การบริหารจัดการ account

ประวัติ TKP

โคมยี่เป็ง : อาชีพ

โคมยี่เป็ง



                    ในช่วงก่อนจะถึงวันเพ็ญเดือนยี่ ชาวล้านนาจะประดิษฐ์โคมรูปลักษณะต่างๆ เพื่อเตรียมใช้ในการจุดผางประทีสบูชาที่วัดในวันเพ็ญเดือนยี่ โดยการแขวนใส่ค้างโคมบูชาตามพระธาตุเจดีย์ แขวนไว้หน้าวิหาร กลางวิหาร หรือในปัจจุบันนิยมแขวนประดับตกแต่งตามอาคารบ้านเรือน โคมล้านนามีลักษณะหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่การสร้างสรรค์ตามภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น โคมรูปแบบโบราณที่พบทั่วไปในล้านนา เช่น โคมรังมดส้ม (โคมธรรมจักร) โคมดาว โคมไห โคมเงี้ยว(โคมเพชร) โคมกระบอก โคมหูกระต่าย โคมดอกบัวโคมญี่ปุ่น โคมผัด ฯลฯ ในปัจจุบันมีการประดิษฐโคมรูปแบบใหม่ เช่น โคมรูปจรวด รูปเครื่องบิน โคมร่ม  โคมปราสาท ฯลฯ โคมต่างๆเหล่านี้ ส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่เฮียะ นำมาหักขึ้นเป็นโครง ติดกระดาษสาหรือกระดาษแก้ว ผ้าดิบ ตัดลายกระดาษสีเงิน สีทอง ประดับตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม ปัจจุบันหมู่บ้านที่เป็นแหล่งผลิตโคมและจำหน่ายโคมที่ใหญ่ที่สุด คือ บ้านเมืองสาตร ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่  โคมยี่เป็งแต่ละชนิด มีความแตกต่างกันที่รูปทรงและการประดับตกแต่งลวดลาย เป็นรูปแบบเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น

        สำหรับจุดมุ่งหมายของโคมล้านนาเป็นการให้แสงสว่างในยามค่ำคืน และยังถวายเป็นพุทธบูชาในประเพณีสำคัญต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันออกพรรษา เป็นต้น โดยการบูชาโคมล้านนามีความเชื่อว่าจะนำความสว่างไสวให้เกิดแก่ชีวิต สร้างความเป็นสิริมงคล ความเจริญ ความสุข แสงของโคมนำทางสู่สติปัญญาให้แก่เจ้าของบ้านและคนในครอบครัว เปรียบเสมือนแสงทางส่องชีวิตต่ออายุของผู้ถวายโคมไฟเพื่อเป็นพุทธบูชา และถ้าหากเกิดมาชาติหน้าจะเป็นบุคคลที่มีความฉลาดเฉลียว เปรียบดั่งแสงของเปลวไฟที่ลุกโชติช่วงท่ามกลางความมืดมืด ต่อมาในภายหลังจึงมีการประดิษฐ์โคมในลักษณะรูปร่างต่างๆ ตามยุคตามสมัย แต่ยังคงเป็นการสืบสานงานศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาวล้านนาให้คงอยู่ต่อไปอีกยาวนาน ...อ่านเพิ่มเติม













No comments:

Post a Comment