TKP HEADLINE

ผ้าย้อมดิน ถิ่นครูบา : ภูมิปัญญาท้องถิ่น

 ผ้าย้อมดิน ถิ่นครูบา





            ผ้าย้อมดิน ถิ่นครูบา เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนของตำบลป่าไผ่ ซึ่งในสมัยโบราณ ได้มีการนำดินชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่าดินจาวปลวก นำมาย้อมผ้าเพื่อให้เกิดสีสันต์และนำมาตัดเย็บเพื่อสวมใส่ในโอกาสสำคัญต่างๆ จึงทำให้มีการทำผ้าย้อมดิน มาจนถึงปัจจุบัน และเกิดเป็นอาชีพ สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน ตำบลป่าไผ่ ...อ่านเพิ่มเติม

























สื่อเรียนรู้ เพื่อคนพิการ กศน.อำเภอลี้ : รักการอ่าน

 สื่อเรียนรู้ เพื่อคนพิการ กศน.อำเภอลี้ 






สื่อเรียนรู้ เพื่อคนพิการ  ...อ่านเพิ่มเติม









ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ พระพุทธบาทผาผึ้ง : ศิลปวัฒนธรรม

 ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ พระพุทธบาทผาผึ้ง


ประวัติวัดพระพุทธบาทผาผึ้ง บ้านผาต้าย  หมู่ที่ 1

ตำบลแม่ลาน  อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน

      

       วัดพระพุทธบาทผาผึ้ง ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ที่ 1 บ้านผาต้าย ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งของวัด มีเนื้อที่ 17 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วยวิหาร ศาลาการเปรียญและกุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปต่างๆ รูปหล่อพระนางจามเทวี และรอยพระพุทธบาทที่ตั้งอยู่บนดอยผาผึ้ง

วัดพระพุทธบาทผาผึ้ง เป็นพุทธสถานโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอลี้ โดยมีประวัติพระพุทธบาทผาผึ้ง เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าได้เสด็จออกจากป่าเชตวันมหาวิหาร ในช่วงออกพรรษา  ได้เสด็จโปรดสัตว์มายังชมพูทวีปและได้เดินทางผ่านมาที่ดอยผาผึ้ง(ผาเผิ้ง)ปรากฏรอยพระบาทเป็นรอยเกือกแก้ว ภายหลังได้มีชาวบ้านขึ้นไปหาของป่าที่บนดอยผาผึ้งแล้วก็พบรอยพระพุทธบาท  ชาวบ้านจึงได้นำเรื่องมาเล่าให้กับ นายชื่น  ต๊ะสุภา ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น ผู้ใหญ่บ้านพร้อมกับลูกบ้านจึงได้นำเรื่องไปแจ้งให้กับหลวงปู่ครูบาชัยวงค์ษาพัฒนาที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม   หลวงปู่ครูบาชัยวงค์ษาพัฒนาจึงได้มาอธิฐานปรากฏว่าเป็นรอยพระพุทธบาทของ ...อ่านเพิ่มเติม








ปู๋จาข้าวบ้านลดเคราะห์ (บ้านแม่ลอง) : ศิลปวัฒนธรรม

 ปู๋จาข้าวบ้านลดเคราะห์ (บ้านแม่ลอง)




ส่งเคราะห์บ้าน

         วันที่ 16 เมษายน ของทุกปี ชาวบ้านแม่ลองจะมึกิจกรรมส่งเคราะห์หมู่บ้านและปู๋จาข้างบ้าน ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน จะทำพิธีที่ศาลากลางหมู่บ้าน พิธีสงเคราะห์หมู่บ้าน ต้อง เตรียมสะตวงขนาดใหญ่จำนวน 5 อัน สิ่งงในสะตวงจะประกอบไปด้วยแกงส้มแกงหวาน(ใบมะขาม ใบมะละกอ ผลไม้ ข้าวสารอาหารแห้ง พริก เกลือ ข้าวตอกดอกไม้ ข้าวควบ ข้าวแคบ ฯลฯ รูปสัตว์ต่างๆเช่น ความ ไก่ งู ) ช่อขาว ช่อแดง ช่อดำ ช่อน้ำเงินที่จะปักไว้ในแต่ละสะตวง นั้น เพื่อเตรียมส่งเคาราะห์บ้าน เป็นการส่งให้แก่ท้าวเวสสุวัณณ์ ผู้เป็นใหญ่ภูตผีปีศาจทั้งหลาย และเป็นท้าวโลกบาลผู้หนึ่งซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลรักษาโลกให้เป็นปกติสุข  ...อ่านเพิ่มเติม







เกษตรอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ "เพื่อชีวิต" : แหล่งเรียนรู้

 เกษตรอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ "เพื่อชีวิต"


ความเป็นมาของการทำเกษตรอินทรีย์

สมัยก่อนนายประเทือง ธิบดี ประกอบอาชีพรับจ้างอยู่ในกรงเทพมหานคร ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ทำให้การทำงานหมดลู่ทางในการประกอบอาชีพ จึงหันมาทำการเกษตรในที่ดินของตนเองในบ้านเกิด เริ่มจากการปลูกผักสวนครัวไว้กินเองก่อน ซึ่งผักทั้งหมดเป็นผักปลอดสารพิษ ที่ไม่ใช้สารเคมีในการบำรุงรักษา หลังจากนั้นจึงขยายพื้นที่รอบบ้านให้กลายเป็นแปลงผักสวนครัว หลากหลายชนิด และทำสวนลำไยที่ใช้เกษตรอินทรีย์ในการดำเนินงานทั้งหมด ...อ่านเพิ่มเติม









ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำแม่แวน : ศิลปวัฒนธรรม

 ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำแม่แวน


ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ

คำว่า ผี คงหมายเอาวิญญาณหรือสิ่งที่สิงสถิตอยู่ในที่นั้นๆ

คำว่า ขุน หมายถึงความเป็น, ต้นตอ, ประธานหรืออำรักษ์

คำว่า น้ำ มีความหมายเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ในที่นี้หมายถึงเอาแม่น้ำลำคลอง

 เครื่องสำหรับสังเวยบูชา

 มีเทียน 4 เล่ม ดอกไม้ 4 สวย (กรวย) พลู 4 สวย หมาก 4 ขดหรือ 4 ก้อม (1 ขดเอามาตัดครึ่ง เท่ากับ 1 ก้อม) ช่อขาว (ธง) 8 ผืน มะพร้าว 2 คะแนง กล้วย 2 หวี อ้อย 2 เล่ม หม้อใหม่ 1 ใบ แกงส้ม แกงหวาน หัวหมู ไก่ต้ม สุรา และโภชนาการ 7 อย่าง รวมทั้งเมี่ยงและบุหรี่ เป็นต้น  ...อ่านเพิ่มเติม










สวน สาม แสน : แหล่งเรียนรู้

 สวน สาม แสน


“สวนสามแสน” ความภูมิใจของชาวอำเภอลี้ ซึ่งได้ดำเนินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงโดยประชาชนได้รวมกลุ่มปลูกผักปลอดภัย สร้างรายได้ให้ชุมชน

จังหวัดลำพูนเชิญชวน นักท่องเที่ยวที่ได้มีโอกาสมาเยือน อำเภอลี้ เยี่ยมชม และชิมผลผลิตการเกษตรปลอดสารพิษ ที่สวนสามแสน ต.ลี้ อ.ลี้ ซึ่งผู้มาเยือนสามารถเลือกชมและเก็บผลผลิตการเกษตรจากสวนเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีพืชผักผลไม้นานาชนิด

อำเภอลี้เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลำพูน มีพื้นที่ 1,702 ตารางกิโลเมตร เป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัด อยู่ห่างจากอำเภอเมืองลำพูน 105 กิโลเมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ซึ่งมีพื้นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ในช่วงฤดูหนาว  (เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) สภาพอากาศจะเย็นสบายเหมาะสำหรับเดินทางมาท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวิถีชีชีวิตอันเรียบง่ายในการทำเกษตรของประชาชน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 106  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดลำพูนก็ได้ส่งเสริมอำเภอให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ ของจังหวัดลำพูน โดยนายสำเริง ไชยเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ได้ไปเยี่ยมชม “ สวนสามแสน ” สถานที่ท่องเที่ยวที่มีการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ...อ่านเพิ่มเติม








แม่ปลูกลูกต่อยอด "ผ้าทุบลาย บนผืนผ้า" : อาชีพ

แม่ปลูกลูกต่อยอด "ผ้าทุบลาย บนผืนผ้า"

แม่ปลูกลูกต่อยอด

       แม่ได้ปลูกสมุนไพรไว้ในบริเวณบ้าน จึงอยากนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งคนส่วนใหญ่หันมารักสุขภาพกันเยอะ จึงมีความคิดที่จะนำสมุนไพรที่มีอยู่มาทำให้เกิดลวดลายบนผืนผ้า โดยการทุบลาย จึงได้เป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าทุบลายจากสมุนไพรธรรมชาติและวัตถุดิบที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ก็สามารถหาได้ภายในชุมชนและชุมชนยังมีส่วนร่วมในการผลิตสินค้า ...อ่านเพิ่มเติม

















การทำเครื่องเงิน ชุมชนพระพุทธบาทห้วยต้ม : อาชีพ

 การทำเครื่องเงิน ชุมชนพระพุทธบาทห้วยต้ม



            เครื่องเงินของชุมชนพระบาทห้วยต้มมีเอกลักษณ์ ลวดลาย ที่อ่อนช้อย งดงาม แสดงถึงความอ่อนช้อยของชนเผ่า ที่มองเห็นธรรมชาติอันงดงามแล้วนำมาทำเป็นเครื่องเงินเพื่อสวมใส่และสามารถสะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาเผ่าปากะญอได้เป็นอย่างดี มีการรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็ง จึงมีการพัฒนาลวดลายขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง พัฒนาลวดลายขึ้นใหม่จนได้รับการยอมรับจากตลาด ผู้ซื้อและนักท่องเที่ยว โดยจำหน่ายตามร้านค้าในชุมชน ศูนย์วิจัยหัตถกรรมบ้านห้วยต้มและผลิตขายส่งตามรายการสั่งของลูกค้าจนได้รับรางวัล เป็นสินค้า OTOP ระดับ สามดาว ปัจจุบันได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ชุมชนพระบาทห้วยต้มยังเป็นแหล่งผลิตหัตถกรรมเครื่องเงินที่ทำด้วยมือที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดลำพูนอีกด้วย ...อ่านเพิ่มเติม











พรมเช็ดเท้าจากเศษผ้าสร้างอาชีพสร้างรายได้ : อาชีพ

 พรมเช็ดเท้าจากเศษผ้าสร้างอาชีพสร้างายด้


ที่มา พรมเช็ดเท้าจากเศษผ้าสร้างอาชีพสร้างายด้

       ปัจจุบันมีการนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสิ่งชองสำหรับใช้สอยในชีวิตประจำวันมากมาย เช่น พรมเช็ดเท้าจากเศษผ้าของใช้ที่ทุกๆ ครัวเรือนจะต้องมี และในทุกวันนี้พรมเข็ดเท้ามีลวดลายและรูปแบบต่างๆ มากมายให้เราได้เลือกใช้ได้ตามความชอบ และยังมีวิธีทำที่ไม่ยากอย่างที่เราคิด อีกทั้งยังสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพอิสระได้อีกด้วย และการทำพรมเช็ดเท้าจากเศษผ้าขายนับว่าเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ พร้อม งบประมาณในการลงทุนน้อย ทำง่าย สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสามารถทำอยู่ที่บ้านได้ มีเวลาดูแลบ้าน ดูแลครอบครัวได้อีกด้วย ...อ่านเพิ่มเติม









วัดพระธาตุดวงเดียว : แหล่งท่องเที่ยว

 วัดพระธาตุดวงเดียว 



            วัดพระธาตุดวงเดียว ตั้งอยู่ที่ บ้านพระธาตุห้าดวง หมู่ที่ ๑๕ ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ติดถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ (สายลี้-ลำพูน) บริเวณกิโลเมตร ที่ ๕๐ ระยะทางจากอำเภอเมืองลำพูนมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ สายลำพูน-ลี้ ประมาณ ๑๐๕ กิโลเมตร ถึงอำเภอลี้ จากนั้นตรงไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร ถึง วัดพระธาตุดวงเดียว

            วัดพระธาตุดวงเดียว เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญเป็นที่ศึกษาประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณที่ลี้ จังหวัดลำพูน แม้ว่าจะตั้งอยู่บนเนินเขาแต่ก็มีหลักฐานการอยู่อาศัยชัดเจน และมีลักษณะคู คันดิน ในระบบป้องกันศึกและการต่อสู้ข้าศึก คือมีป้อมปราการผลการสำรวจและอาศัยสภาพความสูงต่ำต่างระดับของเนินเขาและหุบลำธาร เป็นชัยภูมิ คันดินกำแพงเมืองอยู่ด้านใน ด้านทิศใต้ มีป้อม เหนือคันดินกำแพงเมืองก่อสร้างด้วยอิฐ และก้อนหิน ภายในเมืองมีโบราณสถาน ๒ แห่ง คือ เจดีย์และซากอาคารรูปสี่เหลี่ยม โบราณวัตถุที่พบในการขุดค้นส่วนใหญ่เป็นเศษภาชนะดินเผาไม่เคลือบ เศษเครื่องล้านนาจากแหล่งเตาเวียงกาหลง เครื่องสังคโลกศรีสัชนาลัย และเครื่องถ้วยจีนสมัย ราชวงศ์หมิง" ...อ่านเพิ่มเติม







ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่"วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ" : แหล่งท่องเที่ยว

 ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่"วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ"


                     วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ เป็นพุทธสถานโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอลี้
โดยมีประวัติพระพุทธบาทดอยถ้ำ เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าได้เสด็จออกจากป่าเชตวันมหาวิหาร ในช่วงออกพรรษา ได้เสด็จโปรดสัตว์มายังชมพูทวีปและได้มาพำนักที่ดอยถ้ำ เมื่อชาวละว้าทราบเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จ จึ่งนำเปลือกก่อและข้าวมธุปายาสมาถวาย เมื่อพระพุทธเจ้าทรงฉันข้าวมธุปายาสไม่หมด ซึ่งให้พระอานนท์นำข้าวมธุปายาสไปเททิ้ง ต่อมาข้าวมธุปายาสได้กลายเป็นพระธาตุหินก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปที่อื่น ก็ทรงเทศน์โปรดชาวละว้าและชาวละว้าได้ทูลขอรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าไว้เป็นพุทธบูชา พร้อมขอรอยพระพุทธบาทของพระเจ้าอโศกราช ซึ่งเป็นพระอุปฐากของพระพุทธเจ้า ...อ่านเพิ่มเติม






กระเป๋าผ้าแฮนด์เมด : อาชีพ

กระเป๋าผ้าแฮนด์เมด


กระเป๋าผ้าแฮนด์เมด

     เป็นการรวมกลุ่มอาชีพของกลุ่มสตรีแม่บ้านป่าคา หมู่ที่ 1 ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนที่ว่างจากงานฤดูเก็บเกี่ยวพืชผลผลิตทางการเกษตรจึงได้รวมกลุ่มกันในการประกอบอาชีพเสริมโดยการนำเศษผ้ามาเย็บปักทักร้อยเป็นกระเป๋าผ้าแฮนด์เมดเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวชุมชน ...อ่านเพิ่มเติม















น้ำตกตาดสะดอ น้ำตกน้อยแห่งก้อหลวง : แหล่งท่องเที่ยว

 น้ำตกตาดสะดอ น้ำตกน้อยแห่งก้อหลวง




                น้ำตกตาดสะตอ ตั้งอยู่ใน อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ใน ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยสายน้ำแห่งนี้เกิดขึ้นมาจากลำธารน้ำตกก้อหลวงที่อยู่ไม่ไกลกันนั่นเอง เลยทำให้เกิดเป็นสายน้ำไหลตกลงมาจากหน้าผาหินปูน ที่สูงประมาณ 15 เมตร ก่อนจะลงมาสู่แอ่งน้ำที่มีสีเขียวมรกตดูแล้วสวยงดงามอย่างมาก  อีกทั้งยังมีลานหินงอกออกมา ซึ่งจะเป็นหินปูนอ่อนสีน้ำตาล ที่สายน้ำนั้นได้เอาหินปูนมาสะสมเอาไว้ ถ้ามองดูแล้วก็น่าจะคล้ายๆ กับหินย้อยนั่นเอง แม้ว่าจะดูแปลกตาไปบ้าง แต่ก็สวยงดงามน่าค้นหาสุดๆ แต่ถึงอย่างนั้นที่ น้ำตกตาดสะตอ แห่งนี้ ไม่สามารถลงเล่นน้ำได้นะคะ เพราะเป็นแค่เพียงจุดชมความสวยงามของน้ำตกเท่านั้น  ...อ่านเพิ่มเติม







หอมแดง สร้างรายได้ ศศช.บ้านสัญชัย : อาชีพ

 

หอมแดง สร้างรายได้ ศศช.บ้านสัญชัย


                อาชีพในชุมชนบ้านสัญชัย คือการทำการเกษตรการปลูกหอมแดง เป็นส่วนมากในช่วงเดือน กรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน ของทุกปี เพราะเป็นพืชระยะสั้นและเป็นที่นิยมปลูกในพื้นที่อำเภอทุ่งหัวช้าง

            หอมแดง เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน ลำต้นจะมีส่วนที่เป็นกาบใบห่อซ้อนกันหลายชั้นรวมเป็นหัวทรงกลมสีม่วงแดง กาบใบชั้นนอกสุดมีสีน้ำตาลแดงและจะแห้งห่อหุ้มส่วนหัวไว้ มีใบจะเรียวยาวเป็นท่อสีเขียว ด้านในกลวง ออกเป็นกระจุก ดอกออกเป็นช่อแทงออกมาจากตรงกลางหัว ช่อดอกมีลักษณะคล้ายร่ม ดอกมีสีขาวอมม่วง ผลกลมมีเมล็ดอยู่ด้านใน เมื่อเมล็ดจะแตกออก เมล็ดทรงรีเล็กๆ สีดำ หอมแดงสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด หรือจะใช้ส่วนหัวปักชำก็ได้ วิธีขยายพันธุ์โดยการปักชำหัวจะให้ผลผลิตที่รวดเร็ว และทำได้ง่าย เพียงไม่กี่ขั้นตอน ...อ่านเพิ่มเติม
















การตีมีด : อาชีพ


การตีมีด



ประวัติการตีมีด

              การดำรงชีวิตของคนภาคเหนือ มีด เป็นสิ่งที่ใช้ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร ทำนา ทำไร่ ทำสวน ซึ่งเมื่อ 200 ปีก่อน มี พ่อหลวงมอญ สายปั่น เป็นผู้ริเริ่มการตีมีด มาก่อนต่อมาลูกหลานได้สืบทอดต่อกันมา ในการตีมีดได้สร้างเตาเหล็ก สำหรับเผามีด ประมาณ 3 , 4 เตา มีคนงานมาตีมีด ประมาณ 10 - 15 คน ต่อมาระยะหลัง มีลูกหลานบ้านแม่ปุงสนใจเพิ่มมากขึ้น ได้ขยายเตาเผาเหล็ก เพิ่มขึ้นมากกว่า 10 เตา มีคนงานเพิ่มขี้นเป็นจำนวนมาก ประมาณ 60 กว่าคน โดยการตีมีดทุกอย่าง ทำด้วยเหล็กแหนบทุก ๆ เล่ม ทำรายได้แก่ครอบครัว และเป็นอาชีพที่ดี ทำให้ลูกหลานสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน

                 ปัจจุบัน การตีมีด ได้พัฒนาและหาวิทีที่ทันสมัยในการตีมีด โดยการใช้เครื่องมือแบบไฮโดรลิก (แบบกระแทก) โดยการรวมทุน ในรูปแบบกลุ่มสมาชิกตีมีด จำนวน 28 คน และตั้งชื่อ กลุ่มตี๋เหล็ก คำว่า ตี๋ ภาษาเหนือ หมายความว่า ตี มีความหมายว่า กลุ่มตีเหล็ก ซึ่งเป็นการตีมีดโดยใช้เครื่องมือ แบบไฮโดรลิก ใช้คนงานในการตีเหล็ก ประมาณ 3 - 4 คน ต่อเตา และทำให้การตีมีมีคุณภาพที่ดีขึ้น และลดแรงงานคนลง  ...อ่านเพิ่มเติม











การทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง : แหล่งเรียนรู้

 การทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง



            อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน มีพื้นที่เป็นแหล่งปลูกลำไยขนาดใหญ่ ทุกปีจะมีเศษใบลำไยจากสวนของเกษตรกรและจากโกดังรับซื้อลำไยเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาในการกำจัด ซึ่งโดยปกติจะใช้วิธีการเผาทำลาย และยังมีปัญหาเรื่องต้นทุนการทำเกษตรกรรมสูง โดยเฉพาะปัญหาราคาปุ้ยเคมีที่สูงขึ้น รวมถึงปัญหาดินในสวนลำไยเสื่อมโทรม จึงได้จัดตั้งฐานเรียนรู้การผลิตปุ้ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกองขึ้น เพื่อให้มีการจัดการเศษใบลำไยที่มีจำนวนมาก แล้วนำมาทำปุ้ยอินทรีย์เพื่อบำรุงดินและลดตันทุนการผลิตของเกษตรกร
            ในการเพาะปลูกของเกษตรกร สิ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญที่สุดคือความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินจะได้มาจากการที่มีอินทรีย์วัตถุสะสมอยู่ในดินอยู่มาก จุลินทรีย์ดินจะใช้อินทรีย์วัตถุเป็นสารอาหารแล้วปลดปล่อยแร่ธาตุที่จำเป็นให้แก่พืชในปริมาณที่พืชต้องการอย่างเพียงพอ ซึ่งได้แก่ ธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน-N ฟอสฟอรัส-P2O5 และโพแทสเซียม-K2O) ธาตุอาหารรอง (ซัลเฟอร์ แคลเซียม และแมกนีเซียม) และจุลธาตุ (แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม เหล็ก คลอรีน นิกเกิ้ล และสังกะสี) การเติมความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินวิธีหนึ่งคือการใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ (Compost) ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์ยังช่วยลดความเป็นกรดของดินที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าหญ้าอย่างยาวนานได้อีกด้วย ทำให้เชื้อโรคในดิน เช่น โรครากเน่า เป็นต้น ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ เพราะเชื้อโรคศัตรูพืชจะชอบอยู่ในดินที่เป็นกรดเท่านั้น นอกจากนี้ ในอดีตก่อนที่จะมีการผลิตปุ๋ยเคมีขึ้นในโลก เกษตรกรในประเทศไทยก็ได้มีการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินในการเพาะปลูกโดยการใช้มูลสัตว์ต่าง ๆ เช่น มูลโค มูลกระบือ และมูลไก่ เป็นต้น มาโดยตลอด ประเทศไทยในขณะนั้นสามารถส่งออกข้าวเป็นที่ 1 ของโลกได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีปุ๋ยเคมีใช้ ...อ่านเพิ่มเติม














แหล่งเรียนรู้ชุมชน"วัดป่าก่อ" : แหล่งเรียนรู้

 แหล่งเรียนรู้ชุมชน"วัดป่าก่อ"




ประวัติวัดป่าก่อ วัดป่าก่อตั้งอยู่ที่บ้านป่าก่อ หมู่ ๑๐ ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน เริ่มก่อสร้างเป็นอารามที่พำนักสงฆ์ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ โดยความร่วมมือ ร่วมรง ร่วมใจ ของชาวบ้านป่าก่อ นำโดยพระสมศักดิ์ วงศ์อ้าย ซึ่งเป็นคนในพื้นที่บ้านป่าก่อ ด้วยสำนึกรักบ้านเกิด เห็นว่าหมู่บ้านป่าก่อเป็นชุมชนขนาดกลาง สมควรมีวัดเพื่อประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา จึงได้ปรึกษาหารือนายสุภา ตาแก้ว ผู้ใหย่บ้านป่าก่อในขณะนั้น ผู้เฒ่าผู้แก้อาวุโสศรัทธาพี่น้องชาวบ้าน ว่าสมควรจะสร้างอารามที่พำนักสงฆ์ขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อจะได้ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา ไม่ต้องไปทำบุญที่หมู่บ้านอื่นซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป ในลำดับแรกหลังจากที่ประชุมมีมติให้สร้างเป็นอารามที่พำนักสงฆ์ ได้รับการสนับสนุนสร้างศาลาปฏิบัติธรรมจำนวน ๑ หลังจากองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนปม ต่อมาพระสมศักดิ์ วงศ์อ้ายได้ทำโครงการเสนอไปยังสภานิสิตวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ได้รับงบประมาณสร้างกุฏิที่พำนักสงฆ์ จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๔๐,๐๐๐.-บาท ในการสร้างกุฏิที่พำนักสงฆ์ งบประมาณที่ได้รับใช้จ่ายเป็นค่าวัสดุ ส่วนการก่อสร้าง ใช้แรงงานจากชาวบ้านช่วยกันจนเสร็จ และทำพิธีถวายกุฏิพำนักสงฆ์ในวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยใช้ชื่อกุฏิที่พำนักสงฆ์ว่า"กุฏิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช ๘๐ พรรษา" ...อ่านเพิ่มเติม








การทำพรมเช็ดเท้าของ กลุ่มแม่บ้านสันดอนฮอม : อาชีพ

 การทำพรมเช็ดเท้าของ กลุ่มแม่บ้านสันดอนฮอม



        ประวัติข้อมูลของผู้ประกอบการ : กลุ่มแม่บ้านสันดอนฮอม โดยการนำของประธานกลุ่มแม่บ้านสันดอนฮอม คือ นางทองพันธ์ อินมณี ทำการชักชวนให้สมาชิกในกลุ่มรวมกันทำพรมเช็ดเท้าเพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกในกลุ่มโดยการใช้เวลาจากงานประจำมาทำพรมเซ็ดเท้า

        ที่อยู่ ที่ตั้ง (พิกัด) ของผู้ประกอบการ : บ้านของนางทองพันธ์ อินมณี อยู่บ้านเลขที่ 97 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน 51000 โทรศัพท์ 0622560959 และ ที่ทำการของกลุ่ม แม่บ้าน คือ ศาลาเอนกประสงค์บ้านสันดอนฮอม หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน  ...อ่านเพิ่มเติม














กิ่วครูบา "ครูบาตึดตาง" : แหล่งท่องเที่ยว

 

กิ่วครูบา  "ครูบาตึดตาง"

"กิ่วครูบา" หรือ "ครูบาตึดตาง" เป็นศาสนสถานที่มีความสำคัญทางศาสนาของชาวบ้านบ้านไม้สลี หมู่ที่ 5 ตำบลตะเคียนปม อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน ระยะทางที่จะไปยังกิ่วครูบา 3-4 กิโลเมตร

"ครูบาตึดตาง" เป็นเขตแดนที่อยู่ระหว่างจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง โดยในอดีตวิถีการดำเนินชีวิตของพี่น้องปากาเกอญอ คือการเลี้ยงวัวและควาย ซึ่ง้ป็นสัตว์ที่นับว่าเป็นกระปุกออมสินของคนในชุมชนทุกพื้นที่ แต่ลักษณะการเลี้ยงวัวนั้น เป็นการเลี้ยงวัวแบบปล่อยในป่า ซึ่งผู้คนนิยมเลี้ยงกันเป็นจำนวนมากและมักพบปัญหาอยู่เสมอว่า วัว,ควายหายบ่อยๆ ต่อมาจึงทราบว่ามีโจรชอบขโมยวัวควายดังนั้น "ครูบาขาวปี" จึงเห็นควรว่าจะทำกำแพงเพื่อป้องกันการขโมยจึง เกิดเป็นที่มาของ "ครูบาตึดตาง" (ครูบาปิดทาง)

ทุกๆวันสำคัญต่างๆทางศาสนาชาวบ้านในชุมชนหรือบริเวณใกล้เคียงจะพากันขึ้นไปทำบุญอยู่เสมอ นับว่าเป็นพื้นที่ชาวบ้านให้ความสำคัญและดูแลรักษาเสมอ สำหรับการเดินทางมายังกิ่วครูบา สามารถมาด้วยรถยนต์ได้ถึงตีนดอย

จากนั้นจะเป็นทางเท้า ระยะทางประมาณ 3-4 กิโลเมตร เส้านทางแคบรถมอเตอร์ไซร์สามารถขี่ขึ้นไปได้ หากไม่ชำนาญทางไม่แนะนำให้นำรถมอเตอร์ไซค์ขึ้นไป เพราะนอกจากเส้นทางจะแคบแล้วสภาพถนนยังไม่ค่อยดี อาจเกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่ที่ไม่มีความชำนาญในเส้นทางได้   ...อ่านเพิ่มเติม











เครื่องบดปุ๋ยหมักและดินปลูก : อาชีพ

 

เครื่องบดปุ๋ยหมักและดินปลูก


            คุณสุรเดช ภูมิชัย เกษตรกรและผู้คิดค้นนวัตกรรม “เครื่องบดปุ๋ยหมักและดินปลูก” ในพื้นที่ หมู่ที่ 6 บ้านท่าช้าง ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน โดยนวัตกรรมตัวดังกล่าวคิดค้นภายใต้แนวคิดที่ต้องการลดการเผาใบลำไยและใบมะม่วงของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อไม่ให้เกิดมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อม โดยให้เกษตรกรเอาใบไม้ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งมาแลกปุ๋ยหมักที่มีการบดใบลำไย ใบมะม่วงผสมกับมูลสัตว์ ที่ใช้เป็นส่วนผสมในปุ๋ยหมัก กลับไปใช้ในไร่สวนของตนเอง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตในการซื้อปุ๋ยหมักตามปกติ นับว่าเป็นนวัตกรรมเครื่องเล็กๆ ที่สามารถสร้างผลกระทบได้ดีและขยายในวงกว้างได้

เกษตรกรชาวสวนลำไยและสวนมะม่วงต้องตัดแต่งกิ่งเป็นประจำทุกวัน จึงรวบรวมใบลำไยและใบมะม่วงเพื่อมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักและดินพร้อมปลูก โดยการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลำพูน ทำให้ทางกลุ่มสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ดินพร้อมปลูกจากปุ๋ยหมักใบลำไยและใบมะม่วง ที่ขายดีจนต้องสั่งจองล่วงหน้า เครื่องบดปุ๋ยหมักและดินปลูกต้นทุนต่ำ 200 ลิตร สามารถใช้ในการผลิตปุ๋ยหมัก พร้อมปลูกบรรจุถุงคุณภาพสูงได้มากถึง 4 ตันต่อวัน

จุดเริ่มต้นของการทำนวัตกรรม “เครื่องบดปุ๋ยหมักและดินปลูก” นั้น คุณสุรเดช เล่าให้ฟังว่า ตนเองนั้นเป็นเกษตรกรทั่วไป ทุกครั้งของการลงมือทำเกษตรกรรม มักจะใช้ปุ๋ยสารเคมีต่างๆ อยู่จำนวนมาก รวมถึงในพื้นที่ในชุมชนของภาคเหนือนั้นมีใบมะม่วงและใบลำไยเยอะพอสมควร จึงมีความคิดที่จะทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ที่ร่วงหล่นภายในชุมชน เพื่อลดต้นทุนการผลิตและปรับเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยหมักในการทำเกษตรกรรมต่างๆ แทน โดยการร่นระยะเวลาในการหมักปุ๋ยจากใบไม้ให้มีความเร็วมากยิ่งขึ้น จึงคิดค้นนวัตกรรมดังกล่าวขึ้นมาจนมาถึงปัจจุบัน  ...อ่านเพิ่มเติม











ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดลำพูน. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand