TKP HEADLINE

สืบสานศิลปวัฒนธรรม “การทอผ้าฝ้ายยกดอก”

 สืบสานศิลปวัฒนธรรม “การทอผ้าฝ้ายยกดอก”


                        หมู่บ้านทุ่งข้าวหาง ก่อตั้งมาประมาณ 300 กว่าปี โดยกลุ่มคนได้อพยพมาจากอำเภอแม่ทาเพื่อกระจายการทำมาหากิน จากหมู่บ้านเล็กๆ เพียงสิบกว่าหลังคาเรือน จนมาถึงปัจจุบัน มีจำนวน 167 ครัวเรือน ที่มาของชื่อหมู่บ้านมาจาก การที่ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักในหมู่บ้านมีน้ำป่าไหลหลากลงมาจากลำห้วยแม่หางน้อย ยาวเป็นหาง ตั้งแต่หัวบ้านจนถึงหางบ้าน น้ำมีสีทองไหลอาบลงทุ่งนาของหมู่บ้าน จึงได้ชื่อว่า “หมู่บ้านทุ่งข้าวหาง” หมู่บ้านทุ่งข้าวหาง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ระยะทาง 12 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่มีพื้นที่เป็นภูเขาและเนินเขาสลับล้อมรอบอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติขุนลี้ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง มีพื้นที่ราบสำหรับการเพาะปลูก ประมาณ 1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด   .......รายละเอียดเพิ่มเติม


ผ้าทอยกดอก "ศิลป์หัตถา" สินค้าชิ้นเดียวในโลก

 

ผ้าทอยกดอก "ศิลป์หัตถา" สินค้าชิ้นเดียวในโลก




ความเป็นมาของภูมิปัญญาผ้าทอยกดอก "ศิลป์หัตถา" สินค้าชิ้นเดียวในโลก

                        นางสุกันทา ด้วยอ้าย หรือ ป้าด้วง มีใจรักในการทอผ้าตั้งแต่สมัยเด็ก ได้ศึกษาเกี่ยวกับการทอผ้ามาอย่างมากมาย โดยได้ทำงานกับกลุ่มทอผ้ากลุ่มหนึ่ง ก่อนออกมาใช้วิชาความรู้ตนเองในการสร้างกลุ่มทอผ้ากลุ่มใหม่ให้เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้เกิดรายได้ สามารถเลี้ยงดู ตนเองและครอบครัวได้ ได้ก่อตั้ง ปี พ.ศ.  2547 โดยนางสุกันทา  ด้วงอ้าย เป็นผู้ริเริ่มในการก่อตั้ง  โดยเริ่มแรกได้ใช้งบประมาณของตัวเองในการลงทุนซื้ออุปกรณ์ในการทอผ้า เช่น กี่ หัวม้วน กระสวย ฝ้าย เป็นต้น   และได้ชักชวนเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้องในหมู่บ้านมาฝึกการทอผ้า  จึงเกิดเป็นกลุ่มผ้าทอยกดอก ชื่อ "ศิลป์หัตถา" สินค้าที่มีชิ้นเดียวในลำพูน ซึ่งเกิดจากการอที่ป้าด้วงมักจะคิดค้นลวดลายด้วยตนเองจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ประกอบกับฝีทอที่ละเอียดละออ สวยงาม สินค้าของกลุ่มจึงได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ และเอกชนมากมาย เช่น กศน.อำเภอลี้ เทศบาลตำบลดงดำ มหาวิทยาลัยราชภัฎ ฯลฯ ต่อมาได้รับคัดเลือกให้เป็นสินค้าประจำตำบล OTOP ให้ไปจัดแสดงในงานมหกรรมสินค้า จนในปัจจุบันได้รับออเดอร์จากต่างประเทศมากมาย สร้างรายได้ให้กับกลุ่มเป็นอย่างมาก   ......รายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อมูลเนื้อหา โดย นางสุกันทา ด้วงอ้าย
เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวกานต์ชนก แก้วทิพย์ และนายจอมแก่น พิศวงค์
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวกานต์ชนก แก้วทิพย์ และนายจอมแก่น พิศวงค์

















“สวน-สาม-แสน” จากเศรษฐกิจพอเพียง...สู่การท่องเที่ยวชีววิถี

 

“สวน-สาม-แสน” จากเศรษฐกิจพอเพียง...สู่การท่องเที่ยวชีววิถี



                      ความเป็นมาของการเป็นภูมิปัญญาด้านเศรษฐกิจพอเพียง ณ "สวนสามแสน"
บ้านกลาง หมู่ที่ 10 ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เดิมทีได้คัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินดีเด่นของจังหวัดลำพูน และมีแนวคิดในการสานต่อเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน โดยการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม จากนั้น ผู้ใหญ่สมคิด ธีระสิงห์ จึงได้ร่วมปรึกษาหารือกับชาวบ้านในการทำให้เงินจากกองทุนมีความยั่งยืนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ ในพื้นที่บ้านกลางได้มีโรงเรียนร้างแห่งหนึ่ง ที่ไม่ถูกใช้งานเป็นเวลานานมีพื้นที่กว้างขวาง จึงได้ลงความเห็นว่าจะพัฒนาโรงเรียนร้างแห่งนั้นเป็นแปลงปลูกผักของชาวบ้าน โดยที่ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านจะได้รับการจัดสรรที่ดินทำกิน ปลูกผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษ ไว้กินเอง ไว้ขาย สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน โดยยึดแนวคิด 3 แสน ได้แก่ แสนพอดี แสนคุ้ม แสนภูมิใจ จึงกลายมาเป็น "สวน สาม แสน" ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา มีผู้เข้ามาเรียนรู้ในศูนย์ปีละพันกว่าคน เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้แก่คนในชุมชน คนในจังหวัด และเป็นต้นแบบให้แก่ จังหวัดอื่น และประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย  ...รายละเอียดเพิ่มเติม



ข้อมูลเนื้อหา โดย นายสมคิด ธีระสิงห์
เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวกานต์ชนก แก้วทิพย์ และนางสาวปัทมาภรณ์ จันต๊ะ
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวกานต์ชนก แก้วทิพย์ และนางสาวปัทมาภรณ์ จันต๊ะ


 









ภูมิปัญญาการปลูกขึ้นฉ่าย

 

ภูมิปัญญาการปลูกขึ้นฉ่าย


                ว่าที่ ร.อ. จำลอง บุญมา อยู่บ้านเลขที่ 117/1 หมู่ 11 บ้านหัวฝาย ตำบลหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน สืบทอดภูมิปัญญาจากพ่อแม่ โดยเริ่มจากการทำเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาเป็นการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยใช้ระบบ GAP ผสมผสานกับระบบเกษตรอินทรีย์ โดยมีสำนักงานเกษตรส่งเสริมและสนับสนุน ทั้งนี้ ว่าที่ ร.อ. จำลองฯ ได้รับเลือกให้เป็นเกษตรกรต้นแบบ สาขาไร่นาสวนผสม ของจังหวัดลำพูน และได้รับคัดเลือกให้เป็น ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เครือข่ายอำเภอเมืองลำพูน
                ผักที่ ว่าที่ ร.อ. จำลอง บุญมา ทำแล้วได้ผลดีที่สุด คือ ขึ้นฉ่าย เดิมคนรุ่นพ่อแม่ได้มีการปลูกขึ้นฉ่าย โดยมีการทำมากในชุมชนบ้านหัวฝาย ตำบลหนองช้างคืน และในพื้นที่ตำบลอุโมงค์ โดยในอดีตมีการปลูกขึ้นฉ่ายเพื่อบริโภค และเมื่อมีมากก็จำหน่าย อีกทั้งในช่วงที่ขึ้นฉ่ายมีราคาแพง ชาวบ้านจะมีการปลูกเพื่อจำหน่ายจำนวนมาก แต่การปลูกขึ้นฉ่ายมีข้อจำกัดคือ ต้องปลูกในที่ร่มรำไร และมีการบำรุงรักษาอย่างดี  และไม่สามารถปลูกในแปลงซ้ำกันได้ แต่ ว่าที่ ร.อ.จำลอง ได้หากระบวนการ วิธีการ และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ เพื่อให้สามารถปลูกขึ้นฉ่ายในแปลงซ้ำเดิมได้  
....รายละเอียดเพิ่มเติม


แหล่งข้อมูล  กศน.ตำบลหนองช้างคืน 198 หมู่ 2 ตำบลหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
นายกฤษณพงษ์ มูลหงษ์ โทร 0810240534

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดลำพูน. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand