“ปู่จา” เป็นภาษาเมืองล้านนา แปลเป็นภาษากลางว่า “บูชา” คือ การแสดงความเคารพด้วยเครื่องสักการะ ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใส “ข้าวลดเคราะห์” คือ การทำพิธีทางความเชื่อโดยการใช้ข้าวเพื่อทำพิธีสะเดาะเคราะห์หรือลดเคราะห์ให้หายไป พิธีปู่จาข้าวลดเคราะห์ ในโบราณชาวล้านนาเชื่อกันว่าเป็นพิธีกรรมการบูชาข้าวเพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้า และขอพรจากพระพุทธเจ้าพึงเอาบุญคุณแก้ว 3 ประการ (พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์) อันมีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน และอีกนัยหนึ่งก็คือการสะเดาะเคราะห์ ส่งเสริมดวงชะตาให้ดีขึ้นมักรวมไปถึงการต่ออายุ หรือแก้ไขสิ่งเลวร้ายจากหนักกลายเป็นเบา จากเบากลายเป็นหาย จากหายกลายเป็นดี และเป็นความเชื่ออีกอย่างหนึ่งในการกระตุ้นทางจิตใจทำให้คนที่ทำพิธีเกิดจิตใจที่เข้มแข็ง จึงส่งผลให้ร่างกายกลับมาสมบูรณ์เป็นปกติ การเริ่มทำบุญตั้งแต่ต้นปีก็จะสามารถเพิ่มดวง เสริมสง่าราศีให้ชีวิตมีความสุขและประสบความสำเร็จตลอดทั้งปีและตลอดไป
ในช่วงเช้าของวันปากปีพิธีกรรมจะเริ่มต้นที่วัดของแต่ละหมู่บ้านซึ่งเรียกว่า การบูชาข้าวลดเคราะห์ เป็นการนำเอาข้าวมาปั้นเป็นก้อน จำนวน ๙ ก้อนหรือตามอายุของแต่ละบุคคล ต่อจากนั้นนำไปถวายแด่พระประธานและพระสงฆ์ในพระวิหารซึ่งบางแห่งเรียกพิธีกรรมนี้ว่าการบูชาเคราะห์ปีใหม่หรือบูชาสระเคราะห์ในบางชุมชนหรือบางหมู่บ้านจะกระทำกันที่บ้านเรือนของตนโดยมีปู่อาจารย์จะมาทำพิธีให้ที่บ้านซึ่งเป็นอันเสร็จพิธีช่วงเช้าของวันปากปีแต่บางแห่งก็ไม่มีปรากฏพิธีกรรมดังกล่าวนี้เลย ...อ่านเพิ่มเติม
No comments:
Post a Comment