การทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง
อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน มีพื้นที่เป็นแหล่งปลูกลำไยขนาดใหญ่ ทุกปีจะมีเศษใบลำไยจากสวนของเกษตรกรและจากโกดังรับซื้อลำไยเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาในการกำจัด ซึ่งโดยปกติจะใช้วิธีการเผาทำลาย และยังมีปัญหาเรื่องต้นทุนการทำเกษตรกรรมสูง โดยเฉพาะปัญหาราคาปุ้ยเคมีที่สูงขึ้น รวมถึงปัญหาดินในสวนลำไยเสื่อมโทรม จึงได้จัดตั้งฐานเรียนรู้การผลิตปุ้ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกองขึ้น เพื่อให้มีการจัดการเศษใบลำไยที่มีจำนวนมาก แล้วนำมาทำปุ้ยอินทรีย์เพื่อบำรุงดินและลดตันทุนการผลิตของเกษตรกร
ในการเพาะปลูกของเกษตรกร สิ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญที่สุดคือความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินจะได้มาจากการที่มีอินทรีย์วัตถุสะสมอยู่ในดินอยู่มาก จุลินทรีย์ดินจะใช้อินทรีย์วัตถุเป็นสารอาหารแล้วปลดปล่อยแร่ธาตุที่จำเป็นให้แก่พืชในปริมาณที่พืชต้องการอย่างเพียงพอ ซึ่งได้แก่ ธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน-N ฟอสฟอรัส-P2O5 และโพแทสเซียม-K2O) ธาตุอาหารรอง (ซัลเฟอร์ แคลเซียม และแมกนีเซียม) และจุลธาตุ (แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม เหล็ก คลอรีน นิกเกิ้ล และสังกะสี) การเติมความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินวิธีหนึ่งคือการใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ (Compost) ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์ยังช่วยลดความเป็นกรดของดินที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าหญ้าอย่างยาวนานได้อีกด้วย ทำให้เชื้อโรคในดิน เช่น โรครากเน่า เป็นต้น ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ เพราะเชื้อโรคศัตรูพืชจะชอบอยู่ในดินที่เป็นกรดเท่านั้น นอกจากนี้ ในอดีตก่อนที่จะมีการผลิตปุ๋ยเคมีขึ้นในโลก เกษตรกรในประเทศไทยก็ได้มีการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินในการเพาะปลูกโดยการใช้มูลสัตว์ต่าง ๆ เช่น มูลโค มูลกระบือ และมูลไก่ เป็นต้น มาโดยตลอด ประเทศไทยในขณะนั้นสามารถส่งออกข้าวเป็นที่ 1 ของโลกได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีปุ๋ยเคมีใช้ ...อ่านเพิ่มเติม
No comments:
Post a Comment