TKP HEADLINE

"น้ำถุ้ง...ขี้งัว" วิถีธรรมชาติ ผสานวิถีชีวิต ก่อเกิดวิถีภูมิปัญญาไตลื้อ : ภููมิปัญญาท้องถิ่น

 

"น้ำถุ้ง...ขี้งัว" วิถีธรรมชาติ ผสานวิถีชีวิต ก่อเกิดวิถีภูมิปัญญาไตลื้อ




"น้ำถุ้ง...ขี้งัว"
วิถีธรรมชาติ ผสานวิถีชีวิต ก่อเกิดวิถีภูมิปัญญาไตลื้อ

              ในอดีตสมัยที่ชาวบ้านยังไม่รู้จักน้ำประปา ได้อาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติ และบ่อน้ำในการหล่อเลี้ยงชีวิต ใช้ในการอุปโภค บริโภค ซึ่งการตักน้ำจากบ่อน้ำที่ลึกเป็นไปด้วยความยากลำบาก ชาวบ้านในอดีตจึงต้องสรรหาวิธีในการตักน้ำจากบ่อน้ำให้ได้มากที่สุด และประหยัดแรงมากที่สุดเช่นกัน ซึ่งอุปกรณ์ในสมัยนั้นก็ยังมีไม่มากเท่าในปัจจุบัน ชาวบ้านจึงต้องประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับตักน้ำขึ้นมาใช้งาน โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติรอบตัวมารังสรรค์เป็นนวัตกรรมเพื่อการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
      
            กลุ่มชนไตลื้อ หรือ ไทลื้อ บ้านธิ เป็นอีกชนหนึ่งที่มีร่องรอยของการสร้างอุปกรณ์ในการตักน้ำแบบโบราณ ที่เรียกว่า “น้ำถุ้ง” ซึ่งหมายถึง ถังน้ำ หรือภาชนะสำหรับใส่น้ำที่สานด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับตักน้ำจากบ่อน้ำ มีรูปร่างคล้ายกรวยสั้น ปากกว้าง ก้นเป็นรูปมนแหลม ด้านปากจะมีไม้ไขว้กัน เป็นหูสำหรับผูกกับเชือกที่ใช้ดึงหรือสาวน้ำถุ้งขึ้นจากบ่อน้ำ และจากประสบการณ์ความยากลำบากในการตักน้ำ จึงเกิดภูมิปัญญาชาวบ้านที่ชาญฉลาด ปรับก้นน้ำถุ้งให้มีความมนแหลม เมื่อโยนลงไปในบ่อน้ำ น้ำถุ้ง จะคว่ำลงให้น้ำเข้า เมื่อดึงเชือกขึ้นมาน้ำก็จะเต็มตัวน้ำถุ้งทุกครั้ง จึงทำให้น้ำถุ้งเป็นอุปกรณ์ตักน้ำที่นิยมใช้กันในสมัยโบราณ ชนไตลื้อบ้านธิ จะทำน้ำถุ้งหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เพื่อเอาไว้ใช้สอย และส่งขายให้หมู่บ้านใกล้เคียง โดยหมู่บ้านที่มีการผลิตน้ำถุ้ง มากที่สุดจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน คือ ไทลื้อป่าเป่า หมู่ ๒ ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ... อ่านเพิ่มเติม


ศูนย์การเรียนรู้วัดมหาวัน : แหล่งเรียนรู้

 

ศูนย์การเรียนรู้วัดมหาวัน


             พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริหลัก “บวร” คือ ให้ 3 สถาบันหลักสำคัญของชุมชน และเป็นที่ยึดเหนี่ยวของชุมชน ทำงานเกื้อกูลสนับสนุนซึ่งกันและกันในลักษณะ 3 ประสาน เพื่อพัฒนาและสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2556) ซึ่งชุมชนมหาวัน เป็นชุมชนหนึ่งที่ใช้หลักการดังกล่าว จึงได้ก่อตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้วัดมหาวัน” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต... อ่านเพิ่มเติม

ประเพณีสืบชะตาน้ำลี้และแห่ช้างเผือก

 



ประเพณีสืบชะตาน้ำลี้และแห่ช้างเผือก

            ความเป็นมา "ประเพณีแห่ช้างเผือก” จัดที่ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ถ้าหากปีใดเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ บ้านเมืองเกิดแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล แม่น้ำแห้งขอด ชาวบ้านจะจัดพิธีขอฟ้าของฝนขึ้นมา โดยเฉพาะจะทำกันในช่วงเดือนกรกฎาคม (เดือน๙ ของชาวล้านนา) ก่อนเข้าพรรษา เพราะเป็นฤดูกาลที่ชาวนาต้องหว่านกล้าข้าว มีฝนตกต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองชุ่มฉ่ำ อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จะชนะศีกศัตรูหมู่มารทุกหมู่เหล่า ช้างเผือกเมื่อเกิดมีในบ้านเมืองใด ชาวบ้านหรือเจ้าของช้าง ส่วนมากมักจะต้องนำช้างไปถวายเจ้าเมืองผู้ครองนครบ้านเมืองนั้น ชาวบ้านหรือเจ้าของช้าง จะไม่เลี้ยงเอาไว้เหมือนช้างเชือกอื่นๆ ลักษณะของช้างเผือก ช้างเผือกมีลักษณะ ๗ ประการ ดังนี้ ๑)ตาขาว มีดวงตาสีขาวเรื่อๆ เหมือนตาน้ำข้าว ๒)เพดานขาว มีเพดานปากขาวดุจเนื้อในของเผือกมัน ๓)เล็บขาว มีเล็บขาวเหมือนงานของมันเองทั้งหมด หนังหุ้มเล็บสม่ำเสมอ ๔)พื้นหนังขาว สีคล้ายหม้อดินใหม่ทั่วสรรพางค์กาย ๕)ขนหางขาว มีขนที่หางเป็นพวงพุ่ม ลดหลั่นกันจนถึงน่อง ๖)ขนขาวมีขนทั่วสรรพางค์กายเป็นสีขาวนวล และ๗)อัณฑะขาว มีสีคล้ายหม้อดินใหม่ ...อ่านเพิ่มเติม

กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

 



กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

            ห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งหัวช้าง โดย นายปฏิพัทธ์พงษ์ ภุมรินทร์ บรรณารักษ์ฯ ดำเนินการขับเคลื่อนชมรมคนลำพูนรักการอ่าน Lamphun Reading Club  กิจกรรมการเรียนรู้ฐาน“กุญแจแห่งความรู้ ” ที่มีการถอดบทเรียน 2:3:4 จากการอ่านและการเข้าใช้แหล่งเรียนรู้ห้องสมุด และรับสมัครสมาชิกห้องสมุด ทั้งนี้การดำเนินกิจกรรมได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ...อ่านเพิ่มเติม

ภูมิปัญญา : ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน "บ้านสันตับเต่า"






ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน"บ้านสันตับเต่า" 

            ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน บ้านสันตับเต่า หมู่ที่ 17 จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 โดย นางมาลัย วงศ์อำนาจ และกลุ่ม อสม.ที่มีบทบาทในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนโดยได้รับงบประมาณจากโครงการเชื่อมโยงบูรณาการองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชน ด้านศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญา โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างความเข้าใจว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนในชุมชน มีผลต่อสุขภาพอย่างไร ผ่านการจัดเวทีระดมความเห็นจากนักวิจัย ปราชญ์ชุมชน เยาวชน และตัวแทนจากสถาบันวิจัยหริภุญชัย พร้อมกับทำวิจัยในหัวข้อการดูแลสุขภาพด้วยอาหารพื้นบ้านของชุมชนบ้านสันตับเต่า โดยได้รับงบวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น ระยะการดำเนินงาน 1 ปีครึ่ง โดยมีกลุ่ม อสม.บ้านสันตับเต่าทุกคน จำนวน 24 คน เป็นคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้และทีมวิจัยได้รับการสนับสนุนพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ และการทำหลักสูตรการเรียนรู้จากมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย ...อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน บ้านสันตับเต่า หมู่ที่ 17 จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 โดย นางมาลัย วงศ์อำนาจ และกลุ่ม อสม.ที่มีบทบาทในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนโดยได้รับงบประมาณจากโครงการเชื่อมโยงบูรณาการองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชน ด้านศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญา โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างความเข้าใจว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนในชุมชน มีผลต่อสุขภาพอย่างไร ผ่านการจัดเวทีระดมความเห็นจากนักวิจัย ปราชญ์ชุมชน เยาวชน และตัวแทนจากสถาบันวิจัยหริภุญชัย พร้อมกับทำวิจัยในหัวข้อการดูแลสุขภาพด้วยอาหารพื้นบ้านของชุมชนบ้านสันตับเต่า โดยได้รับงบวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น ระยะการดำเนินงาน 1 ปีครึ่ง โดยมีกลุ่ม อสม.บ้านสันตับเต่าทุกคน จำนวน 24 คน เป็นคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้และทีมวิจัยได้รับการสนับสนุนพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ และการทำหลักสูตรการเรียนรู้จากมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย

เทศกาลโคมแสนดวง : ศิลปวัฒนธรรม

  เทศกาลโคมแสนดวง




            เมื่อกล่าวถึงประเพณียี่เป็ง คงจะนึกถึง "โคม" ซึ่งเป็น อัตลักษณ์ของล้านนาเป็นสิ่งที่ชาวล้านนา ใช้สำหรับจุดไฟให้แสงสว่างสืบทอดกันมาแต่โบราณ ในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ โคม นั้นแฝงไปด้วยเรื่องราวของวิถีชีวิตของชาวล้านนา ในวัฒนธรรมชาวล้านนา ในวัฒนธรรมชาวล้านนา โคม เป็นมากกว่าสิ่งของที่ถูกคิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้งานในการช่วยกำบังไฟที่จุดส่องสว่าง แต่ยังควบคู่กับเรื่องราววิถีชีวิต ความศรัทธา ความเชื่อ จารีตประเพณีของชาวล้านนา ที่สั่งสมส่งต่อยังรุ่นสู่รุ่น เกิดเป็นงานศิลปหัตถกรรมโคมล้านนาที่มีความงดงาม ประณีต ชาวล้านนาจุดโคมเพื่อเป็นพุทธบูชา เทพารักษ์ ทำให้บ้านมีแสงสว่าง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป  ...อ่านเพิ่มเติม





ปั้นซะป๊ะดงหลวง

 




ปั้นซะป๊ะดงหลวง
            ปั้นซะป๊ะดงหลวง โดย นายอดุลย์ เชื้อจิต ได้นำขบวนการผลิตมาพัฒนาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ร่วมสมัย และคงไว้ซึ่งรูปแบบวัฒนธรรมที่มีอัตราลักษณ์เฉพาะถิ่นในรูปแบบตุ๊กตาดินเผา ชุดแม่หญิงล้านนา ชุดมองเชิง ชุดการแสดงของล้านนา ตุ๊กตาดินเผาชุดชนเผ่า โดยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยการนำไปเคลือบด้วยน้ำเคลือบ ( น้ำก๊าบ ) สูตรล้านนาโบราณเผาด้วยความร้อนสูง 1,250 องศา ผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่าของชาวลำพูนและเป็นมรดกวัฒนธรรมการปั้นดินเผาของชาวลำพูนในอดีตที่สืบทอดกันมา 1,300 ปี เช่น การปั้นอิฐไว้ใช้ในชุมชนสร้างพระพุทธรูป พระเจดีย์ สร้างบ่อน้ำวัดวาอาราม พระพิมพ์สกุลลำพูนต่าง ๆ จากกรรมวิธีโบราณ ...อ่านเพิ่มเติม


อ่างเก็บน้ำแม่เส้า : แหล่งท่องเที่ยว

 



อ่างเก็บน้ำแม่เส้า




             อ่างเก็บน้ำแม่เส้า เป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตัวเขื่อนสูง 19 เมตร ยาว 271 เมตร ทางเดินขึ้นหน้าเขื่อนกว้าง 4 เมตร เก็บน้ำได้ประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร สร้างโดยศูนย์ปฏิบัติการ รพช. ภาคเหนือ ภายในบริเวณมีทิวทัศน์สวยงาม พร้อมศาลาพักร้อนให้นั่งพักผ่อน และรับประทานอาหารจานเด็ด คือ ปลาเผาทรงเครื่อง กุ้งเต้นและไก่ทอดทาชมพู ...อ่านเพิ่มเติม



ประวัติความเป็น "ต้นไทยทาน หรือ ต้นครัวทาน"

 




ประวัติความเป็น "ต้นไทยทาน หรือ ต้นครัวทาน" 

           การทำต้นไทยทาน หรือ ต้นครัวทาน เป็นกุศโลบายของหลวงปู่ครูบาเจ้าวงศ์ในการสั่งสอนลูกลานในเรื่องของการทำทาน ในยุคพระศรีอริยเมตไตรย ต้นกัลปพฤกษ์หรือต้นสารพัดนึก จะมาปรากฏขึ้นในยุคพระศรีอารย์อยู่ ๔ มุมเมือง

            ในคัมภีร์ไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง ทวีปต่าง ๆ ทั้ง ๔ ประกอบด้วย บูรพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ มีต้นซีกเป็นต้นไม้ประจำทวีป อมรโคยานทวีป อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ มีต้นกระทุ่มเป็นต้นไม้ประจำทวีป ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ มีต้นหว้าเป็นต้นไม้ประจำทวีป และอยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ มีต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจำทวีป มีคำบรรยายถึงต้นกัลปพฤกษ์ตอนหนึ่งว่า"แลในแผ่นดินอุตตกุรุทวีปนั้น 
มีต้นกัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง โดยสูงได้ ๑๐๐ โยชน์ โดยกว้างได้ ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบบริเวณมณฑลได้ ๓๐๐ โยชน์แล ต้นกัลปพฤกษ์นั้นผู้ใดจะปรารถนาหาทุนทรัพย์ สรรพเหตุใดๆ ก็ดี ย่อมได้สำเร็จในต้นไม้นั้นทุกประการแล" ...อ่านเพิ่มเติม



แหล่งอนุรักษ์โคขาวลำพูน

 




แหล่งอนุรักษ์โคขาวลำพูน

                นายอยุธ  ไชยยอง เป็นผู้ริเริ่มโครงการกระบวนการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขาวลำพูน บ้านไร่ป่าคาโดยกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการการจัดการกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขาวลำพูน  โดยมีคณะครูจากโรงเรียนบ้านหนองบัวและครู กศน.ตำบลท่าตุ้ม เข้าร่วมเป็นทีมวิจัย และนำเอาความรู้เรื่องโคขาวลำพูนมาพัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่น  นอกจากนั้นได้ประสานนำความรู้ทางวิชาการสมัยใหม่ผสมผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมในการเลี้ยงโคขาว  กศน.อำเภอป่าซาง ได้ให้ความรู้ ด้านการดูแล การทำอาหารให้แก่โคขาวลำพูน ได้รับรางวัล การวิจัยเด่น จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  (สกว.) ประจำปี 2549  และเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับจังหวัด เมื่อ ปี 2551  และได้รับการคัดเลือกให้เป็น“แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงโคขาวลำพูน "บ้านไร่ป่าคา” จากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอป่าซาง  รวมทั้งร่วมเป็นวิทยากร  มาจนถึงปัจจุบัน ...อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์การเรียนรู้ STRONG

 



ศูนย์การเรียนรู้ STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต ประจำจังหวัดลำพูน

            การทุจริตสร้างปัญหาให้แก่กลุ่มคน หมู่บ้าน ชุมชน สังคม จนถึงประเทศชาติ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบหลักการเกี่ยวกับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปปรับใช้กับกลุ่มเป้าหมาย (มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561) ในการนี้ สำนักงาน กศน. ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรเกี่ยวกับการต้านทุจริตศึกษาให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของ สำนักงาน กศน. ทั้งใยระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย  (หนังสือสำนักงาน กศน. ที่ ศธ 0210.03/4396 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2565)  ...อ่านเพิ่มเติม

สะพานขาวทาชมภู

 





สะพานขาวทาชมภู
            เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อีกที่หนึ่งของจังหวัดลำพูน เริ่มก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2461 และสร้างเสร็จในปีพ.ศ.2463โดยมีรูปทรงเป็นทรงโค้งทาสีขาวในแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกนับเป็นสะพานประวัติศาสตร์ที่มีความแปลกและท้าทายคือเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ปกติสะพานรถไฟจะสร้างด้วยเหล็กเท่านั้นเพราะสามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือนและอ่อนตัวได้ดีกว่าแต่เนื่องจากช่วงเวลาที่สร้างสะพานเป็นภาวะสงครามจึงไม่สามารถหาเหล็กมาสร้างสะพานได้แต่ด้วยการคำนวณและควบคุมงานที่ยอดเยี่ยมของนายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินได้ทำให้สะพานขาวทาชมภูยังคงใช้งานได้อยู่จนถึงทุกวันนี้และในปัจจุบันได้กลายเป็นสถานที่ถ่ายรูปสำหรับนักท่องเที่ยวถือได้ว่าเป็นจุดเช็กอินหลักของจังหวัดลำพูนเลยก็ว่าได้ อีกทั้งทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปีจะมีการจัดงานที่คู่รักจะมาจดทะเบียนสมรถ ณ สะพานขาวทาชมภูแห่งนี้  ...อ่านเพิ่มเติม



ผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติก : อาชีพ

 



อาชีพ : ผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติก

ประวัติความเป็นมา
            การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ภายใต้กรอบเวลาที่จะพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักโลก “รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก” ตลอดจนกำหนดภารกิจที่จะยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง    ...อ่านเพิ่มเติม







อาชีพผ้าทอพื้นเมือง : อาชีพ

 

อาชีพผ้าทอพื้นเมือง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเหล่า




        บ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง เป็นหมู่บ้านเก่าแก่มีประวัติมายาวนาน เป็นหมู่บ้านชาวยองที่อาศัยอยู่กันมาดั้งเดิม สมัยบรรพบุรุษ ประมาณ 200-300 ปี คำว่าบ้านเหล่า หมายถึง บ้านป่า ซึ่งสมัยก่อนจะมีป่าไม้ล้อมรอบเป็นป่าทึบ มีพระพุทธเก่าแก่ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง คือ พระพุทธรูปพระเจ้า-ตาเขียว สร้างมาสมัยโบราณโดยพระพุทธรูปมีพระเนตรสีเขียว เนื่องจากผู้สร้างได้บรรจุแก้วสีเขียวเข้าไว้ ประชาชนจึงได้เรียกว่า พระเจ้าตาเขียว และเรียกชื่อของหมู่บ้านซึ่งเป็นที่ประดิษฐ์ฐานพระพุทธรูปตนนี้ว่า บ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว เป็นหมู่บ้านชุมชนชาวยอง ซึ่งมีอาชีพทอผ้า และอาชีพเกษตรกรรม  ...อ่านเพิ่มเติม


จักสาน

 

 
จักสาน

        ในทุกภาคของประเทศ เราจะพบเห็นเครื่องจักสานชนิดต่างๆ เพราะเป็นเครื่องใช้ประจำบ้านที่สำคัญยิ่ง ซึ่งทุกคนต้องใช้ ประกอบกับความจำเป็น ทางด้านเศรฐกิจ ของชนบท จึงทำให้ชาวบ้านต้องทำเครื่องจักสาน เป็นเครื่องใช้สอย ด้วยตนเอง และบางทีก็มีมากเหลือพอที่จะแลกเปลี่ยน หรือขายให้แก่เพื่อนบ้านได้ด้วย ในปัจจุบันนี้ความต้องการเครื่องจักสานที่มีลักษณะ และรูปแบบดั้งเดิมนั้น มิได้จำกัดอยู่เฉพาะแก่ชาวบ้าน และชาวเมืองของท้องถิ่น เท่านั้น แต่เป็นที่ต้องการของคนกรุงเทพฯ และต่างประเทศ อีกด้วย

        กลุ่มจักสานบ้านประตูป่า ตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กศน.และหน่วยงาน  ต่างๆ อีกมากมาย เนื่องจากเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อขยายผลให้กับคนในชุมชนให้เพิ่มากขึ้นเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้เสริมให้แก่สมาชิกมีการออกแบบลวดลายให้สวยงาม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ...อ่านเพิ่มเติม


วัดสันป่าเหียง

 




วัดสันป่าเหียง

ท่านพระครูวรปัญญาพล มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่8ได้ก่อสร้างศาลา พระพุทธรูปพระพุทธมหาชัยยะมงคล องค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางมาระวิชัย เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของศรัทธาชาวบ้าน ที่วัดมีวัตถุโบราณ พระประธานในอุโบสถที่เห็นชัดที่สุดเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนจุดเด่นของวัดมีคนมาสักระพระพุทธรูปมหาชัยยะมงคลองค์ใหญ่และพระเจ้าทันใจองค์รองและมีพระมหากัจจายยานะเป็นพระที่เด่นด้านสติปัญญา มีนักเรียนนักศึกษามาขอพร ชาวบ้านก็มาสักระรูปเหมือนครูบาบุญทาสุวรรโณเพราะเป็นเกจิอาจรย์ที่เคารพนับถือ มีตระกรุดยันต์นาคเป็นเครื่องรางประจำตัว ...อ่านเพิ่มเติม

ดาบน้ำลี้ศิริเวียงชัย : ภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

ดาบน้ำลี้ศิริเวียงชัย




จากจุดเริ่มต้นเล็กๆของเหล็กโบราณกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์​สร้างสรรค์​จากโลหะกรรมโบราณ​แม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนทีมงานฝ่ายปกครองอำเภอลี้​ และทีมนักโบราณคดี​ สำนัก​ศิลปากร​ที่​ 7​ เชียงใหม่​ ได้จุดประกายอะไรหลายๆอย่างในการนำองค์​ความรู้ทางวิชาการมาต่อยอดในการพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวชุมชน ...อ่านเพิ่มเติม



ประเพณีตักบาตรผัก

 



ประเพณีตักบาตรผัก
 
"ประเพณีตักบาตรผัก" ประเพณีที่จัดขึ้น ณ วัดพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สำคัญ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนห้วยต้ม ภายในมีสิ่งก่อสร้างที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็น, เจดีย์ 84,000 ,วิหารพระพุทธบาท , มณฑปพระเขี้ยวแก้วป็นต้น ประเพณีตักบาตรผักจะมีขึ้นในวันพระของทุกเดือน โดยชาวบ้านจะทยอยเข้าวัดตั้งแต่ เวลา 05.00 น.เพื่อทำบุญตักบาตรปกติในทุกวันโดยในรอบเช้าจะเป็นการตักบาตรอาหารเจ โดยส่วนใหญ่จะใส่ชุดปกาเกอะญอชุดประจำท้องถิ่นมีสีสันสวยงามเข้าวัด ...อ่านเพิ่มเติม




ผ้าทอมือ

 




ผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ

ประวัติความเป็นมา
หมู่บ้านก้อทุ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่มีการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้ามาจากบรรพบุรุษโดยเดิมทีเป็นการทอผ้าฝ้าย ที่ทำเองทุกกระบวนการตั้งแต่ปลูกต้นฝ้าย เข็นฝ้าย จนกระทั่งทอแต่ในยุคสมัยปัจจุบันไม่มีที่ดินสำหรับปลูกต้นฝ้ายเนื่องจากกลายเป็นบ้านเรือนและที่นาเสียส่วนใหญ่จึงมีการทอผ้าโดยซื้อฝ้ายจากผู้จำหน่ายมาใช้แทน ...อ่านเพิ่มเติม



หมู่บ้านแห่งอารยธรรม ตามรอยครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี : แหล่งท่องเที่ยว

 



บ้านน้ำดิบชมภู
หมู่บ้านแห่งอารยธรรม ตามรอยครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี 
แหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรมของ  ตำบลป่าไผ่  อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน


หมู่บ้านน้ำดิบชมภู  ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 10 ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นชุมชนชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ที่อพยพติดตามครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีมา ยังคงเป็นชุมชนที่ยังคงรักษา “วิถีชีวิตแบบโบราณ” ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ชาวปกาเกอะญอแห่งนี้ยังเป็นชาวพุทธที่เลื่อมใสศรัทธาในครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี หรือครูบาขาวปี  ในทุกวันพระ ชาวบ้านน้ำดิบชมภูจะพากันเข้าวัด ร่วมกันทำบุญฟัง   เทศก์ฟังธรรมที่วัด ซึ่งวันนี้ชาวบ้านจะหยุดกิจกรรมทุกอย่าง ทั้งงานบ้าน การเกษตร เพื่อให้ความสำคัญกับพระพุทธศานา ...อ่านเพิ่มเติม


ถ้ำเขาพระวงศ์พลูช้าง

 





ถ้ำเขาพระวงศ์พลูช้าง


..........ตั้งอยู่ที่ บ้านแม่จ๋อง หมู่ที่ 7 ตำบลศรีวิชัย ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยเป็นถ้ำที่มีความสูงที่ 569 เมตรจากระดับน้ำทะเล อีกทั้งยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม สำหรับพระที่มาธุดงค์ และในเดือนเมษายนของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในก่อนวันที่จะสรงน้ำพระธาตุ ชาวบ้านจะร่วมด้วยช่วยกัน ทำความสะอาด บริเวณโดยรอบ เตีรยมสถานที่ให้มีความพร้อมสำหรับการสรงน้ำพระธาตุ ..อ่านเพิ่มเติม



แหล่งเรียนรู้ : ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น พ่อครูอุทิศ มูลย่อง

 





ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น พ่อครูอุทิศ มูลย่อง

            แรกเริ่มนั้น ในปี พ.ศ. 2551 พ่อครูอุทิศ มูลย่อง ได้จัดกิจกรรมการสอนดนตรีพื้นเมืองในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นให้กับนักเรียนในหมู่บ้านศรีเตี้ยและหมู่บ้านใกล้เคียง ได้แก่หมู่บ้านศรีเจริญหมู่บ้านศรีลาภรณ์ และหมู่บ้านสันปูเลย โดยประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้าน และได้ดำเนินกิจกรรมเช่นนี้ในทุกๆปิดภาคเรียนฤดูร้อน ส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มของเยาวชนขึ้นคือ กลุ่มหลังถ้ำศิลป์ และกลุ่มศรีปทุมศิลป์ ประกอบกับพ่อครูอุทิศ ได้รับแรงจูงใจจากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการสอน การแสดงตามงาน รวมทั้ง การไปดูงานตามสถานที่ต่างๆ ทำให้เกิดความคิดอยากจะจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น เพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์ศิลปะการแสดงดนตรีพื้นบ้านล้านนา โดยนำความประสงค์นี้ไปปรึกษากับเทศบาลตำบลศรีเตี้ย และกศน.ตำบลศรีเตี้ย ซึ่งต่อมาเทศบาลตำบลศรีเตี้ย และกศน.ตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและได้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนให้บ้านของ พ่อครูอุทิศเป็นศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้นโดยแต่ละกลุ่มนั้นจะมีการฝึกฝนและรับแสดงตามงานต่างๆที่มีผู้สนใจมาติดต่อให้ไปทำการแสดง เช่น งานวัด งานศพ งานแห่ขบวนต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะการแสดงดนตรีพื้นบ้านล้านนาให้คงอยู่สืบไป และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนที่ในใจได้เข้ามาศึกษา...อ่านเพิ่มเติม



ิอาชีพ : ผ้าทอกะเหรี่ยงด้วยกี่เอว

 




ผ้าทอกะเหรี่ยงด้วยกี่เอว
กลุ่มทอผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านห้วยสะแหล ตำบลหนองปลาสะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เกิดจากการรวมกลุ่มที่มีแนวคิดที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ้าทอกะเหรี่ยงเป็นภูมิปัญญาการทอผ้ากี่เอว ด้วยเทคนิคที่มีเอกลักษณ์เฉพาะชาวกะเหรี่ยง การทอผ้าพื้นเมืองแบบกะเหรี่ยงที่เป็นการทอด้วยเครื่องทอขนาดเล็กโดยใช้เข็มขัดคาดหลัง ( backstrap ) ...อ่านเพิ่มเติม









วัดพระธาตุดอยห้างบาตร : แหล่งท่องเที่ยว

 


วัดพระธาตุดอยห้างบาตร


วัดพระธาตุดอยห้างบาตร

"ไหว้สาพระธาตุ ดอยห้างบาตรเป็นศรี ของดีลำไย ผ้าไทยถักทอ ยกยอจักรสาน กล่าวขานงานโคนม ชื่นชมวัฒนธรรมเลิศล้ำภาษายอง"


                ตามตำนานเล่าขาลความเป็นมาของวัดพระธาตุดอยห้างบาตร ว่าเมื่อครั้งพุทธกาลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระองค์ได้เสด็จจาริกมายังแคว้นสุวรรณภูมิ ประเทศไทยปัจจุบันนี้ พระองค์ทราบว่าต่อไปภายภาคหน้า แคว้นสุวรรณภูมินี้จะเป็นที่เผยแพร่พุทธศาสนาของพระองค์ต่อไป พระองค์กับพระอรหันต์จำนวน 55 รูป ได้เสด็จมาโปรดพวกฤาษีที่บำเพ็ญตนอยู่ตามถ้ำ เริ่มตั้งแต่วัดเกตุ ซึ่งอยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ แล้วไปโปรดฤาษีในป่า อ.แม่ริม อ.แม่แตง อ.สันทราย อ.สันกำแพง แล้วเข้ามาลำพูนที่บนยอดเขา ดอยน้อย คือดอยห้างฉัตรปัจจุบันนี้ ได้มีฤาษีและพญานาคจำศีลบำเพ็ญอยู่ พระองค์พร้อมสาวกได้เสด็จมาโปรดและพักอยู่บนยอดเขานี้ 3 วัน 3 คืน ก่อนที่พระองค์จะไปโปรดที่อื่นต่อไปฤาษีและพญานาคจึงทูลขอเกศาของพระองค์ พระองค์ก็ประทานให้ แล้วพระองค์ก็อธิษฐานเอาบาตรวางลงบนก้อนหินก็เกิดมีรอยบาตรอยู่บนก้อนหิน จนถึงปัจจุบันนี้ เสร็จแล้วฤาษีและพญานาคได้นำเกศาของพระมาไว้ที่พระองค์ประทับอยู่ แล้วจึงทำเจดีย์ครอบเกศาไว้ ต่อมาได้มีชาวบ้านได้ช่วยกันทำเจดีย์ครอบองค์เดิมไว้และได้บูรณะสืบต่อ ๆ กันมา หลังจากนั้นชาวบ้านได้ถือเอาวันเพ็ญเดือน 9 เหนือ หรือวันเพ็ญเดือน 7 ใต้ เป็นประเพณีสรงน้ำพระธาตุต่อมา จนถึงปัจจุบันนี้ และยังมีพระวิหารสรงน้ำพระธาตุต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ และยังมีพระวิหารอยู่บนดอย เขาและอุโบสถอยู่เชิงเขา ไม่มีใครทราบได้เลยว่าใครเป็นคนสร้าง แบละสร้างขึ้นเมื่อใด ...อ่านเพิ่มเติม


ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดลำพูน. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand