TKP HEADLINE

วัดเก่าท่าช้าง : แหล่งท่องเที่ยว

 

วัดเก่าท่าช้าง




วัดเก่าท่าช้าง หรือ วัดกุญชรติตถาราม ที่มาของวัดแห่งนี้มีประวัติอันยาวนาน ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณว่า เมื่อ ช้างปู้ก่ำงาเขียว ซึ่งเป็นช้างคู่บารมีของเจ้าแม่จามเทวี ก่อนที่จะเดินทางเข้าเมืองหริภุญชัย เดินทางผ่านเส้นทางที่บ้านหนองล่องและได้ขึ้นบนฝั่งที่ท่าน้ำบริเวณหน้าวัดแห่งนี้ จึงเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “ท่าช้าง” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นราวหนึ่งพันกว่าปีสมัยสร้างเมืองลำพูน หลังจากนั้นราวปี พ.ศ. 2400 ครูบามหายศ พร้อมคณะศรัทธาชาวบ้านบ้านท่าช้างได้ริเริ่มสร้างวัดขึ้น โดยเรียกว่า วัดท่าช้าง ราวปี พ.ศ. 2496 มีการเปลี่ยนทิศทางของสายน้ำจากแม่น้ำลี้ ซึ่งทำให้น้ำหลากมายังพื้นที่วัดท่าช้างเก่าแห่งนี้จำเป็นต้องย้ายวัดไปอยู่ฟากบ้านหนองล่อง ทำให้วัดเก่าท่าช้างถูกปล่อยร้างตั้งแต่นั้นมา 50 กว่าปีผ่านไป คณะศรัทธาชาวบ้านบ้านท่าช้างได้ริเริ่มบูรณะวัดเก่าท่าช้างขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ในปี 2550 สิ่งที่ยังคงอยู่คือ วิหาร และพระพุทธรูปเก่าแก่ ปางมารวิชัย เนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นศิลปะร่วมสมัยระหว่างล้านนาและลาว ที่ได้จำลองมาจากองค์จริง ซึ่งถูกนำไปประดิษฐานที่วัดท่าช้างใหม่ในช่วงย้ายวัดไปฟากบ้านหนองล่องตามที่กล่าวถึงตอนต้น ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ฝายวังปาน : แหล่งท่องเที่ยว

 ฝายวังปาน



"ฝายวังปาน" ตั้งอยู่สองฟากฝั่ง ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ กับ ต.หนองล่อง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน

เมื่อกลางดึกคืน 29 กันยายน 2554 เกิดฝนตกถล่มลงมาอย่างหนักบนดอยสูงต้นน้ำปิงพื้นที่ อ.เชียงดาว - อ.แม่แตง ทำให้เกิดน้ำไหลหลากจากภูเขาสู่แม่น้ำปิง เกิดล้นเอ่อท่วมบ้านเรือนราษฎรรวมถึงตัวเมืองเชียงใหม่ ต่างได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า นอกจากนี้แรงกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากไหลไปตามลำน้ำแม่ปิงเป็นน้ำมวลใหญ่ทำให้ "ฝายวังปาน-ท่าหลุก” ตั้งอยู่สองฟากฝั่ง ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ กับ ต.หนองล่อง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน สร้างด้วยคอนกรีตต้านทานกระแสน้ำไม่ไหวแตกระเนระนาด ตลิ่งสองฟากพังไปกับสายน้ำไม่มีเหลือ ทำให้ราษฎรผู้ใช้น้ำจากฝายวังปาน-ท่าหลุกได้รับความเดือดร้อนไม่มีน้ำใช้ด้านการเกษตรกรรม ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม









วัดบ้านปาง : แหล่งท่องเที่ยว

 

วัดบ้านปาง





ประวัติ

วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นวัดที่ครูบาศรีวิชัยบวชเรียนเป็นวัดแรกและยังเป็นสถานที่ดับขันธ์มรณภาพอีกด้วย ในบริเวณวัดมีความร่มรื่น เมื่ออยู่ด้านบนก็จะมองเห็นวิวทิวทัศน์ เพราะวัดตั้งอยู่บนเนินเขา มีโบราณสถานอันเก่าแก่ เมื่อครั้งสมัยที่ครูบาศรีวิชัยยังมีชีวิตอยู่ก็คือพระวิหารหลวง ที่สร้างขึ้นตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมล้านนา ลักษณะอ่อนช้อยสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีโบสถ์วิหารที่สวยงามรวมไปถึงมีพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารครูบาศรีวิชัยซึ่งเก็บของใช้ส่วนตัวของท่านไว้อย่างครบถ้วน ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
















วัดสันเจดีย์ริมปิง : แหล่งท่องเที่ยว

 

วัดสันเจดีย์ริมปิง



วัดสันเจดีย์ริมปิง

ตั้งอยู่เลขที่ 263 บ้านหนองปลาสะวาย หมู่ที่ 2 ตำบลหนองปลา สะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินวัดมีเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง มีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 5 ตารางวา

วัดสันเจดีย์ริมปิง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2470 ตามประวัติการสร้างวัด ที่ดินที่ใช้ในการสร้างวัดเดิมเป็นวัดร้างมีเจดีย์เก่าอยู่ 1 องค์ตั้งอยู่บนสันเขา ในปี พ.ศ. 2468 พระครูเฮือน สิริวิชโย จากวัดศรีเตี้ยได้มาทำการบูรณะปฏิสังขรวัดขึ้นใหม่ ตั้งชื่อว่าวัดสันเจดีย์ แต่เนื่องจากวัดตั้งอยู่บนเนินเขา เวลาหน้าฝนทำให้น้ำเซาะดินพัง จำได้ทำการย้ายวัดมาจากที่เดิม 100 เมตร สถานที่นี้มีเจดีย์เก่าแก่อีกหนึ่งองค์ และมีซุ้มประตูซึ่งได้อนุรักษ์ไว้ และได้ตั้งชื่อวัดว่าวัดสันเจดีย์ริมปิง ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม





เขตห้ามล่าสัตว์ป่า : แหล่งท่องเที่ยว

 

เขตห้ามล่าสัตว์ป่า  ป่าบ้านโฮ่ง



เขตห้ามล่าสัตว์ป่า (Non-hunting Area) เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย แต่เดิม (พ.ร.บ.สงวนฯ พ.ศ. 2503) นั้นมุ่งเน้นที่การคุ้มครองเฉพาะสัตว์ป่าบางชนิด แต่ในปัจจุบัน (พ.ร.บ.สงวนฯ พ.ศ. 2562) มุ่งคุ้มครองทั้งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าควบคู่กันไปซึ่งบริบทโดยรวมอาจดูคล้ายคลึงกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (Wildlife sanctuary) แต่มีข้อแตกต่างสำคัญคือ 1) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าโดยทั่วไปจะมีพื้นที่ขนาดเล็กกว่า และ 2) มักมีการอนุญาตให้หน่วยงานราชการหรือประชาชนเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าได้ ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม




งานประชุมเพลิงร่าง "ครูบาเจ้าพรรณ" เกจิดังแห่งภาคเหนือ : วัฒนธรรม

 งานประชุมเพลิงร่าง "ครูบาเจ้าพรรณ" เกจิดังแห่งภาคเหนือ



งานประชุมเพลิงร่าง "ครูบาเจ้าพรรณ" เกจิดังแห่งภาคเหนือ หลังมรณภาพเกือบ 2 ปี ไม่เน่า ไม่เปื่อย เหมือนคนกำลังนอนหลับ....


โดยพิธีดังกล่าว เริ่มคณะสงฆ์สวดเจริญพุทธมนต์ ก่อนที่พระสงฆ์จะช่วยกันเปลี่ยนจีวรของครูบาเจ้าพรรณ ซึ่งมีสภาพร่างกายไม่เน่าเปื่อย ผิวเนื้อ เอ็น กระดูก ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ คล้ายคนกำลังนอนหลับ จากนั้นพระสงฆ์หลายรูปช่วยกันบรรจุร่างครูบาเจ้าพรรณลงโลงแก้ว เสร็จแล้วศิษยานุศิษย์ต่างช่วยกันแห่ร่างรอบพระอุโบสถ และศาลาพระพุทธบาทภายในวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ทั้งสิ้น 3 รอบ โดยมีพระสงฆ์ สามเณร จำนวนกว่า 300 รูป นำหน้าขบวนแห่ พร้อมกับชาวปกาเกอะญอต่อแถวยาวนับกิโลเมตร...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง พระบาทห้วยต้ม : แหล่งท่่องเที่ยว

 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง พระบาทห้วยต้ม


ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง พระบาทห้วยต้ม เป็นโครงการหลวงเพียงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดลำพูน ซึ่งสภาพพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่มากนัก ความโดดเด่นของพื้นที่แห่งนี้นอกจากเป็นแปลงสาธิตในศูนย์ฯแล้ว ยังมีเรื่องราวของวัฒนธรรมประเพณีของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงกับวิถีชีวิตที่น่าสนใจ เเหล่งท่องเที่ยวที่ไม่เพียงจะเปิดโลกของการเรียนรู้ทั้งทางด้านเกษตรกรรมและวัฒนธรรมเท่านั้น หากยังเป็นการตามรอยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทยอีกด้วย ....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วัดม่วงโตน : แหล่งท่องเที่ยว

วัดม่วงโตน


ประวัติด้วยย่อ วัดม่วงโตน

วัดม่วงโตนสร้างเมื่อ พ.ศ. 2369 ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง เดิมเป็นวัดที่มีขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในดงป่าไม้ฉำฉา เพราะขณะนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่ในบ้านม่วงโตนยังมีการนับถือผีกันอยู่ ต่อมาได้เริ่มมีการพัฒนาในสมัยของท่านครูบาโถ สุมงฺคโล เป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ. 2476 จึงได้มีการเริ่มบูรณะและสร้างถาวรวัตถุต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น ศาลาบาตร กำแพงวัด หอพระไตรปิฏก ฯลฯ ท่านได้พัฒนาเละปกครองวัดให้เจริญรุ่งเรืองโดยถือเป็นบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งขอบ้านม่วงโตน จนถึงปี พ.ศ. 2513 ท่านจึงมรณภาพ และท่านพระครูวรปัญโญภาส ได้สืบทอดและได้สร้างศาลาการเปรียญ อุโบสถ และศาลาราย ซุ้มประตู และขยายเขตวัดออกไปอีก และกุฏิ ต่อจากท่านครูบาโถ สุมงฺคโล ได้สร้างไว้เพื่อให้สวยงามคู่บวรพระพุทธศาสนาดังที่เห็นในปัจจุบัน วัดม่วงโตนได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร  ....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม




ประเพณีเดือนสี่เป็งทานข้าวใหม่ผิงไฟพระเจ้า : วัฒนธรรม

 

ประเพณีเดือนสี่เป็งทานข้าวใหม่ผิงไฟพระเจ้า


นับแต่อดีตกาลชาวล้านนามีวิถีชีวิตที่ผูกพันธ์กับการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม จนเรียกกันติดปากว่า “เยี๊ยะไร่ ใส่นา” โดยเฉพาะวัฒนธรรมเกี่ยวกับข้าวโดยมีความเชื่อมโยงกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๔ เหนือ (ตรงกับเดือน ยี่ ของทางภาคกลาง คือช่วงเดือน มกราคม) อันเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวข้าว แล้วนำผลผลิตไปใส่หลองข้าว(ยุ้งฉาง) โดยความเชื่อแล้วชาวล้านนามักนิยมนำไปทำบุญก่อน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างกุศลให้แก่ตนเองและผู้ที่ล่วงลับ จึงเกิดประเพณี “ทานข้าวใหม่” และในวันเดียวกันนี้ก็มีประเพณี “ทานหลัวหิงไฟพระเจ้า” เพื่อจุดถายเป็นพุทธบูชา และมีวัตถุประสงค์เพื่อผ่อนคลายความหนาวเย็นให้แก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ชาวบ้านที่มาทำบุญ ความหมายทางธรรม คือการให้เผาซึ่งกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง อันเป็นเหตุของความร้อนภายในจิตใจเป็นเหตุให้สร้างอกุศลกรรม มณี พยอมยงค์ กล่าวว่า ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้านั้น เกิดขึ้นเพราะเหตุผลทางภูมิศาสตร์ของภาคเหนือ ซึ่งมีสภาพอากาศที่หนาวเย็น ด้วยอิทธิพลของป่าไม้ที่หนาทึบ(๒๕๔๘: ๓๐๗) ประเพณีทั้งสองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามคติความเชื่อความศรัทธาของชาวล้านนาที่มีต่อพระพุทธศาสนาและเป็นการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของบรรพบุรุษที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน  ....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วัดพระบาทหงส์คำ : แหล่งท่องเที่ยว

วัดพระบาทหงส์คำ 
หรือที่ชาวบ้านเรียกอีกชื่อว่า วัดดอยพระบาทตีนนก




ประวัติวัดดอยพระบาทตีนนก (หงส์คำ)


วัดดอยพระบาทตีนนก (หงส์คำ) สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยยุคของพระนางเจ้าจามรี กษัติยะนารีของเมืองลี้ เพราะในอดีตทุ่งหัวช้างกับลี้เป็นอำเภอเดียวกัน และในอดีตของชุมชนลุ่มน้ำลี้ เป็นชุมชนเมืองที่เก่าแก่ ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองด้านพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก พบเห็นได้จากร่องรอยศาสนสถานโบราณในอดีตที่ได้สำรวจในบริเวณรอบๆ ดอยพระบาทตีนนก (หงส์คำ) มีวัดร้างอยู่รอบๆ ถึง ๖ วัด ในสมัยก่อนคงจะเป็นแหล่งอริยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองด้านพระพุทธศาสนามาก เพราะจากหลักฐานที่ปรากฏ มีซากเจดีย์เก่า พระพุทธรูปมากมาย สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนของพวกชาวลัวะ ซึ่งในสมัยก่อนถือว่าเป็นชนเผ่าที่นับถือพระพุทธศาสนาแต่ดั้งเดิม ยุคนั้นจะนิยมสร้างเจดีย์ พระพุทธรูป และสร้างวัดในบริเวณใกล้ๆ กัน อาศัยอยู่กันอย่างสงบสุขตามธรรมชาติ และสมัยก่อนมักเกิดโรคระบาดและสงครามสู้รบกัน จึงเป็นเหตุให้ชุมชนชาวลัวะแถบลุ่มน้ำลี้ต่างอพยพหนีตายย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น ศาสนสถานต่างๆ ก็ถูกทิ้งร้างไปหลายร้อยปี...อ่านรายเอียดเพิ่มเติม





ประเพณีปอยหลวง : วัฒนธรรม

 

ประเพณีปอยหลวง




ประเพณีปอยหลวง พื้นที่ตำบลแม่ลาน ลี้ ลำพูน

ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีผู้จิตศรัทธากันเป็นอย่างมาก สำหรับการเรียนรู้ครั้งนี้จะนำสู่เรียนรู้ในเรื่องประเพณีปอยหลวง ในพื้นที่บ้านผาต้ายเหนือ ตำบลแม่ลานอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ปอยหลวงเป็นประเพณีพื้นเมืองดั้งเดิมของชาว ล้านนา ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการฉลอง สมโภชศาสนสถาน หรือสิ่งก่อสร้างสาธารณประโยชน์ เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ศาลา กำ แพง หรืออาคารเรียน เป็นงานที่จัดขึ้นเป็นเวลา หลายวัน มีพุทธศาสนิกชนในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้าน ซึ่ง ทางวัดที่จะทำ บุญนั้นเป็นผู้มีฎีกาเชิญมาร่วมงานฉลอง ด้วยกัน ปอยหลวงนิยมจัดขึ้นในเดือน 5–8 เพราะเป็น ช่วงที่สิ้นฤดูเก็บเกี่ยวแล้วทำ ให้การจัดงานนั้นสามารถ ทำ ได้อย่างเต็มที่ ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม







ประเพณีเดือนสี่ทานข้าวใหม่และหลัวหิงไฟพระเจ้า : วัฒนธรรม

 ประเพณีเดือนสี่ทานข้าวใหม่และหลัวหิงไฟพระเจ้า



นับแต่อดีตกาล ชาวล้านนามีวิถีชีวิตที่ผูกพันธ์กับการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม จนเรียกกันติดปากว่า “เยี๊ยะไร่ ใส่นา” โดยเฉพาะวัฒนธรรมเกี่ยวกับข้าวโดยมีความเชื่อมโยงกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๔ เหนือ (ตรงกับเดือน ยี่ ของทางภาคกลาง คือช่วงเดือน มกราคม) อันเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวข้าว แล้วนำผลผลิตไปใส่หลองข้าว(ยุ้งฉาง) โดยความเชื่อแล้วชาวล้านนามักนิยมนำไปทำบุญก่อน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างกุศลให้แก่ตนเองและผู้ที่ล่วงลับ จึงเกิดประเพณี “ทานข้าวใหม่” และในวันเดียวกันนี้ก็มีประเพณี “ทานหลัวหิงไฟพระเจ้า” เพื่อจุดถายเป็นพุทธบูชา และมีวัตถุประสงค์เพื่อผ่อนคลายความหนาวเย็นให้แก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ชาวบ้านที่มาทำบุญ ความหมายทางธรรม คือการให้เผาซึ่งกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง อันเป็นเหตุของความร้อนภายในจิตใจเป็นเหตุให้สร้างอกุศลกรรม มณี พยอมยงค์ กล่าวว่า ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้านั้น เกิดขึ้นเพราะเหตุผลทางภูมิศาสตร์ของภาคเหนือ ซึ่งมีสภาพอากาศที่หนาวเย็น ด้วยอิทธิพลของป่าไม้ที่หนาทึบ(๒๕๔๘: ๓๐๗) ประเพณีทั้งสองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามคติความเชื่อความศรัทธาของชาวล้านนาที่มีต่อพระพุทธศาสนาและเป็นการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของบรรพบุรุษ ที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ... อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


วัดพระธาตุแสงแก้ว : แหล่งท่องเที่ยว


วัดพระธาตุแสงแก้ว



ที่มาของชื่อ พระธาตุแสงแก้ว

พระธาตุแสงแก้ว หมายถึง พระธาตุออกแสง ชื่อเสียงจะขจรขจายไปทั่ว ตั้งชื่อโดย ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

เอกลักษณ์

เจดีย์รัตนชัยยะมงคล วัดจริญญาวนาราม ประดิษฐานพระธาตุแสงแก้ว ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓) ในภัทรกัปป์ บรรจุไว้ที่คอระฆังพระเจดีย์องค์ใหญ่ และพระเจดีย์องค์เล็ก ๘ องค์ ล้อมรอบทั้งสี่ทิศพระเจดีย์องค์ใหญ่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ หรือ องค์ปัจจุบัน) ในภัทรกัปป์ พระอรหันตธาตุ พระพุทธรูป พระเครื่อง และวัตถุมงคลต่างๆ

ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้มาบริกรรมชี้จุดสถานที่ให้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ และยังบอกอีกว่า “สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ากัสสปะ พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓” (ที่ตั้งพระธาตุแสงแก้วในปัจจุบัน) ....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


ผ้าทอกี่เอวบ้านหนองผำ : ภููมิปัญญา

 ผ้าทอกี่เอวบ้านหนองผำ



ความเป็นมาของผ้าทอกี่เอวบ้านหนองผำ

“ผ้าทอกี่เอว”ภูมิปัญญาชาวปกาเกอะญอ หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่รู้จักผ้าทอชนิดนี้ งั้นเรามาทำความรู้จักไปพร้อมๆกันเลย...^^“ผ้าทอกี่เอว” เป็นผ้าฝ้ายทอมือที่มีความปราณีต สวยงาม มีสีสันและรูปแบบการทอที่เป็นเอกลักษณเฉพาะตัวแห่งเดียวในโลก...เป็นภูมิปัญญาของชาวปกาเกอะญอที่สืบทอดมายาวนานกว่าร้อยปี มีลักษณะการทอผ้าที่ใช้“กี่เอว”ซึ่งเป็นกี่ทอผ้าที่มีขนาดกะทัดรัดสามารถเคลื่อนย้ายหรือพกพาไปสะดวก กลุ่มปกาเกอะญอทอผ้ากี่เอวบ้านหนองผำ ต.ทุ่งหัวช้าง อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน เป็นกลุ่มที่ยังอนุรักษ์และยึดแนววิถีการทอผ้ากี่เอวแบบโบราณที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เรียกได้ว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างแท้จริง....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เกษตรอินทรีย์ : อาชีพ

เกษตรอินทรีย์

เมื่อก่อนทำเกษตรอินทรีย์ และได้มีโอกาสอบรมเรื่องเกษตรธรรมชาติ เลยได้แนวคิดใหม่ๆ ในการทำเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมี ประกอบกับตนเองเป็นแม่บ้าน อยากทำอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว โดยมีพื้นที่ในการเพาะปลูก จำนวน 2 ไร่ 2 งาน พืชที่เพาะปลูก ได้แก่ ผักหวานป่า สัปปะรด ลำไย ต้นไผ่ และปลูกผักสวนครัวในบริเวณพื้นที่บ้าน เช่น ผักกาด บวก ยอดฟักแม้ว ข่า ผักสลัด ซึ่งเป็นพืชตามฤดูกาลเดิมทีปลูกผักไว้ทานในครอบครัว เพราะตนเองแพ้สารเคมีที่ตกค้างในผัก พอรับประทานเข้าไปแล้ว จะรู้สึกคันคอ เพื่อสุขภาพที่ดีให้กับคนในครอบครัว และคนในชุมชนได้ทานผักที่ปลอดสารพิษ และที่สำคัญได้แนวคิดจาก “ในหลวง รัชกาลที่ 9 เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การใช้ชีวิตอยู่บนพื้นฐานทางสายกลาง” จึงได้ทำการเกษตรอย่างพอเพียง เหลือจากการบริโภคในครอบครัว ก็นำมาจำหน่าย ผู้บริโภค รับประทานก็มี“ความสุข และสบายใจ” การบริหารจัดการเกษตรธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยหมักในแปลงเพาะปลูก โดยนำเอาใบไม้ มูลสัตว์ สารเร่ง พด.7 มาทำเป็นปุ๋ยหมัก และใช้น้ำหมักชีวภาพรดน้ำพืชผัก ปลูกพืชที่บำรุงดิน  .....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


ประเพณีแห่ช้างเผือก ลุ่มน้ำลี้ : วัฒนธรรม

 

ประเพณีแห่ช้างเผือก ลุ่มน้ำลี้




ระวัติความเป็นมา

แม่น้ำลี้ เป็นแม่น้ำสาขาหนึ่งของน้ำแม่ปิง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตผู้คนริมสองฟากฝั่ง ไหลหล่อเลี้ยงชุมชนน้อยใหญ่กว่า 4 อำเภอ อันได้แก่ อำเภอลี้ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอบ้านโฮ้งและอำเภอเวียงหนองล่อง ก่อนจะไหลไปรวมกับน้ำแม่ปิงที่บ้านวังสะแกง บริเวณสบลี้ อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน

ความยิ่งใหญ่ของแม่น้ำลี้ ที่มีความยาวกว่า 180 กิโลเมตร มีต้นกำเนิดมาจากเทือดดอยสบเทอม รอยต่อระหว่างอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูนกับเขตอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง นับว่าเพียงพอต่อการเชื่อมร้อยวิถีชีวิตชุมชนริมฝั่งแม่น้ำลี้ในด้านขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมมาช้านาน กระทั่งเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระแสของการพัฒนาได้นำพาความคิดความเชื่อและความทันสมัยเข้าสู่ชุมชน โดยหลงลืมโครงสร้างทางสังคมของชุมชนในอดีต ขณะเดียวกันเกิดวิกฤตแม่น้ำลี้แห้งขอด เนื่อง ด้วยภัยธรรมชาติฝนแล้ง น้ำกิน น้ำใช้ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นหนทางเดียวก็คือการนำเอาพิธีกรรมความเชื่อเข้ามาใช้ในการอนุรักษ์น้ำ เพื่อแสดงความเคารพต่อสายน้ำ ... อ่านรายละเอียดเพิ่ม

แห่ช้างเผือก

การทอผ้าฝ้าย (กลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านทุ่งข้าวหาง) : แหล่งเรียนรู้

 การทอผ้าฝ้าย (กลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านทุ่งข้าวหาง)


ประวัติบ้านทุ่งข้าวหางหมู่บ้านทุ่งข้าวหาง ก่อตั้งมาประมาณ 300 กว่าปี โดยกลุ่มคนได้อพยพมาจากอำเภอแม่ทาเพื่อกระจายการทำมาหากิน จากหมู่บ้านเล็กๆ เพียงสิบกว่าหลังคาเรือน จนมาถึงปัจจุบัน มีจำนวน 167 ครัวเรือน ที่มาของชื่อหมู่บ้านมาจาก การที่ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักในหมู่บ้าน มีน้ำป่าไหลหลากลงมาจากลำห้วยแม่หางน้อย ยาวเป็นหาง ตั้งแต่หัวบ้านจนถึงหางบ้าน น้ำมีสีทองไหลอาบลงทุ่งนาของหมู่บ้าน จึงได้ชื่อว่า “หมู่บ้านทุ่งข้าวหาง” หมู่บ้านทุ่งข้าวหาง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ระยะทาง 12 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่มีพื้นที่เป็นภูเขาและเนินเขาสลับล้อมรอบอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติขุนลี้ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง มีพื้นที่ราบสำหรับการเพาะปลูก ประมาณ 1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ตลอดสองฝั่งของลำน้ำที่ไหลผ่าน ชุมชนแต่ละหมู่บ้านตั้งอยู่เรียงรายสองฝั่งของลำน้ำ เช่น แม่น้ำลี้ แม่น้ำแม่หาง และแม่น้ำสายเล็ก ๆ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำในการทำ การเกษตร ของประชากร สภาพสังคมโดยรวมของของหมู่บ้านทุ่งข้าวหาง เป็นสังคมเกษตรชนบท ทำอาชีพเกษตรกรรม มีความสงบเรียบร้อย และประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นชาวไทยยอง หรือคนยอง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ...รายละเอียดอ่านเพิ่มเติม







ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดลำพูน. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand