็นข้าวเกรียบที่เป็นสูตร เฉพาะของบ้านก้อท่า ของกลุ่มวิสาหกิจการพัฒนาอาชีพตำบลก้อ หรือ ภูก้อ ...อ่านเพิ่มเติม



การทำโคมไฟล้านนา : อาชีพ

 การทำโคมไฟล้านนา




               ศาสนาและประเพณีวัฒนธรรม นับว่าเป็นแหล่งที่ยึดเหนี่ยวจิตของประชากรในพื้นที่นั้นถ้าหากกกล่าวถึง ประเพณีวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะพื้นที่ เชียงใหม่ ลำพูน จะมสีอยู่ประเพณีอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "ประเพณียี่เป็ง" ซึ่งประเพณีดังกล่าวผู้คนมักจะมีความเชื่ออย่า่งหนึ่งในการถวายโคมไฟให้แก่พระแม่ธรณีพื้นที่บ้านของตนเองโดยความเชื่อดังกล่าวจะปฏิบัติโดยแขวนโคมไว้ที่หน้าจุดเทียนด้านในเกิดแสงสว่างตามความเชื่อว่าเมื่อลายกระทงแล้วเท่ากับการส่งเคราะห์แล้วต้องมีการแขวนโคมเพื่อให้ชีวิตมีแสงสว่าง พอห้วงเวลาหลังคล้อยตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุควิถีก็มีความเชื่อว่าการแขวนโคมนั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแขวนในช่วงสิื้นปีหรืองานพิธีการทางศาสนา

            จากประเพณีวัฒนธรรมในพื้นที่ดังกล่าว ประชาชนบ้านเด่นเหม้าจึงได้รวมกลุ่มกันทำกลุ่มโคมไฟฟล้านนาขึ้นเพื่อประกอบอาชีพเสริม โดยจากการที่พื้นที่ดังกล่าวมีไม้ไผ่ที่เหมาะสมแก่การทำโครงของโคมจึงได้ทดลองทำและเรียนรู้ร่วมกับ กศน. ผลที่ได้คือกลุ่มสามารถผลิตโคมจำหน่ายส่งให้แก่วัดพระธาตุหริภุญชัย เพื่อใช้ประกอบในการแขวนโคมของผู้มีจิตศรัทธาในการบูชาพุทธศาสนา
 ...อ่านเพิ่มเติม










ประเพณีลอยกระทงยี่เป็ง ลอยประทีป 1,000 ดวง ล่องสำเปาคำ : ศิลปวัฒนธรรม


ประเพณีลอยกระทงยี่เป็ง ลอยประทีป 1,000 ดวง ล่องสำเปาคำ



ประเพณีลอยกระทง ยี่เป็ง 

ลอยประธีป 1,000 ดวง ล่องสะเปาคำ

"ล่องสะเปาคำ

สะเปาลอยน้ำ” วัดบ้านหนองบัวคำ


           ล่องสะเปา เป็นประเพณีดั้งเดิมของวัดบ้านหนองบัวคำ ซึ่งคล้ายกับประเพณีลอยกระทงของที่อื่นๆของชาวล้านนาซึ่งเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมอันเก่าแก่ ที่ของวัดบ้านหนองคำ ล่องสะเปาคำ เป็นประเพณีที่มาจากความเชื่อว่าเป็นการนำสิ่งของเดินทางไปด้วยเรือสำเภา เพื่อเตรียมไว้ใช้สำหรับภพหน้าเป็นการฝากกุศลไปหาดวงวิญญาณผู้ล่วงลับ และเป็นการให้ทานกับคนเป็น ที่อยู่ปลายน้ำ นอกจากนั้นยังถือเป็นการลอยทุกข์โศก บูชา และขอขมาแม่น้ำอีกด้วย ...อ่านเพิ่มเติม









ข้าวเกรียบ ภูมิปัญญาสร้าางอาชีพ : อาชีพ

ข้าวเกรียบ ภูมิปัญญาสร้าางอาชีพ





            ข้าวเกรียบ ในแต่ละพื้นที่ล้วนมีลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะ เกิดจากความสามารถของคนในชุมชนที่ปรับตัวและดัดแปลงธรรมชาติแวดล้อมรอบตัว จนเกิดการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ ความ สามารถในการเข้าถึงวัตถุดิบและทรัพยากรอาหาร ภูมิปัญญาการผลิต ฯลฯ ทั้งหมดเป็นกระบวนการเชื่อมโยงกัน บ่งบอกความความคิดสร้างสรรค์ การประยุกต์และปรับใช้ เป็นประสบการณ์ของชุมชนผ่านการขัดเกลาสั่งสม สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จนเป็นวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น สะท้อนบ่งบอกถึงการดำ เนินชีวิต บริบทสังคม ภูมิปัญญา ปรากฏให้เห็น เป็นเรื่องราวการกินอยู่ ความเชื่อเรื่องอาหาร พฤติกรรมการบริโภค ตลอดจนสุขภาพของคนในชุมชน ...อ่านเพิ่มเติม





จิตอาสาสืบสานวัฒนธรรมด้านงานใบตอง การทำ "สวยดอก" หรือ "กรวยดอกไม้" : ศิลปวัฒนธรรม

 

จิตอาสาสืบสานวัฒนธรรมด้านงานใบตอง การทำ "สวยดอก" หรือ "กรวยดอกไม้"



            กรวยดอกไม้หรือที่ชาวล้านนาเรียก “สวยดอก” เป็นหนึ่งในเครื่องสักการะบูชาของชาวล้านนาที่ในปัจจุบันน้อยคนนักจะรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญ และหากขาดการอนุรักษ์หรือเผยแพร่สวยดอกอาจหายไปจากวิถีแห่งวัฒนธรรมของคนล้านนา ถึงแม้ว่าสวยดอกจะเป็นเพียงส่วนประกอบเล็กน้อยของพิธีกรรมหรือส่วนหนึ่งของเครื่องสักการะบูชา แต่สิ่งนี้คือเอกลักษณ์ของล้านนาที่ถ่ายทอดและสั่งสมมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์หวงแหนและเผยแพร่ให้เป็นที่แพร่หลาย ในการทำสวยดอก (กรวยดอกไม้) การทำควัก (กระทง) การทำบายศรี  และอื่นๆ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นงานใบตองที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมของล้านนาและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง“สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้” ซึ่งเป็นหนึ่งในงานใบตองที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนาซึ่งใช้เฉพาะในล้านนาและใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ของล้านนาในทุกประเพณี  เกิดจากการใช้ใบตองหรือกระดาษม้วนขดเป็นกรวย เพื่อใส่ดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะดวกในการนำไปไหว้หรือคารวะบูชา ที่มาของ “สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้”เกิดจากการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในอดีตที่มาอยู่รวมกันในล้านนาทำให้เกิดการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์ที่เกี่ยวกับวิถีแห่งวัฒนธรรม กอปรกับชาวล้านนามีความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาทำให้มีความเชื่อว่าดอกไม้คือของหอมที่ใช้สำหรับบูชาเป็นเครื่องแสดงถึงความเคารพสักการะ จึงใช้ดอกไม้เป็นเครื่องสักการะบูชาแทบทุกพิธีกรรม ทั้งในประเพณี 12 เดือนและประเพณีครั้งคราว เช่น การทำบุญ การนิมนต์พระ การเลี้ยงผีหรืองานศพ โดยเฉพาะงานศพมีการระบุถึงการใช้สวยดอกว่า ผู้ตายจะต้องพนมมือและถือสวยดอกไว้เพื่อนำดอกไม้ไปไหว้พระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สวยดอกจึงต้องทำอย่างประณีตบรรจงเพราะชาวล้านนามีความเชื่อว่าสิ่งของที่นำไปเป็นเครื่องสักการะบูชาจะต้องทำอย่างประณีตงดงาม  โครงงานจิตอาสาสืบสานวัฒนธรรมด้านงานใบตอง จึงมุ่งเน้นที่จะสืบสานวัฒนธรรมด้านงานใบตอง การทำ“สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้” ที่ค่อยๆเลือนหายไป จึงจำเป็นต้องสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมของล้านนา “สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้” จึงเปรียบเสมือนมรดกทางวัฒนธรรมของล้านนาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมการประดิษฐ์ “สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้” จากใบตองให้คงอยู่ในชุมชนล้านนาต่อไป ...อ่านเพิ่มเติม














ชาดอกเก๊กฮวย ของดีตำบลศรีวิชัย : อาชีพ



ชาดอกเก๊กฮวย ของดีตำบลศรีวิชัย



ดอกเก๊กฮวย

หลายคนอาจจจะรู้จักว่าเป็นดอกไม้ที่คล้ายๆกับดอกเบญจมาศที่มี                ทั้งสีเหลืองสดและสีขาว และมีสรรพคุณที่แก้ร้อนในกระหายน้ำได้                  เป็นอย่างดี โดยลักษณะของต้นดอกเก๊กฮวยนั้น เป็นพืชตระกูลล้มลุก             ขนาดเล็ก ไม่สูงมาก  โดยมีความสูงโดยประมาณ 30 - 80 เซนติเมตร             โดยที่บริเวณกิ่ง ก้านของเก๊กฮวยนั้น มีขนอ่อนปกคลุม ลักษณะของ              กิ่งนั้น จะมีสีเขียวเข้ม ใบสีเขียวเข้ม ยาวรี มีกลิ่นหอม และดอกจะออก         บริเวณปลายกิ่งทั้งช่อ กลีบดอกมีสีเหลืองสด และมีกลิ่นหอม...อ่านเพิ่มเติม







วนอุทยานถ้ำดอยเวียงแก้ว : แหล่งท่องเที่ยว

วนอุทยานถ้ำดอยเวียงแก้ว





            วนอุทยานถ้ำดอยเวียงแก้ว  ตั้งอยู่ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลี้ หมู่ที่ 14 ตำบลแม่ตื่น อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เนื้อที่ประมาณ 42 ตารางกิโลเมตร หรือ 25,250 ไร่ กรมป่าไม้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2532

ลักษณะภูมิประเทศ

            เป็นภูเขามีหินโผล่อยู่ทั่วไป มีถ้ำอยู่ 2 ถ้ำอยู่บนเนินเขา ในถ้ำมีความกว้างประมาณ 10 เมตรและลึกประมาณ 200 เมตร และยังมีถ้ำเล็ก ๆ แยกไปตามซอกมุมอีกหลายถ้ำ ในบริเวณนี้จะมีหินงอกหินย้อยและเนินหินที่สวยงามเป็นจำนวนมาก บนเพดานถ้ำจะมีค้างคาวอยู่เป็นฝูง ๆ และถ้ำทั้ง 2 นี้จะอยู่ห่างกันประมาณ 100 เมตร ห่างจากถ้ำไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะมีน้ำตกสายรุ้งซึ่งอยู่ในลำห้วยแม่ระงอง ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปีแต่ไม่มากนัก ใกล้ ๆ น้ำตกนี้มีหน่วยงานโครงการปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลี้ ซึ่งเป็นหน่วยงานฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม ที่ผ่านการทำไม้มาแล้ว ซึ่งได้ปลูกป่ามาแล้วประมาณ 1,400 ไร่ และกำลังปลูกเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้ก็มีหมู่บ้านป่าไม้ตั้งอยู่ประมาณ 40 ครอบครัว ...อ่านเพิ่มเติม











การเลี้ยงป้อเจ้า บ้านแม่ลอง : ศิลปวัฒนธรรม

การเลี้ยงป้อเจ้า บ้านแม่ลอง





        ป้อเจ้าเป็นผีที่คุ้มครองและสิงสถิตอยู่ในแต่ละหมู่บ้าน ทุกๆปีประมาณ เดือนห้าเหนือและเดือนเก้าเหนือจะมีพิธีเลี้ยงป้อเจ้าบ้านแม่ลอง ซึ่งจะใช้ไก่ในการเลี้ยงป้อเจ้าพอครบรอบสามปี ก็จะเลี้ยงหมูครั้งหนึ่ง  เพื่อให้ป้อเจ้าช่วยดูแลคุ้มครองคนในหมู่บ้านให้อยู่ดีมีสุขหรือคุ้มครองลูกหลานที่ออกไปจากบ้านไปเรียนหรือไปทำงานให้อยู่ดีมีสุข

ขั้นตอนการเลี้ยงป้อเจ้า

       1. บอกกล่าวให้พี่น้องชาวบ้านในหมู่บ้านเรื่องการเลี้ยงป้อเจ้า

  2. ทำความสะอาดหอป้อเจ้า

       3. ร่วมกันจัดอาหารเครื่องเลี้ยงป้อเจ้า มี ไก่ หรือ หมู อาหารคาวหวาน ผลไม้ พลู เมี้ยง บุหรี่ ดอกไม้ธูปเทียน รวมกันเป็นส่วนหนึ่งในการเลี้ยงป้อเจ้า  ...อ่านเพิ่มเติม






กระเป๋า-ตะกร้า จากเส้นพลาสติก : อาชีพ

กระเป๋า-ตะกร้า จากเส้นพลาสติก



ความสำคัญและความเป็นมา

ภายในชุมชนตำบลก้อ หลังจากช่วงทำการเกษตร ข้าวโพด ลำไย การเลี้ยงสัตว์แล้ว ประชาชนมีการว่างงานและประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลก้อ เป็นผู้สูงอายุ ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก จึงเกิดการร่วมมือของเครือข่ายภายในชุมชน กลุ่มชาวบ้าน กศน.ตำบลก้อและเทศบาลตำบลก้อ จัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพการทำกระเป๋า-ตะกร้าจากเส้นสานพลาสติก ที่เกิดขึ้นจากกลุ่มแม่บ้าน
ก้อทุ่งที่ได้นำทักษะการสานวัสดุที่มีความแข็ง เช่น วัสดุไม้ไผ่ หวาย ใบตอง ที่หาได้จากธรรมชาติให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระติบข้าว หวดนึ่งข้าว ตะกร้า กระบุง มาต่อยอดเพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ขของชุมชน เพื่อให้ทันต่อการแข่งขันทางการตลาดในปัจจุบัน โดยมีรองนายกเทศมนตรี ตำบลก้อและนายสมเกียรติ มูลหนิ้ว เป็นผู้นำความรู้มาถ่ายทอดให้แก่ชาวบ้านในชุมชนตำบลก้อ ...อ่านเพิ่มเติม