สืบสานศิลปวัฒนธรรม “การทอผ้าฝ้ายยกดอก”
สืบสานศิลปวัฒนธรรม “การทอผ้าฝ้ายยกดอก”
วัดพระธาตุดอยกวางคำ
วัดพระธาตุดอยกวางคำ
วัดพระธาตุดอยกวางคำ ตั้งอยู่ บ้านโป่งแดง-สัญชัย ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน วัดนี้ถูกสร้างโดยหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนากิจจานุรักษ์ (อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว) เมื่อประมาณ 50 กว่าปีที่แล้วในสมัยที่องค์หลวงปู่ได้ติดตามครูบาเจ้าศรีวิชัย และครูบาเจ้าอภัยขาวปี (วัดพระพุทธบาทผาหนาม อำเภอลี้) มาบูรณะวัดพระธาตุหัวขัวอำเภอทุ่งหัวช้าง ประวัติและความเป็นมา ณ ขุนห้วยโป่งแดง ปัจจุบันเวลาบ่ายคล้อย มีกวางฝูงหนึ่งประมาณสิบกว่าตัว ออกหากินตามประสาสัตว์โลก โดยการนำของจ่าฝูง (พญากวางคำ.. เหตุที่เรียกว่า พญากวางคำ ก็เพราะว่า เป็นกวางพระโพธิสัตว์ ตัวใหญ่ สีเหลืองดุจทองคำ) ในขณะเดียวกันนั้นก็มีพรานล่าเนื้อ สองกลุ่ม ออกล่าสัตว์ กลุ่มหนึ่งมาทางทิศเหนือ อีก กลุ่มหนึ่งมาทางทิศใต้ ได้มาเจอพญากวางคำฝูงกวางกำลังออกหากินอยู่พอดีด้วยความเป็นจ่าฝูง โดยสัญชาติญาณแห่งโพธิสัตว์ ที่จะให้บริวารพ้นภัยอันตราย จากกลุ่มพราน พญากวางอันมีสติปัญญาว่องไวและความเสียสละ จึงตัดสินใจหลอกล่อนายพรานทั้งสองกลุ่มให้สนใจติดตามตัวเองแต่ผู้เดียว ....รายละเอียดเพิ่มเติม
ผ้าทอยกดอก "ศิลป์หัตถา" สินค้าชิ้นเดียวในโลก
ผ้าทอยกดอก "ศิลป์หัตถา" สินค้าชิ้นเดียวในโลก
ความเป็นมาของภูมิปัญญาผ้าทอยกดอก "ศิลป์หัตถา" สินค้าชิ้นเดียวในโลก
เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวกานต์ชนก แก้วทิพย์ และนายจอมแก่น พิศวงค์
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวกานต์ชนก แก้วทิพย์ และนายจอมแก่น พิศวงค์
“สวน-สาม-แสน” จากเศรษฐกิจพอเพียง...สู่การท่องเที่ยวชีววิถี
“สวน-สาม-แสน” จากเศรษฐกิจพอเพียง...สู่การท่องเที่ยวชีววิถี
ความเป็นมาของการเป็นภูมิปัญญาด้านเศรษฐกิจพอเพียง ณ "สวนสามแสน"
บ้านกลาง หมู่ที่ 10 ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เดิมทีได้คัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินดีเด่นของจังหวัดลำพูน และมีแนวคิดในการสานต่อเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน โดยการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม จากนั้น ผู้ใหญ่สมคิด ธีระสิงห์ จึงได้ร่วมปรึกษาหารือกับชาวบ้านในการทำให้เงินจากกองทุนมีความยั่งยืนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ ในพื้นที่บ้านกลางได้มีโรงเรียนร้างแห่งหนึ่ง ที่ไม่ถูกใช้งานเป็นเวลานานมีพื้นที่กว้างขวาง จึงได้ลงความเห็นว่าจะพัฒนาโรงเรียนร้างแห่งนั้นเป็นแปลงปลูกผักของชาวบ้าน โดยที่ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านจะได้รับการจัดสรรที่ดินทำกิน ปลูกผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษ ไว้กินเอง ไว้ขาย สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน โดยยึดแนวคิด 3 แสน ได้แก่ แสนพอดี แสนคุ้ม แสนภูมิใจ จึงกลายมาเป็น "สวน สาม แสน" ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา มีผู้เข้ามาเรียนรู้ในศูนย์ปีละพันกว่าคน เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้แก่คนในชุมชน คนในจังหวัด และเป็นต้นแบบให้แก่ จังหวัดอื่น และประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย ...รายละเอียดเพิ่มเติม
ภูมิปัญญาการปลูกขึ้นฉ่าย
ภูมิปัญญาการปลูกขึ้นฉ่าย
ว่าที่ ร.อ. จำลอง บุญมา อยู่บ้านเลขที่ 117/1 หมู่ 11 บ้านหัวฝาย ตำบลหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน สืบทอดภูมิปัญญาจากพ่อแม่ โดยเริ่มจากการทำเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาเป็นการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยใช้ระบบ GAP ผสมผสานกับระบบเกษตรอินทรีย์ โดยมีสำนักงานเกษตรส่งเสริมและสนับสนุน ทั้งนี้ ว่าที่ ร.อ. จำลองฯ ได้รับเลือกให้เป็นเกษตรกรต้นแบบ สาขาไร่นาสวนผสม ของจังหวัดลำพูน และได้รับคัดเลือกให้เป็น ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เครือข่ายอำเภอเมืองลำพูน
ผักที่ ว่าที่ ร.อ. จำลอง บุญมา ทำแล้วได้ผลดีที่สุด คือ ขึ้นฉ่าย เดิมคนรุ่นพ่อแม่ได้มีการปลูกขึ้นฉ่าย โดยมีการทำมากในชุมชนบ้านหัวฝาย ตำบลหนองช้างคืน และในพื้นที่ตำบลอุโมงค์ โดยในอดีตมีการปลูกขึ้นฉ่ายเพื่อบริโภค และเมื่อมีมากก็จำหน่าย อีกทั้งในช่วงที่ขึ้นฉ่ายมีราคาแพง ชาวบ้านจะมีการปลูกเพื่อจำหน่ายจำนวนมาก แต่การปลูกขึ้นฉ่ายมีข้อจำกัดคือ ต้องปลูกในที่ร่มรำไร และมีการบำรุงรักษาอย่างดี และไม่สามารถปลูกในแปลงซ้ำกันได้ แต่ ว่าที่ ร.อ.จำลอง ได้หากระบวนการ วิธีการ และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ เพื่อให้สามารถปลูกขึ้นฉ่ายในแปลงซ้ำเดิมได้
....รายละเอียดเพิ่มเติม