TKP HEADLINE

แหล่งท่องเที่ยว : สุขใจออแกนิคฟาร์ม

 



สุขใจออแกนิคฟาร์ม


            ในปัจจุบันคนหันมาให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินที่ต้องปลอดสารเคมี ในพื้นที่อำเภอเมืองลำพูนได้มีสวนแห่งหนึ่งได้ริเริ่มปลูกพืชผักที่ปลอดสารเคมีขึ้น ชื่อ สวนสุขใจออร์แกนิคฟาร์ม

            ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของบ้านสวนสุขใจ ฟาร์มออร์แกนิก ได้แก่ ข้าว “ปันสุข” เป็นข้าว 6 ชนิด ได้แก่ ข้าวไรซ์เบอรี่สุขใจ, ข้าวกล้องหอมมะลิดอกสัก, ข้าวเหนียวกล่ำแบบผสม, ข้าวไรซ์เบอรี่แบบผสม, ข้าวเหนียวหอมแม่โจ้ และข้าวขาวหอมมะลิดอกสัก “ไข่ไก่อารมณ์ดี” จากไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อย เพื่อให้แม่ไก่ได้เดินเล่น และไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ โดยมีแนวคิดว่า “From Mom to Mom” จากแม่ไก่สู่คุณแม่ทุก ๆ คน "กบออร์แกนิค" เลี้ยงด้วยอาหารออร์แกนิค ไม่มีสารเคมี...อ่านเพิ่มเติม




แหล่งเรียนรู้ : 185 แหล่งเรียนรู้ไร่นาสวนผสม

 


.
185 แหล่งเรียนรู้ไร่นาสวนผสม


            หลายปีก่อนดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ไม่เข้าใจคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง คิดเพียงว่าหากเริ่มต้นทำการเกษตร เช่น ปลูกผัก ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน กว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และจะเอาเงินมาจากไหน เพื่อซื้อสิ่งของ เครื่องใช้ เช่น โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่ตัวเล็กกว่าฝ่ามือที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น ถ้าไม่ได้จากเงินเดือนพนักงานบริษัทที่ดิฉันทำอยู่ขณะนั้น ณ ปัจจุบันนี้ หากมองกลับไปแล้วคงไม่มีความคิดแบบนี้เป็นแน่

            วันนี้ดิฉันจะนำทุกท่านพบกับบุคคลที่มีความสุข โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาประยุกต์ใช้ในชีวิต คุณอนัน หมื่นสิทธิโรจน์ อยู่บ้านเลขที่ 185 หมู่ 8 บ้านม่วงต้นผึ้ง ตำบลบ้านแป้น อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ได้รับรางวัลที่ 3 ประเภท เกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม ในการคัดเลือกเกษตรกรบุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น ระดับจังหวัด ประจำปี 2563 จากกรมส่งเสริมการเกษตร จังหวัดลำพูน ...อ่านเพิ่มเติม




แหล่งท่องเที่ยว : วัดพระธาตุดอยแต

 


วัดพระธาตุดอยแต

            วัดพระธาตุดอยแต มีความสำคัญเกี่ยวกับท่าน พระครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๒ หลังจากท่านอุปสมบทได้ ๑ ปี แล้วท่านได้ขอลาพระครูบาขัติยะ หรือคนทั่วไปเรียกท่านว่า “ครูบาแข้งแขะ” อาจารย์องค์แรกของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ไปศึกษากัมมัฏฐานและปฏิบัติธรรมกับพระครูบาอุปละ (อุบล) วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน (ในปี ๒๕๒๘ วัดพระธาตุดอยแต ได้โอนวัดมาขึ้นต่อตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน)


            ซึ่งสมัยนั้นชาวลำพูนนับถือท่านว่าเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด ปฏิบัติเคร่งครัด พระครูบาอุปละได้เมตตาถ่ายทอดครองวัตรปฏิบัติวิชชาอาคมให้พระศรีวิชัยสมควรแก่ภูมิธรรมเป็นเวลา ๑ พรรษา หลังจากได้ศึกษากัมมัฏฐานกับพระครูบาอุปละ (อุบล) ได้ ๑ พรรษา จึงได้อำลากลับมาสู่วัดบ้านปาง ตั้งจิตอธิษฐานปฏิบัติทบทวนภูมิธรรมพิจารณาวัตรปฏิบัติธรรมโดยเคร่งครัดเสมอต้นเสมอปลาย และท่านได้นับถือพระครูบาอุปละ เป็นอาจารย์ผู้สั่งสอนกัมมัฏฐานองค์ที่ ๓ เป็นองค์สุดท้าย ...อ่านเพิ่มเติม

ภูมิปัญญา : "น้ำถุ้ง...ขี้งัว" วิถีธรรมชาติ ผสานวิถีชีวิต ก่อเกิดวิถีภูมิปัญญาไตลื้อ

 


"น้ำถุ้ง...ขี้งัว" วิถีธรรมชาติ ผสานวิถีชีวิต ก่อเกิดวิถีภูมิปัญญาไตลื้อ

            ในอดีตสมัยที่ชาวบ้านยังไม่รู้จักน้ำประปา ได้อาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติ และบ่อน้ำในการหล่อเลี้ยงชีวิต ใช้ในการอุปโภค บริโภค ซึ่งการตักน้ำจากบ่อน้ำที่ลึกเป็นไปด้วยความยากลำบาก ชาวบ้านในอดีตจึงต้องสรรหาวิธีในการตักน้ำจากบ่อน้ำให้ได้มากที่สุด และประหยัดแรงมากที่สุดเช่นกัน ซึ่งอุปกรณ์ในสมัยนั้นก็ยังมีไม่มากเท่าในปัจจุบัน ชาวบ้านจึงต้องประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับตักน้ำขึ้นมาใช้งาน โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติรอบตัวมารังสรรค์เป็นนวัตกรรมเพื่อการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
            กลุ่มชนไตลื้อ หรือ ไทลื้อ บ้านธิ เป็นอีกชนหนึ่งที่มีร่องรอยของการสร้างอุปกรณ์ในการตักน้ำแบบโบราณ ที่เรียกว่า “น้ำถุ้ง” ซึ่งหมายถึง ถังน้ำ หรือภาชนะสำหรับใส่น้ำที่สานด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับตักน้ำจากบ่อน้ำ มีรูปร่างคล้ายกรวยสั้น ปากกว้าง ก้นเป็นรูปมนแหลม ด้านปากจะมีไม้ไขว้กัน เป็นหูสำหรับผูกกับเชือกที่ใช้ดึงหรือสาวน้ำถุ้งขึ้นจากบ่อน้ำ และจากประสบการณ์ความยากลำบากในการตักน้ำ จึงเกิดภูมิปัญญาชาวบ้านที่ชาญฉลาด ปรับก้นน้ำถุ้งให้มีความมนแหลม เมื่อโยนลงไปในบ่อน้ำ น้ำถุ้ง จะคว่ำลงให้น้ำเข้า เมื่อดึงเชือกขึ้นมาน้ำก็จะเต็มตัวน้ำถุ้งทุกครั้ง จึงทำให้น้ำถุ้งเป็นอุปกรณ์ตักน้ำที่นิยมใช้กันในสมัยโบราณ ชนไตลื้อบ้านธิ จะทำน้ำถุ้งหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เพื่อเอาไว้ใช้สอย และส่งขายให้หมู่บ้านใกล้เคียง โดยหมู่บ้านที่มีการผลิตน้ำถุ้ง มากที่สุดจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน คือ ไทลื้อป่าเป่า หมู่ ๒ ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน  ...อ่านเพิ่มเติม

อาชีพ : ก่องข้าว..ใบตาล

 


ก่องข้าว..ใบตาล

            อำเภอบ้านธิเป็นอำเภอขนาดเล็กตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของจังหวัดลำพูนประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร เช่น ทำนา ปลูกผัก ทำสวนลำไย เป็นต้น บริเวณทุ่งนามีการปลูกต้นตาลกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการปลูกมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าส่วนใหญ่นิยมปลูกตามคันนาเป็นแนวยาวเรียงกันเพื่อแสดงอาณาเขตที่ดิน
                ต้นตาลเป็นปาล์มต้นเดี่ยวที่มีความสูงชะลูด มีลำต้นใหญ่และเนื้อแข็งแรงมาก เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน ลำต้น เดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งจะมีกาบขอบใบติดอยู่ประมาณ 5 เมตร ลักษณะของเนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง มีเสี้ยนสีดำอัดกันแน่นด้านในสูงประมาณ 15 เมตร และจะมีใบออกที่ยอด  ...อ่านเพิ่มเติม

แหล่งเรียนรู้ : "เฮือนไตลื้อ" (บ้านป่าเหียง)

 






"เฮือนไตลื้อ" (บ้านป่าเหียง)
มรดกทางวัฒนธรรมที่มรดกทางวัฒนธรรมที่ขออุทิศไว้เพื่อชุมชนขออุทิศไว้เพื่อชุมชน

            การเปลี่ยนแปลงของกระแสวัฒนธรรมในปัจจุบัน ได้กลืนกินวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นไปด้วย ทั้งการแต่งกาย วิถีชีวิต อาหารการกิน รวมไปถึงสถาปัตยกรรมอาคารเป็นเรือน ก็แทบจะเป็นบ้านที่ก่อด้วยปูนซีเมนต์แบบเดียวกันทั้งหมด บ้านเรือนรูปทรงแบบโบราณจึงพบเห็นได้ยากมากขึ้นในปัจจุบัน และเชื่อว่าในอนาคตอาจจะสูญหายไปตามกาลเวลาอีกด้ว

            ชุมชนบ้านป่าเหียง ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่ประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมเช่นเดียวกัน บ้านเรือนทรงไทลื้อดั้งเดิมแบบโบราณแทบจะหาชมได้ยากแล้ว คนสร้างเมื่อเสียชีวิตลง บางทีลูกหลานก็ไม่ได้เก็บรักษาหรืออนุรักษ์ไว้ ทำให้หายไปจำนวนมาก พ่อน้อยเมืองอินทร์ สายวังจิตต์ ปัจจุบันอายุ 85 ปี ได้ตระหนักถึงปัญหาการสูญสลายทางวัฒนธรรมบ้านเรือนแบบไทลื้อโบราณ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเรือนอยู่อาศัยที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น จึงได้อุทิศเรือนของตน เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้ โดยยังคงมีเรือนอยู่อาศัยพื้นถิ่นแบบดั้งเดิมที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์และสะท้อนภาพความเป็นอยู่ของท้องถิ่น ตามแบบวิถีของชุมชนไทลื้อไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ...อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรม : แข่งเรือยาว ประเพณีออกพรรษา

 


แข่งเรือยาว ประเพณีออกพรรษา

            ย้อนอดีตไปประมาณ 50 – 60 ปี เมื่อถึงเดือน 12 เป็ง (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 12) เป็นประเพณีที่ชาวบ้านมาทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลไปหาผู้ล่วงลับ (บรรพบุรุษ) ซึ่งเป็นประเพณีตามความเชื่อของชาวไทยพุทธ เล่าต่อกันมาว่า “ท่านพยายม” จะเปิดประตูผีหรือประตูนรกวันปล่อยผีให้ดวงวิญญาณมารับเอาส่วนบุญส่วนกุศลที่ทางญาติทำบุญให้ เทศกาล 12 เป็ง ของทุกๆ ปี พื้นที่ชุมชนตำบลปากบ่อง มีทั้งหมดจำนวน 5 ชุมชน (หมู่บ้าน) คือ ชุมชนบ้านสบทา ชุมชนบ้านท่าต้นงิ้ว ชุมชนบ้านหนองสะลีก ชุมชนบ้านหนองผำ และชุมชนบ้านปากบ่อง ชุมชนบ้านก้องหรือบ้านปากบ่อง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน และชุมชนใกล้เคียงเข้าวัดทำบุญตักบาตรกันแล้ว จะชวนกันไปชมการแข่งเรือยาวประจำปี บริเวณท่าน้ำปิงซึ่งอยู่หลังวัดบ้านก้องนั่นเอง...อ่านเพิ่มเติม


แหล่งเรียนรู้ : แหล่งอนุรักษ์โคขาวลำพูนบ้านไร่ป่าคา

 


แหล่งเรียนรู้ : แหล่งอนุรักษ์โคขาวลำพูนบ้านไร่ป่าคา

           แหล่งอนุรักษ์พันธุ์โคขาวลำพูนที่หาดูได้ยากเป็นโคขาวลำพูนที่มีลักษณะที่ดีซึ่งนำไปใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ จุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าตุ้มโดยสำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดลำพูน ...อ่านเพิ่มเติม

แหล่งท่องเที่ยว : วัดพระพุทธบาทตากผ้า ตำนานแห่งล้านนา

 


วัดพระพุทธบาทตากผ้า  ตำนานแห่งล้านนา

            ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติไทย ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทย สืบทอดกันมาอย่างช้านาน วัดเป็น ศาสนสถาน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุสามเณร เป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา ในปัจจุบันมีวัดวาอารามต่างๆ ที่สวยงามและได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วิถีพุทธ เรียนรู้พุทธศาสนา และประวัติศาสตร์

    วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ มีปูชนียสถานที่สำคัญหลายแห่ง มีบรรยากาศร่มรื่น ทิวทัศน์สวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและขึ้นชื่อของจังหวัดลำพูน...อ่านเพิ่มเติม


ภูมิปัญญา : เครื่องจักสาน งานลุงเสย

 



 เครื่องจักสาน งานลุงเสย

                เครื่องจักสาน เป็นงานศิลปหัตถกรรมอย่างหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยมนุษย์เพื่อใช้สร้างเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ผลิตขึ้นโดยการสอด ขัด และสานของวัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้น เป็นริ้ว เพื่อให้ได้ลวดลายที่สวยงาม และเพื่อให้เกิดความคงทนของเครื่องจักสาน
                นายเสย มูลชีพ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ลุงเสย” อาศัยอยู่บ้านหนองเงือก เลขที่ 103/1 หมู่ 5 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เบอร์โทร 084-7187485 การศึกษา ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ณ โรงเรียนบ้านหนองเงือก  ลุงเสยมีใจรักในการทำเครื่องจักสานและด้วยลุงเสยเป็นไวยาวัจกรประจำวัด หนองเงือก จึงมีโอกาสได้เห็นเครื่องจักสานและศึกษาลวดลายต่างๆ ของเครื่องจักสาน เครื่องจักสานที่ลุงเสยได้ศึกษาเรียนรู้ในทำ ...อ่านเพิ่มเติม

อาชีพ : ลูกประคบสมุนไพร

 


ลูกประคบสมุนไพร

                ลูกประคบสมุนไพร มีความสำคัญในการนวดแผนไทย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำสมุนไพรหลายชนิดมาผ่านกระบวนการ แล้วมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย เมื่อถูกความร้อนจะระเหยออกมา กลายเป็นกลิ่น เช่น ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด การบูร โดยเราสามารถนำเอาสมุนไพรเหล่านั้นมาหั่นย่อยอย่างหยาบๆ จากนั้นห่อด้วยผ้าดิบเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกลม แล้วนำไปผ่านกระบวนการความร้อนด้วยวิธีการนึ่งไอน้ำ เพื่อให้สมุนไพรละลายออกมาเป็นตัวยาซึมเข้าใต้ผิวหนังตามร่างกาย ...อ่านเพิ่มเติม


อาชีพ : ทอผ้า ”เสน่ห์ของคนทุ่งหัวช้าง"

 


อาชีพ : ทอผ้า ”เสน่ห์ของคนทุ่งหัวช้าง"

                อำเภอทุ่งหัวช้างเป็นอำเภอเล็กๆ ที่เงียบสงบห่างไกลตัวเมืองที่เหมาะสมกับบรรยากาศในการทอผ้า ชุมชนในอำเภอเล็กๆแห่งนี้เป็นที่สืบสานศิลปวัฒนธรรมในการทอผ้ามาเป็นเวลานานดังนั้นการทอผ้าจึงเปรียบเสมือนเป็นอีกหนึ่งวิถีชีวิตที่สำคัญของชาวอำเภอทุ่งหัวช้างที่ไม่ได้มีการจำกัดเชื้อชาติ ศาสนา มีทั้งชาวเมืองพื้นราบ ชาวเขาเผ่าต่างๆที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ผ้าไหมยกดอกที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศ จนได้การรับรองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาโลก
                การทอผ้า หรือ "การทอ" (อังกฤษ : weaving) ถือเป็นศิลปะและหัตถกรรมหรืองานฝีมืออย่างหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นกรรมวิธีการผลิตผืนผ้าโดยใช้เส้นด้ายพุ่งและเส้นด้ายยืนมาขัดประสานกันจนได้เป็นผืนผ้า ทั้งนี้ต้องมีเครื่องมือในการทอ เรียกว่า หูก หรือกี่ (ในภาษาไทยถิ่นอีสาน มักเรียกการทอผ้าว่า "ตำหูก") ...อ่านเพิ่มเติม




ภูมิปัญญา : สล่าไม้แกะสลัก

 


สล่าไม้แกะสลัก

ประวัติการแกะสลักไม้

    สำหรับประวัติการแกะสลักไม้ของอำเภอแม่ทา ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่แต่พอสันนิษฐานตามประวัติศาสตร์ได้ว่า การแกะสลักไม้ของอำเภอแม่ทาเริ่มมาจากตั้งแต่พุทธศักราช 2348 สมัยที่พระเจ้ากาวิละให้ชาวยองทั้งหมดมาบูรณะเมืองลำพูน แล้วชาวยองเหล่านั้นได้แยกย้ายกันไปตั้งถิ่นฐานในที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆ รวมทั้งแม่น้ำทาในเขตอำเภอแม่ทาด้วย โดยเฉพาะในปัจจุบันในเขตตำบลทาทุ่งหลวง ตำบลทากาศและตำบลทาขุมเงิน ของอำเภอแม่ทา ซึ่งเป็นแหล่ง

            ไม้แกะสลักที่ใหญ่และสำคัญและเป็นชาวยองเกือบทั้งหมด ตามประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า ชนชาวยองที่อพยพมาจากเมืองยองนั้น มีฝีมือทางด้านแกะสลักไม้และการทอผ้าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งชาวอำเภอแม่ทา โดยเฉพาะ 3 ตำบลดังกล่าว ก็มีฝีมือในการแกะสลักไม้และการทอผ้าเช่นเดียวกัน...อ่านเพิ่มเติม


ภูมิปัญญา : แม่หญิงล้านนา งดงามล้ำค่า...สู่ตุ๊กตาดินเผา

 



แม่หญิงล้านนา งดงามล้ำค่า...สู่ตุ๊กตาดินเผา

“วัฒนธรรมเก่าเลือนหายไป...วัฒนธรรมใหม่เข้ามาแทนที่” ผู้เฒ่าผู้แก่รู้สึกใจหายทุกครั้ง

            ที่ได้ยินประโยคนี้ ลูกหลานในยุคสมัยปัจจุบันต่างรับอิทธิพลของชาติตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ซึ่งหารู้ไม่ว่าวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาวล้านนากำลังจะเลือนหายไปตามกาลเวลา ตามยุคสมัยของโลกปัจจุบัน

            อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ยังมีผู้ซึ่งมีใจรักในวัฒนธรรมล้านนาและต้องการที่จะสืบสานไปยังรุ่นลูก รุ่นหลาน เพื่อให้เห็นความงดงามอันล้ำค่าอย่างตุ๊กตาปั้นดินเผาชุดผู้หญิงล้านนาในสมัยก่อน ซึ่งเกิดจากแนวคิดและความรู้สึกของผู้ที่มีใจรักและมีศิลปะในการปั้นดินเผา คือนายอดุลย์ เชื้อจิต ชาวบ้านดงหลวง ตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและความงดงามของผู้หญิงล้านนาในอดีต ทั้งด้านการแต่งกาย การนุ่งซิ่น การห่มผ้าสไบ การมวยผม และกิริยาที่อ่อนน้อมถ่อมตน ตุ๊กตาปั้นดินเผาชุดผู้หญิงล้านนาของนายอดุลย์ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว ๔ ประการ...อ่านเพิ่มเติม


แหล่งท่องเที่ยว : วัดทิพย์อัปสรอมรอินทร์ รื่นรมย์ศิลป์ถิ่นล้านนา

 


วัดทิพย์อัปสรอมรอินทร์ รื่นรมย์ศิลป์ถิ่นล้านนา

            วัดทิพย์อัปสรอมรอินทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 307 หมู่ 9 ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน มีตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งพระนางจามเทวีผู้ครองนครหริภุญชัย ได้เสด็จทางเรือตามลำน้ำปิง เพื่อมาสำรวจพื้นที่อาณาเขตการปกครอง ครั้นมาถึงบริเวณชุมชนวังสะแกง มีคุ้งน้ำวนขนาดใหญ่ น้ำไหลเชี่ยวแรง เรือโคลงเคลง ทำให้ปาน (ฆ้อง) เชือกขาดตกน้ำบริเวณคุ้งน้ำวนดังกล่าว พระองค์จึงให้ทหารและชาวบ้านที่ดำน้ำเก่งลงไปหา แต่ก็ไม่พบเพราะบริเวณดังกล่าวมีลักษณะเป็นโขดหิน ลึก พระนางจึงเชื่อในญาณว่า เป็นบริเวณพื้นที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีพญานาคดูแล จึงรับสั่งให้มีการสร้างวัดไว้...อ่านเพิ่มเติม




แหล่งเรียนรู้ : บ้านท่าหลุกชุมชนต้นแบบการจัดการขยะในชุมชนและครัวเรือน

 


บ้านท่าหลุกชุมชนต้นแบบการจัดการขยะในชุมชนและครัวเรือน

            นับตั้งแต่อดีตมาสู่ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานและนับวันยิ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปีตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ในขณะเดียวกันปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำ แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ทั้งการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย รวมทั้งการกำจัด ถึงแม้จะได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับปริมาณขยะมูลฝอยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี...อ่านเพิ่มเติม

แหล่งท่องเที่ยว : วัดพระธาตุดอยกวางคำ

 


วัดพระธาตุดอยกวางคำ

            วัดพระธาตุดอยกวางคำ ตั้งอยู่ที่ บ้านโป่งแดง-สัญชัย ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน วัดนี้ถูกสร้างโดยหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนากิจจานุรักษ์ (อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว) เมื่อประมาณ 50 กว่าปีที่แล้วในสมัยที่หลวงปู่ได้ติดตามครูบาเจ้าศรีวิชัย และครูบาเจ้าอภัยขาวปี(วัดพระพุทธบาทผาหนาม อำเภอลี้) มาบูรณะวัดพระธาตุหัวขัวอำเภอทุ่งหัวช้าง...อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรม : ประเพณีแห่ช้างเผือกและสืบชะตาแม่น้ำลี้

 


ประเพณีแห่ช้างเผือกและสืบชะตาแม่น้ำลี้

               จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมส่งผลทำให้ประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาเกือบจะหายไป คนรุ่นใหม่มักไม่เล็งเห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรม จะมีเพียงผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้นที่ยังสามารถเล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆไว้ แต่ยังคงขาดการบันทึกเก็บไว้ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บและเผยแพร่เป็นดำรงไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและสืบต่อกันไปไม่ให้วัฒนธรรมได้หายจากไป วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนร่วมอยู่ด้วยกันได้ตามความเชื่อในวัฒนธรรม วัฒนธรรมยังเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติ เนื่องจากมนุษย์จะต้องอาศัยธรรมชาติในการดำเนินชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆจะสอดแทรกให้อนุรักษ์ธรรมชาติ เช่นเดียวกับวัฒนธรรมและประเพณีในอำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง เป็นอำเภอในจังหวัดลำพูนที่มีภูมิประเทศล้อมรอบไปด้วยภูเขาเป็นอำเภอเล็กๆ ด้วยความสมบูรณ์ทางภูมิภาคและประกอบมีแม่น้ำ และห้วยน้ำต่างๆหลายสายที่ไหลผ่าน แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำไร่ทำสวนเป็นส่วนมาก วิถีชีวิตจึงมีความแตกต่างจากอำเภออื่นๆ ที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายพืชผักจะปลูกกินเองตามบ้านเรือน เลี้ยงไก่ไข่ บางบ้านจะเลี้ยงหมู เพื่อไว้ประกอบอาหาร ...อ่านเพิ่มเติม


แหล่งเรียนรู้ : สวนผัดกูดปลอดภัย แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

 


สวนผัดกูดปลอดภัย แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

            แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สวนผักกูดปลอดภัย ตั้งอยู่ที่ 233 หมู่ 1 ต.ทาสบเส้า อ.แม่ทา จ.ลำพูน โดยมี นายสุรชัย แสงบุญเรือง เป็นเจ้าของสวนผักกูด ได้กล่าวว่า เมื่อกล่าวถึง “ผักกูด” คนรุ่นใหม่น้อยคนนักที่จะคุ้นเคยและรู้จัก หรือได้รับประทานผักชนิดนี้กัน แต่ก็ยังเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ที่รักสุขภาพนิยมนำมารับประทานเพื่อให้ประโยชน์ต่อร่างกาย “ผักกูด” เป็นชื่อของผักพื้นบ้านที่อยู่ในตระกูลเฟิน ซึ่งสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ นิยมนำยอดอ่อนและใบอ่อนมาปรุงอาหาร หรือลวกจิ้มน้ำพริก โดยมีสรรพคุณแก้ไข้ ตัวร้อน พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต และความดันโลหิตสูง เป็นต้นลักษณะใบจะเป็นแผงรูปขนนกคู่ขนานกัน ใบอ่อนปลายยอดจะม้วนงอแบบก้นหอย ส่วนตรงที่เป็นสปอร์ซึ่งอยู่ด้านหลังใบที่แก่จัด จะทำให้ต้นผักกูดมีการขยายพันธุ์รวดเร็ว โดยการแตกกอใหม่ ...อ่านเพิ่มเติม




แหล่งท่องเที่ยว : อ่างเก็บน้ำแม่เมย

 


อ่างเก็บน้ำแม่เมย

            อ่างเก็บน้ำแม่เมย : เป็นอ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อเช่นกัน โดยเฉพาะนักตกปลา ซึ่งบริเวณรอบๆพื้นที่อ่างเก็บน้ำแม่เมย ก็มีความสวยงามไปด้วยทิวทัศน์ธรรมชาติจะมองเห็นทิวเขาสวยงามที่สลับทับซ้อนเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีที่พักให้กับชาวบ้านในชุมชนและบริเวณใกล้เคียงได้มาพักผ่อนกัน ริมน้ำมีศาลาที่พักให้นั่ง มีร้านจำหน่ายอาหาร สถานที่เงียบสงบ สัมผัสสายลม แสงแดด และเป็นแหล่งตกปลาตามธรรมชาติ ...อ่านเพิ่มเติม


วัฒนธรรม : วัฒนธรรมสืบสานวัฒนธรรมกะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด

 



 วัฒนธรรมสืบสานวัฒนธรรมกะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด

            ประวัติ หมู่บ้านแห่งนี้มีแม่น้ำขนาดหรือห้วยแม่คะนะไหลผ่าน จึงได้ชื่อว่า บ้านแม่ขนาดซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง(ปาเกอะญอ) มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่จะยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมีความเป็นอยู่ที่สงบเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้มีภาษาและการแต่งกายเป็นของตัวเอง ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทอผ้าไว้ใช้เองเริ่มตั้งแต่การปลูกฝ้าย ปั่นด้าย ทอผ้า และประดับลูกเดือย มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ภายในหมู่บ้านยังมีกลุ่มทอผ้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาวเขาและสิ่งทอทุกชนิดให้ได้เลือกซื้อกันอีกด้วย...อ่านเพิ่มเติม


อาชีพ : แหนมเห็ด

 



อาชีพท้องถิ่น “แหนมเห็ด”

ประวัติความเป็นมา

    แหนมเห็ดเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านปงแม่ลอบ หมู่ 1 ตำบลทาแม่ลอบ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน แต่เดิมนั้นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้มีการเพาะเห็ดเพื่อจำหน่ายเป็นประจำอยู่แล้ว แต่มีแนวความคิดที่ต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของกลุ่ม จึงนำภูมิปัญญาเกี่ยวกับการทำแหนมมาประยุกต์ใช้ในการทำแหนมเห็ดนั่นเอง... อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรม : ศรัทธา วิถีชาวพุทธปกาเกอะญอแห่ง “บ้านห้วยต้ม” ลำพูน

 



ศรัทธา วิถีชาวพุทธปกาเกอะญอแห่ง “บ้านห้วยต้ม” ลำพูน

                ปัจจุบันการเดินทางท่องเที่ยวไม่ใช่เรื่องยากเย็นอีกต่อไป เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นนักท่องเที่ยวพากันหลั่งไหลไปเที่ยวต่างจังหวัดในช่วงเทศกาลกันอย่างหนาแน่น จนทำให้เราไม่สามารถใช้เวลาซึมซับบรรยากาศในสถานที่นั้นๆได้อย่างเต็มที่ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เดินทางท่องเที่ยวเพื่อพบปะผู้คนและซึมซับ เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างออกไปจากชีวิตประจำวัน ขอให้ลางาน เก็บกระเป๋าแล้วตามเรามา จะพาคุณไปเรียนรู้วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยที่มีชื่อว่า “ปกากะญอ” ที่ชุมชนพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งขอบอกว่าที่นี่ไม่ใช่แค่สถานที่ท่องเที่ยว แต่จะเป็นที่ที่คุณได้ใช้ชีวิตแบบ “อินไซด์” กับชาวปกากะญอเชียวล่ะ...อ่านเพิ่มเติม

แหล่งท่องเที่ยว : เที่ยววัดพระพุทธบาทผาหนาม ตามรอยนักบุญ

 



เที่ยววัดพระพุทธบาทผาหนาม ตามรอยนักบุญ

พระธาตุงามตา ประเพณีล้านนา ไหว้สาครูบาขาวปี

เที่ยววัดพระพุทธบาทผาหนาม ตามรอยนักบุญ

บ้านผาหนาม  ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน

            ความเป็นมาของสถานที่ท่องเที่ยว วัดพระพุทธบาทผาหนาม  ตามรอยนักบุญ วัดพระพุทธบาทผาหนามตั้งอยู่บนถนนหมายเลข 106 ถนนลี้- ลำพูน ห่างจากตัวจังหวัดลำพูนประมาณ105 กิโลเมตร ซึ่งเป็นสถานที่ทางศาสนสถาน เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ตามคำบอกกล่าวของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า เดิมทีนั้นวัดพระพุทธบาทผาหนามยังเป็นซากปรักหักพัง แต่ยังมีรอยพระพุทธบาท ต่อมาครูบาอภิชัยขาวปีซึ่งเป็นศิษย์ยานุศิษย์ครูบาศรีวิชัยได้ร่วมกับคณะศรัทธาในพื้นที่ เป็นประชาชนบ้านผาหนามที่ได้อพยพหนีน้ำท่วมจากอำเภอฮอด และอำเภอดอยเต่าจังหวัดเชียงใหม่ มาร่วมกันบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานขึ้นใหม่จนรุ่งเรืองถึงปัจจุบัน จนเป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นสถานที่ในการทำบุญของผู้คนที่มีจิตศรัทธา รวมถึงผู้คนต่างถิ่น ซึ่งกล่าวไว้ว่าถ้ามาเยือนเมืองลี้ ต้องแวะกราบสักการะครูบาขาวปี...อ่านเพิ่มเติม


ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดลำพูน. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand