ประเพณีแห่ช้างเผือกตามวิถีของบ้านห้วยไร่
แม่น้ำลี้ เป็นแม่น้ำสาขาหนึ่งของน้ำแม่ปิง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตผู้คนริมสอง ฟากฝั่ง ไหลหล่อเลี้ยงชุมชนน้อยใหญ่กว่า 4 อำเภอ อันได้แก่ อำเภอลี้ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอบ้านโฮ่งและอำเภอเวียงหนองล่อง ก่อนจะไหลไปรวมกับน้ำแม่ปิงที่บ้านวังสะแกง บริเวณสบลี้ อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน
ความสำคัญของช้างเผือกที่ชาวบ้านนำมาเป็นสัญลักษณ์ในพิธีกรรมขอฝนนั้น กล่าวคือ ช้างเผือกเป็นช้างมงคลหากเกิดขึ้นในบ้านเมืองใด จะทำให้บ้านเมืองนั้นอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร มีฝนตกต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองจะชุ่มฉ่ำอยู่เย็นเป็นสุข ขณะเดียวกันในชาดกเรื่องพระเวสสันดร มีช้างเผือกมงคลชื่อ พระยานาเคน ซึ่งเป็นช้างคู่บารมีพระเวสสันดร โดยเมื่อครั้ง นางกุษฏีได้ให้ประสูตพระเวสสันดร ขณะนั้นได้มีนางช้างเชือกหนึ่งได้พาลูกช้างเข้ามายังโรงช้าง ลูกช้างเชือกนั้นเป็นลูกช้างเผือกที่มีลักษณะต่างจากช้างทั่วไป นับแต่วันที่ช้างเผือกได้เข้ามาอยู่ในเมืองของพระเจ้าสนชัย น้ำท่าก็อุดมสมบูรณ์ พืชพรรณธัญญาหารก็เจริญงอกงาม ประชาชนพลเมืองอยู่เย็นเป็นสุขครั้นวันหนึ่งมีเมืองอีกเมืองชื่อ กรินทราช ได้ส่งพราหมณ์ 8 รูปมาขอช้างเผือกมงคลนี้จากพระเวสสันดร เหตุเพราะเมืองกรินทราชเกิดภาวะแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชพรรณล้มตาย ชาวเมืองเกิดความเดือดร้อน พระเวสสันดรซึ่งขณะนั้นได้บำเพ็ญทานบารมี ก็ได้ส่งพระยานาเคน ช้างเผือกมงคลให้แก่เมืองกรินทราช เมื่อได้ช้างเผือกไปฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ จากชาดกเรื่องพระเวสสันดร ซึ่งกลายมาเป็นต้นแบบแนวคิดประเพณีแห่ช้างเผือกของคนลุ่มน้ำลี้ ...อ่านเพิ่มเติม
Post a Comment