TKP HEADLINE

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านท่าป่าเปา : แหล่งเรียนรู้

 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านท่าป่าเปา




ประวัติการก่อตั้งและความเป็นมาของศูนย์ฯ

เริ่มก่อตั้งศูนย์ประมาณปี 2548 เนื่องจากชาวบ้านไม่มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยเริ่มจากกลุ่ม

           ปลูกพืชผักปลอดสารพิษเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต สำนักงานเกษตร อำเภอแม่ทา สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอแม่ทาและสถานีพัฒนาที่ดินลำพูน ให้การสนับสนุนทั้งนี้ ศูนย์ฯ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฏีใหม่โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่ ปี 2551

          ศูนย์ฯ มีความพร้อมสำหรับการจัดฝึกอบรม มีอาคารที่รองรับผู้รับการอบรมประมาณ 60 คน มีสถานที่พักแบบโฮมสเตย์ที่ได้มาตรฐาน มีหอ้งน้ำที่เพียงพอ มีฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร มีการศึกษาดูงานภายในศูนย์ที่เป็นเส้นทางดูงานป่าชุมชนห้วยทรายขาว และการเดินป่าศึกษาธรรมชาติสมุนไพร ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม





กาดนัดบ้านเวียง : แหล่งท่องเที่ยว

 กาดนัดบ้านเวียง


              ในอดีตหลายสิบปีก่อนนั้นอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ถือว่าเป็นแหล่งซื้อขายโค-กระบือที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือก็ว่าได้ โดยมีตลาดที่ซื้อขายโค-กระบือตั้งอยู่ที่หมู่บ้านบ้านเวียงอันเป็นใจกลางของอำเภอเวียงหนองล่อง จะมีพ่อค้านำโค-กระบือจากหลายพื้นที่มาแลกเปลี่ยนกันไกลสุดก็มาจากฝั่งประเทศพม่า สถานที่แห่งนี้จึงมีชื่อเรียกว่า กาดงัว หรือ ตลาดวัว เมื่อการค้าโค-กระบือเริ่มคึกคักขึ้นจึงมีพ่อค้าแม่ค้านำอาหารและสินค้าในท้องถิ่นมาขายให้กับพ่อค้าโค-กระบือ จนกาดงัวหรือตลาดวัวกลายเป็นทั้งแหล่งซื้อขายโค-กระบือและสินค้าต่าง ๆ มากมาย ปัจจุบันการซื้อขายโค-กระบือในกาดงัวแห่งนี้ได้ลดจำนวนลงเนื่องจากมีการซื้อขายกันง่ายขึ้นในแต่ละท้องที่ ประกอบกับการใช้โค-กระบือไถนาในยุคปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมกันแล้ว กาดงัวแห่งนี้จึงแปรสภาพมาเป็นตลาดนัดวันอาทิตย์มีชื่อเรียกที่หลากหลายเช่น กาดติ๊ด(ตลาดวันอาทิตย์) กาดงัว(ตลาดวัว) กาดนัดบ้านเวียง เป็นต้น และยังถือว่าเป็นตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือเพราะมีพื้นของตลาดกว้างขวางมากถึง 50 ไร่ โดยสินค้าที่พ่อค้าแม่ค้านำมาขายกันนั้นเรียกว่ามีตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เกษตรทฤฎีใหม่ : แหล่งเรียนรู้

 เกษตรทฤฎีใหม่



         จากปัญหาการทำเกษตรของไทยที่เกษตรกรขาดที่ดินทำกิน ทั้งยังต้องดิ้นรนทำในปริมาณมาก เป็นหนี้เป็นสิน ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ทำมาแต่ได้น้อยเนื่องจากปลูกเฉพาะพืชเชิงเดี่ยว ราคาขายผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภค ด้วยอัฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้พระราชทาน “ทฤษฎีใหม่” ในการจัดการพื้นที่ขนาดเล็กประมาณ 15 ไร่ เน้นการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนด้วยการจัดการไร่นาอย่างเหมาะสม มีการจัดสรรแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรแบบผสมผสานให้ใช้ได้ในหน้าแล้ง ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรเลี้ยงตัวเองได้ มีรายได้และอาหารไว้บริโภคตลอดปี เป็นการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวไทย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสว่า “…ถึงบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน…”  ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม






สถานีรถไฟศาลาแม่ทา : แหล่งท่องเที่ยว

 

สถานีรถไฟศาลาแม่ทา


        สถานีรถไฟศาลาแม่ทา เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 700.68 กิโลเมตร ตั้งอยู่ตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ซึ่งสถานที่แห่งนี้นอกจากจะเป็นสถานีรถไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในการพักผ่อน

นอกจากการเดินทางด้วยรถไฟ  ในระหว่างทางสามารถชมวิวทิวทัศน์สวยได้แบบเพลินๆ แล้ว บางเส้นทาง ยังกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และจุดถ่ายภาพสวย ให้เหล่าบรรดานักท่องเที่ยว ทั้งสายธรรมชาติ สายฮิป และสายประวัติศาสตร์ แวะเวียนไปเที่ยวชม เช่น สะพานขาวทาชมภู อุโมงค์ขุนตาน เป็นต้น ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กิ๋นลมชมดอย อ่างเก็บน้ำแม่กึม : แหล่งท่องเที่ยว

 กิ๋นลมชมดอย อ่างเก็บน้ำแม่กึม




อ่างแม่กึม เป็นอ่างเก็บน้ำในบ้านท้องฝาย หมู่ 1 ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนแห่งหนึ่ง เมื่อก่อนมีร้านค้าขายอาหาร แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ สามารถมาตกเบ็ดไแต่เปิดเป็นฤดูกาลนะคะเนื่องจากอนุรักษ์พันธ์ปลาค่ะ มีรูปปั้นเจ้าพ่อผาด่านซึ่งเป็นทหารของเจ้าแม่จามเทวี เป็นสิ่งศักดิ์ของคนในตำบลให้สักการะค่ะ ให้มีโอกาสได้มาเชิญมาสักการะนะค่ะ ซึ่งทุกปีจะมีงานสรงน้ำในวันที่ 28 เม.ย.ทุกปี  และปัจจุบันนี้เปิดให้เป็นล้านกางเต้น อ่างแม่กึมเริ่มเปิดบริการ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


การเลี้ยงโคนม : อาชีพ

 

การเลี้ยงโคนม





การเลี้ยงโคนมควรจะรู้เรื่องของโคนมซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ 
๑. พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อน เช่น พันธุ์เรดซินดี้ ซาฮิวาล เป็นต้น จะสังเกตว่าโคนมพวกนี้จะมีโหนกหลังใหญ่และทนอากาศร้อนได้ดีแต่ให้นมไม่มากนัก
๒. พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในแถบหนาวหรือเรียกว่า โคนมยุโรปมีอยู่หลายพันธุ์ สังเกตได้ง่ายคือไม่มีโหนกที่หลัง คือจะเห็นแนวสันหลังตรง มักไม่ค่อยทนต่ออากาศร้อน พันธุ์ที่สำคัญได้แก่พันธุ์ขาวดำหรือโฮลสไตน์ฟรีเซียน ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


ที่ว่าง สร้างอาหาร กศน.ตำบลศรีวิชัย : แหล่งเรียนรู้

 ที่ว่าง สร้างอาหาร กศน.ตำบลศรีวิชัย


            ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียง   กศน.ตำบลศรีวิชัย มีพื้นที่ลักษณะ เป็นดินที่มีความกระด้าง พร้อมทั้งมีหินปนอยู่กับดิน ซึ่งไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูก พืชผักต่างๆ ทางกศน.ตำบลศรีวิชัย จึงเริ่มพัฒนา ค้นคว้าหาวิธีต่างๆ เพื่อที่จะพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ กศน.ตำบลศรีวิชัย ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการต่างๆ เช่น การปรุงดิน โดยการนำดินที่มีความกระด้าง และเหนียว มาปรับสภาพให้คุณลักษณะที่เหมาะสมแก่การปลูกพืช ผักต่างๆ โดยการนำดินมาผสมกับ แกลบดิบ มูลวัว แกลบดำ ปอเทือง มาผสมรวมกันและปรุงดินทิ้งไว้เป็นเวลา 3 เดือน พร้อมทั้งรดน้ำสม่ำเสมอ จนดินที่ปรุงมีธาตุอาหาร ที่เหมาะกับการปลูกพืช ผักสวนครัวต่างๆ  ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประเพณีเปลี่ยนผ้าครูบาขาวปี : วัฒนธรรม

 ประเพณีเปลี่ยนผ้าครูบาขาวปี


            ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี เดิมชื่อ จำปี เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 7 เหนือ   ปีกัดเก้าหรือปีฉลู ตรงกับวันที่ 17 เมษายน 2443 เป็นบุตรของนายเม่า นางจันตา อายุ 16 ปี ได้บวชเป็นศิษย์ครูบาศรีวิชัย ตั้งใจเฝ้าอุปัฎฐากอาจารย์และร่ำเรียนกัมมัฎฐานและอักษรสมัยจนจบ พร้อมปฏิบัติตามที่อาจารย์พร่ำสอนจนดวงจิตสงบ พร้อมกันนั้นรับการถ่ายทอดในเชิงวิชาช่างก่อสร้างจากอาจารย์จนเกิดความชำนาญและติดตามอาจารย์ไปก่อสร้างวัดวาอารามทุกหนทุกแห่ง พระอภิชัยขาวปี เริ่มงานก่อสร้างในสถานที่ต่างๆ หลายแห่งทั้งวัด                   โรงพยาบาล โรงเรียน และสถานที่ราชการ ตั้งแต่อายุ 24-83 ปี นับรวมทั้งสิ้นได้ 96 แห่ง งานสำคัญอีกหนึ่งชิ้นที่ท่านทำ คือ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 ครูบาศรีวิชัยได้ฤกษ์ลงมือขุดจอบแรกสำหรับการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ พระอภิชัยขาวปี ก็พากะเหรี่ยง 500 คน ขึ้นไปช่วยทำถนนขึ้นดอยสุเทพจนแล้วเสร็จ ในวันที่ 30 เมษายน 2478    จนกระทั่ง ปี 2507 ได้ร่วมกับราษฎรหมู่บ้านผาหนามและศรัทธาพุทธศาสนิกชนช่วยกันสร้างวัดพระพุทธบาทผาหนามที่เดิมเป็นวัดเก่าผุพัง นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอลี้ ที่มีพระบาทเป็นรอยชัดเจนเหยียบประทับบนแผ่นหินบนดอยผาหนาม  ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรไทยบ้านหลุก : แหล่งเรียนรู้

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรไทยบ้านหลุก


วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรไทยบ้านหลุก ตั้งอยู่ที่ 28/2 หมู่ 8 ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2562 โดยมี นายไตรทศ ใจศรีธิ เป็นหัวหน้ากลุ่มฯ เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านวิชาการ การผลิต การแปรรูปทางด้านการเกษตร เน้นการผลิตอาหารที่ปลอดภัย ใส่ใจในทุกขั้นตอนของการผลิตโดยดำเนินการ  ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ...อ่านระเอียดเพิ่มเติม

















พระบฏ จิตรกรรมบนผืนผ้า : วัฒนธรรม

 

พระบฏ จิตรกรรมบนผืน


หลายคนคงเคยเห็นภาพเขียน หรือภาพวาดบนผืนผ้า ที่ปรากฎตามวัดหรือพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่เรียกว่า พระบฏ ซึ่งพระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้า และแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ในประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น  ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม




สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย : แหล่งเรียนรู้

 สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย สืบสานภูมิปัญญาผ้าทอจังหวัดลำพูน

จังหวัดลำพูนมีภูมิปัญญาด้านการทอผ้าที่สวยงาม และยังมีการสืบทอดภูมิปัญญาดังกล่าว และนำมาต่อยอดเป็นอาชีพ ทำให้ภูมิปัญญาทอผ้ายังได้รับการสืบทอดและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน

ภูมิปัญญาทอผ้าชนิดหนึ่งของจังหวัดลำพูนที่ได้รับการยอมรับ คือ การทอยกดอก ซึ่งมีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ และได้รับการยอมรับจนมีการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Thai Geographical Indication) (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2559) ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนได้สนับสนุนภูมิปัญญาดังกล่าว โดยการก่อตั้งสถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย สถานที่ก่อตั้งสถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณเจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน ธิดาของเจ้าพัฒนา ณ ลำพูน (โอรสของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย) กับคุณหญิงเจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน

อาคารสถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย ประกอบด้วย อาคารอำนวยการ อาคารศูนย์ทอผ้า อาคารพิพิธภัณฑ์ผ้าทอโบราณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน มีการขับเคลื่อนสถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย โดยมีการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การทอผ้า และจัดหาผ้าซิ้นโบราณหายากนำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ผ้าทอ ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


วัดเก่าท่าช้าง : แหล่งท่องเที่ยว

 

วัดเก่าท่าช้าง




วัดเก่าท่าช้าง หรือ วัดกุญชรติตถาราม ที่มาของวัดแห่งนี้มีประวัติอันยาวนาน ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณว่า เมื่อ ช้างปู้ก่ำงาเขียว ซึ่งเป็นช้างคู่บารมีของเจ้าแม่จามเทวี ก่อนที่จะเดินทางเข้าเมืองหริภุญชัย เดินทางผ่านเส้นทางที่บ้านหนองล่องและได้ขึ้นบนฝั่งที่ท่าน้ำบริเวณหน้าวัดแห่งนี้ จึงเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “ท่าช้าง” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นราวหนึ่งพันกว่าปีสมัยสร้างเมืองลำพูน หลังจากนั้นราวปี พ.ศ. 2400 ครูบามหายศ พร้อมคณะศรัทธาชาวบ้านบ้านท่าช้างได้ริเริ่มสร้างวัดขึ้น โดยเรียกว่า วัดท่าช้าง ราวปี พ.ศ. 2496 มีการเปลี่ยนทิศทางของสายน้ำจากแม่น้ำลี้ ซึ่งทำให้น้ำหลากมายังพื้นที่วัดท่าช้างเก่าแห่งนี้จำเป็นต้องย้ายวัดไปอยู่ฟากบ้านหนองล่อง ทำให้วัดเก่าท่าช้างถูกปล่อยร้างตั้งแต่นั้นมา 50 กว่าปีผ่านไป คณะศรัทธาชาวบ้านบ้านท่าช้างได้ริเริ่มบูรณะวัดเก่าท่าช้างขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ในปี 2550 สิ่งที่ยังคงอยู่คือ วิหาร และพระพุทธรูปเก่าแก่ ปางมารวิชัย เนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นศิลปะร่วมสมัยระหว่างล้านนาและลาว ที่ได้จำลองมาจากองค์จริง ซึ่งถูกนำไปประดิษฐานที่วัดท่าช้างใหม่ในช่วงย้ายวัดไปฟากบ้านหนองล่องตามที่กล่าวถึงตอนต้น ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ฝายวังปาน : แหล่งท่องเที่ยว

 ฝายวังปาน



"ฝายวังปาน" ตั้งอยู่สองฟากฝั่ง ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ กับ ต.หนองล่อง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน

เมื่อกลางดึกคืน 29 กันยายน 2554 เกิดฝนตกถล่มลงมาอย่างหนักบนดอยสูงต้นน้ำปิงพื้นที่ อ.เชียงดาว - อ.แม่แตง ทำให้เกิดน้ำไหลหลากจากภูเขาสู่แม่น้ำปิง เกิดล้นเอ่อท่วมบ้านเรือนราษฎรรวมถึงตัวเมืองเชียงใหม่ ต่างได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า นอกจากนี้แรงกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากไหลไปตามลำน้ำแม่ปิงเป็นน้ำมวลใหญ่ทำให้ "ฝายวังปาน-ท่าหลุก” ตั้งอยู่สองฟากฝั่ง ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ กับ ต.หนองล่อง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน สร้างด้วยคอนกรีตต้านทานกระแสน้ำไม่ไหวแตกระเนระนาด ตลิ่งสองฟากพังไปกับสายน้ำไม่มีเหลือ ทำให้ราษฎรผู้ใช้น้ำจากฝายวังปาน-ท่าหลุกได้รับความเดือดร้อนไม่มีน้ำใช้ด้านการเกษตรกรรม ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม









วัดบ้านปาง : แหล่งท่องเที่ยว

 

วัดบ้านปาง





ประวัติ

วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นวัดที่ครูบาศรีวิชัยบวชเรียนเป็นวัดแรกและยังเป็นสถานที่ดับขันธ์มรณภาพอีกด้วย ในบริเวณวัดมีความร่มรื่น เมื่ออยู่ด้านบนก็จะมองเห็นวิวทิวทัศน์ เพราะวัดตั้งอยู่บนเนินเขา มีโบราณสถานอันเก่าแก่ เมื่อครั้งสมัยที่ครูบาศรีวิชัยยังมีชีวิตอยู่ก็คือพระวิหารหลวง ที่สร้างขึ้นตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมล้านนา ลักษณะอ่อนช้อยสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีโบสถ์วิหารที่สวยงามรวมไปถึงมีพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารครูบาศรีวิชัยซึ่งเก็บของใช้ส่วนตัวของท่านไว้อย่างครบถ้วน ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
















วัดสันเจดีย์ริมปิง : แหล่งท่องเที่ยว

 

วัดสันเจดีย์ริมปิง



วัดสันเจดีย์ริมปิง

ตั้งอยู่เลขที่ 263 บ้านหนองปลาสะวาย หมู่ที่ 2 ตำบลหนองปลา สะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินวัดมีเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง มีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 5 ตารางวา

วัดสันเจดีย์ริมปิง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2470 ตามประวัติการสร้างวัด ที่ดินที่ใช้ในการสร้างวัดเดิมเป็นวัดร้างมีเจดีย์เก่าอยู่ 1 องค์ตั้งอยู่บนสันเขา ในปี พ.ศ. 2468 พระครูเฮือน สิริวิชโย จากวัดศรีเตี้ยได้มาทำการบูรณะปฏิสังขรวัดขึ้นใหม่ ตั้งชื่อว่าวัดสันเจดีย์ แต่เนื่องจากวัดตั้งอยู่บนเนินเขา เวลาหน้าฝนทำให้น้ำเซาะดินพัง จำได้ทำการย้ายวัดมาจากที่เดิม 100 เมตร สถานที่นี้มีเจดีย์เก่าแก่อีกหนึ่งองค์ และมีซุ้มประตูซึ่งได้อนุรักษ์ไว้ และได้ตั้งชื่อวัดว่าวัดสันเจดีย์ริมปิง ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม





เขตห้ามล่าสัตว์ป่า : แหล่งท่องเที่ยว

 

เขตห้ามล่าสัตว์ป่า  ป่าบ้านโฮ่ง



เขตห้ามล่าสัตว์ป่า (Non-hunting Area) เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย แต่เดิม (พ.ร.บ.สงวนฯ พ.ศ. 2503) นั้นมุ่งเน้นที่การคุ้มครองเฉพาะสัตว์ป่าบางชนิด แต่ในปัจจุบัน (พ.ร.บ.สงวนฯ พ.ศ. 2562) มุ่งคุ้มครองทั้งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าควบคู่กันไปซึ่งบริบทโดยรวมอาจดูคล้ายคลึงกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (Wildlife sanctuary) แต่มีข้อแตกต่างสำคัญคือ 1) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าโดยทั่วไปจะมีพื้นที่ขนาดเล็กกว่า และ 2) มักมีการอนุญาตให้หน่วยงานราชการหรือประชาชนเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าได้ ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม




งานประชุมเพลิงร่าง "ครูบาเจ้าพรรณ" เกจิดังแห่งภาคเหนือ : วัฒนธรรม

 งานประชุมเพลิงร่าง "ครูบาเจ้าพรรณ" เกจิดังแห่งภาคเหนือ



งานประชุมเพลิงร่าง "ครูบาเจ้าพรรณ" เกจิดังแห่งภาคเหนือ หลังมรณภาพเกือบ 2 ปี ไม่เน่า ไม่เปื่อย เหมือนคนกำลังนอนหลับ....


โดยพิธีดังกล่าว เริ่มคณะสงฆ์สวดเจริญพุทธมนต์ ก่อนที่พระสงฆ์จะช่วยกันเปลี่ยนจีวรของครูบาเจ้าพรรณ ซึ่งมีสภาพร่างกายไม่เน่าเปื่อย ผิวเนื้อ เอ็น กระดูก ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ คล้ายคนกำลังนอนหลับ จากนั้นพระสงฆ์หลายรูปช่วยกันบรรจุร่างครูบาเจ้าพรรณลงโลงแก้ว เสร็จแล้วศิษยานุศิษย์ต่างช่วยกันแห่ร่างรอบพระอุโบสถ และศาลาพระพุทธบาทภายในวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ทั้งสิ้น 3 รอบ โดยมีพระสงฆ์ สามเณร จำนวนกว่า 300 รูป นำหน้าขบวนแห่ พร้อมกับชาวปกาเกอะญอต่อแถวยาวนับกิโลเมตร...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดลำพูน. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand