ประเพณีเดือนสี่ทานข้าวใหม่และหลัวหิงไฟพระเจ้า
นับแต่อดีตกาล ชาวล้านนามีวิถีชีวิตที่ผูกพันธ์กับการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม จนเรียกกันติดปากว่า “เยี๊ยะไร่ ใส่นา” โดยเฉพาะวัฒนธรรมเกี่ยวกับข้าวโดยมีความเชื่อมโยงกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๔ เหนือ (ตรงกับเดือน ยี่ ของทางภาคกลาง คือช่วงเดือน มกราคม) อันเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวข้าว แล้วนำผลผลิตไปใส่หลองข้าว(ยุ้งฉาง) โดยความเชื่อแล้วชาวล้านนามักนิยมนำไปทำบุญก่อน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างกุศลให้แก่ตนเองและผู้ที่ล่วงลับ จึงเกิดประเพณี “ทานข้าวใหม่” และในวันเดียวกันนี้ก็มีประเพณี “ทานหลัวหิงไฟพระเจ้า” เพื่อจุดถายเป็นพุทธบูชา และมีวัตถุประสงค์เพื่อผ่อนคลายความหนาวเย็นให้แก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ชาวบ้านที่มาทำบุญ ความหมายทางธรรม คือการให้เผาซึ่งกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง อันเป็นเหตุของความร้อนภายในจิตใจเป็นเหตุให้สร้างอกุศลกรรม มณี พยอมยงค์ กล่าวว่า ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้านั้น เกิดขึ้นเพราะเหตุผลทางภูมิศาสตร์ของภาคเหนือ ซึ่งมีสภาพอากาศที่หนาวเย็น ด้วยอิทธิพลของป่าไม้ที่หนาทึบ(๒๕๔๘: ๓๐๗) ประเพณีทั้งสองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามคติความเชื่อความศรัทธาของชาวล้านนาที่มีต่อพระพุทธศาสนาและเป็นการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของบรรพบุรุษ ที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ... อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
Post a Comment