TKP HEADLINE

เตียนปูจาบ้านหนองสะลีก

 

ประวัติความเป็นมา
เทียนบูชา หรือ เตียนปูจา ถือเป็นประเพณี และคติความเชื่อของคนล้านนา   ที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเชื่อกันว่า การบูชาเทียนเช่นนี้ จะทำให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นกับชีวิตของตนเอง
...อ่านเพิ่มเติม

เส้นขนมจีนข้าวหมักบ้านหนองดู่

 
ความเป็นมาของภูมิปัญญา
ชื่อเรียกขนมจีน ภาคเหนือ เรียกว่า ขนมเส้น, ภาคอีสาน เรียกว่า ข้าวปุ้น, ภาคกลางและภาคใต้ เรียกว่า ขนมจีน ขนมจีนเป็นอาหารของคนมอญหรือรามัญ คนมอญเรียกขนมจีนว่า “คนอมจิน” คนอม หมายความว่าจับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน   ...อ่านเพิ่มเติม

ถั่วเน่าแข็บบ้านป่าตาล

 

ถั่วเน่าเป็นอาหารพื้นเมืองที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาหลายรุ่น เป็นอาหารพื้นบ้านอยู่คู่กับคนล้านนามาเป็นเวลานาน เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่   ...อ่านเพิ่มเติม


แหล่งทอผ้าบ้านหนองเงือก

 

ผ้าฝ้ายทอมือคุณภาพจากแหล่งผลิตโดยตรงที่ไม่เพียงเป็นแหล่งทอผ้าฝ้ายที่สำคัญของลำพูนเท่านั้น หากยังเป็นแหล่งผลิตชิ้นงานส่งจำหน่ายในเมืองท่องเที่ยวในภาคเหนืออย่างเชียงใหม่อีกด้วย ที่นี่เต็มไปด้วยผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ   ...อ่านเพิ่มเติม


วัดหนองเงือก

 
แหล่งเรียนรู้ : วัดหนองเงือก
ประวัติความเป็นมา : วัดหนองเงือก เป็นวัดสำคัญเก่าแก่วัดหนึ่ง มีประวัติความเป็นมายาวนาน ที่วัดแห่งนี้ยังมีโบราณสถาน โบราณวัตถุอันทรงคุณค่ามหาศาล นอกจากนั้นวัดหนองเงือก   ...อ่านเพิ่มเติม


ชุดผ้าสำลีบ้านท่าต้นงิ้ว



กระบวนการผลิต
1. ออกแบบผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มีหลายขนาด หลากหลายแบบ
2. สร้างแบบ (แพทเทิร์น) ตามผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกแบบ
3. นำผ้าที่ต้องการตัดมาปูบนโต๊ะสำหรับตัดผ้า พับผ้ากลับไปกลับมาตามความต้องการ ดึงผ้าให้ตึง
4. นำแพทเทิร์นที่เตรียมไว้มาเป็นแบบในการตัดผ้า วาดแบบลงไปบนผ้า
5. ตัดผ้าตามแบบ โดยใช้เครื่องตัดผ้า
6. นำผ้าที่ผ่านการตัดเรียบร้อยแล้วนำมาเย็บตามแบบ
7. นำผ้าที่เย็บสำเร็จแล้วพับเป็นชุดๆ และแพ็คลงถุง เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป

ประเพณีแข่งเรือยาว

 
 

ประเพณีการแข่งเรือยาวในตำบลปากบ่องจะเริ่มแข่งขันกันหลังเทศการออกพรรษาของทุกๆปี และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการโดย นายอำเภอป่าซาง จุดแข่งเรือยาวตั้งอยู่ ณ ท่าน้ำแม่ปิง หมู่ที่ 5 ตำบลปากบ่อง โดยมีผู้เข้าแข่งขันอย่างล้นหลาม รวมถึงตำบลและจังหวัดใกล้งเคียงที่ส่งฝีพายของตำบล หมู่บ้านและจังหวัดเข้าร่วม   ...อ่านเพิ่มเติม

ภูมิปัญญาชาวบ้านเรื่องการสานใบมะพร้าวและไม้ไผ่


นายชัยพร  วรรณเรือน อยู่บ้านเลขที่ 402/1 หมู่ที่ 5 ตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
เป็นปราษญ์หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน ประเภท ศิลปะด้านการสาน เช่น.สานปลาตะเพียนด้วยใบมะพร้าว สานกุ้ง สานกบและมีความสามารถในการใช้ไม้ไผ่มาสานเป็นผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่  ...อ่านเพิ่มเติม


วัดอินทขิล/ประเพณีใส่ขันดอก



ประวัติวัดอินทขีล สร้างเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๓๗  โดยปฐมมูลศรัทธา พระเป็นเจ้าธัมมลังก๋ามหาอุปราชหอหน้า (บุญมา) ผู้ที่มีจิตศรัทธาอันแรงกล้า เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้สร้างวัดอินทขิลถวายไว้ในบวรพุทธศาสนา เป็นปูชนียสถาน เป็นที่ทำบุญทำทาน รักษาศีล เป็นที่กราบไหว้เคารพสักการะบูชา แก่สมณะพราหมณ์ เทวดา และสาธุชนทั้งหลายทั่วไป วัดอินทขีล ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕๘ บ้านป่าซาง ถนนสายลำพูน-ลี้ หมู่ที่ ๑ ตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๒๓ ตารางวา ...อ่านเพิ่มเติม


ผ้าบาติก



ประวัติความเป็นมา
          ร้านอารีบาติกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยคุณนิรันดร์ เตอะสกุล หรือคุณกล้วย ซึ่งเป็นคนที่มีใจรักในงานด้านศิลปะทุกแขนง เช่นการฟ้อนรำการแต่งกายพื้นเมือง การประดิดประดอยโดย เฉพาะในเรื่องของการแต่งกายด้วยผ้าไทย และมีการศึกษารูปแบบของชุดพื้นเมืองของชาวยองในสมัยโบราณอย่างลึกซึ่ง จนเป็นที่แพร่หลายในจังหวัดลำพูน และได้รับฉายา “พญายอง” คุณนิรันดร์ เริ่มทำผ้าบาติกเป็นครั้งแรกและมีการถ่ายทอดความรู้สู่เครือญาติจนเกิดเป็นธุรกิจของครอบครัวสร้าง  ...อ่านเพิ่มเติม

วัดป่าซางงาม



ประวัติวัดป่าซางงาม สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ตามประวัติวัดแจ้งว่าสร้างประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๐ เดิมเป็นวัดร้างมาก่อน ต่อมาครูบานันทา ธุดงค์มาจากเมืองยองหรือสิบสองปันนา เป็นผู้ทำการบูรณะก่อสร้างขึ้น การบริการและการปกครอง นอกจากนี้ได้จัดตั้งห้องสมุดขึ้นในวัดป่าซาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓  ...อ่านเพิ่มเติม

พระธาตุสองพี่น้อง


พระธาตุสองพี่น้อง
เป็นพระธาตุสององค์ ตั้งอยู่ ในเขตบริเวณของวัดเชตวันหนองหมู บ้านเชตวัน หมู่ที่ 7 ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน สาเหตุที่ได้สร้าง พระธาตุสององค์ เนื่องจากวัดเชตวันหนองหมูมีศรัทธาผู้อุปถัมภ์ด้วยกันอยู่ 2 หมู่บ้านคือ หมู่บ้านเชตวันหนองหมู หมู่ที่ 7 และ บ้านไร่ หมู่ที่ 8 เหตุนี้เองจึงได้มีการสร้างองค์พระธาตุสององค์อยู่คู่กันเพื่อให้คนในหมู่บ้านทั้งสองหมู่บ้านสามัคคี ปรองดองกัน และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข    ...อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์อุโมงค์ลดโลกร้อน สถานที่ให้ความรู้



ศูนย์ลดโลกร้อนประกอบด้วยสองอาคาร อาคารแปดเหล่ยม หรือเฮือนแปดเหลี่ยนมและอาคารปูนอีกหลังติดกัน โดย วิโรจน์ นิไทรโยค ผู้อำนวยการกองศึกษา เล่าความเป็นมาของศูนย์นี้ว่า ในปี 2548 เทศบาลตำบลอุโมงค์ได้ร่วมกับโรงเรียนอุโมงค์วิทยาคมจัดทำ “โครงการลดเมืองร้อนด้วยมือเรา” เพื่อส่งให้สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยพิจารณาและได้รับการคัดเลือก  ...อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์วัฒนธรรมเทศบาลตำบลอุโมงค์


 เทศบาลตำบลอุโมงค์ ได้จำลองอาคาร “ห้างเจ้า” มาก่อสร้างเป็นศูนย์วัฒนธรรมเทศบาลตำบลอุโมงค์ บริเวณปิงห่างหน้าวัดกอม่วง เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมเครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำมาหากินของชาวบ้านสมัยก่อน รวมทั้งได้พัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะ  สถานที่ท่องเที่ยว  สำหรับพักผ่อนหย่อนใจแก่ชุมชน อาคารพิพิธภัณฑ์ได้จำลองอาคาร "ห้างเจ้า" อาคารทรงแปดเหลี่ยมที่สร้างขึ้นโดยเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ ผู้ครองหริภุญไชยองค์สุดท้าย มาเป็นต้นแบบในการก่อสร้าง ...อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลอุโมงค์



ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลอุโมงค์ เกิดขึ้นจากนโยบายที่ปรารถนาจะพัฒนาพื้นที่ให้มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืน (อุโมงค์เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน) ซึ่งความยั่งยืน จะเน้นการพัฒนาที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาโดยอาศัยและพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกื้อกูลต่อกันและทำให้เกิดความสมดุล   ...อ่านเพิ่มเติม

การทำข้าวแต๋นลำไย



ความเป็นมา การทำข้าวแต๋นลำไย

การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของ
ประเทศให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ ๒๕๕๕ ภายใต้กรอบเวลา ๒ ปี ที่จะพัฒนา ๕ ศักยภาพของพื้นที่ใน ๕ กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ใน ๕ ภูมิภาคหลักของโลก “รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก” ตลอดจนกำหนดภารกิจที่จะยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่ม ศักยภาพและขีดความสามารถให้ประชาชน ...อ่านเพิ่มเติม

ดอยขะม้อ


ประเพณีขึ้นดอยขะม้อ
ก่อนจะมีงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นประจำทุกปีของจังหวัดลำพูน3 วัน หรือในวันขึ้น 15 ค่ำของทุกปี จะมีประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของจังหวัดลำพูน คือประเพณีขึ้นดอยขะม้อ ซึ่งเชื่อกันว่าการขึ้นไปนมัสการบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์และได้นำน้ำศักดิ์สิทธิ์มาดื่มกินจะทำให้เกิดสิริมงคลในชีวิตและรักษาโรคต่างๆให้บรรเทาลงได้ ทุกปีจึงมีประชาชนทั้งในจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมประเพณีดังกล่าวเป็นจำนวนมาก   ...อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรม : การเลี้ยงผีขุนน้ำ



การเลี้ยงผีขุนน้ำ

                ตำบลมะเขือแจ้ สืบสานประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ ณ บริเวณหอชัยห้วยขุนน้ำต้นน้ำแม่ตีบ หมู่ที่ 10 บ้านหนองหอย ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยมีกิจกรรมประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ การบวชป่า และการสร้างฝายชะลอน้ำ สำหรับประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ เป็นประเพณีตามความเชื่อในวัฒนธรรมล้านนา  ...อ่านเพิ่มเติม 

ยาสมุนไพร ป.ล.ย.






 ในยุคปัจจุบันคือยุคของคุณบุญทวี กันทาแจ่ม ซึ่งเป็นลูกของคุณพ่อเอกสีลา กันทาแจ่มในยุคนี้การดำเนินกิจการได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหลายอย่าง และนับได้ว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญยิ่งเพื่อให้ปรับเข้าตามยุคตามสมัย ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ตามที่กฎหมายกำหนด และเพื่อสร้างศรัทธา ความน่าเชื่อถือและเกิดการยอมให้เหมือนกับรุ่นเก่าๆ ที่ผ่ามา  ...อ่านเพิ่มเติม

ผลิตภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์จากไม้


ผลิตภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์จากไม้
ประวัติความเป็นมา บ้านมะเขือแจ้ หมู่ที่ 1 ตำบลมะเขือแจ้ เป็นหมู่บ้านชาวยองที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้ๆดอยขะม้อ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีน้ำทิพย์อันศักดิ์สิทธิ์อยู่บนดอย น้ำทิพย์นี้จะไม่มีวันเหือดแห้งถึงแม้ว่าจะเป็นฤดูไหนก็ตาม ...อ่านเพิ่มเติม

กลุ่มตีมีดสันนาฮี้




กลุ่มตีเหล็ก ตำบลหนองหนาม โดย นายเมฆ ยะบึง
ที่อยู่ หมู่ 4 ตำบลหนองหนาม อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการตีมีดและการตีเหล็กเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานด้านการตีมีดและการตีเหล็ก

สวนพุทธธรรม ตำบลหนองหนาม



สวนพุทธธรรม ตำบลหนองหนาม อำเภอเมือง จังวัดลำพูนแหล่งเรียนรู้..116 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองหนาม อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จากจุดเริ่มต้นของโครงการวิจัยฯและการจัดเวทีแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องของสถาบันวิจัยหริภุญชัย ...อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลหนองหนาม



ประวัติความเป็นมา ที่ทำการ อบต.หนองหนามหลังเก่า ตั้งอยู่บ้านกอลุง หมู่ 3 ตำบลหนองหนาม อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีลักษณะพื้นที่เป็นป่ารกทึบ มีอาคารร้าง และบ่อน้ำเก่า เป็นสถานที่ไม่ได้ทำประโยชน์ให้แกชุมชน ...อ่านเพิ่มเติม

กลุ่มจักสานบ้านกอข่อยลำพูน



กลุ่มจักสานบ้านกอข่อยลำพูน เดิมชาวบ้านในท้องถิ่นทำนา และทำสวนเป็นส่วนมาก เมื่อหมดฤดูทำนาชาวบ้านจึงทำหมากใบลาน ...อ่านเพิ่มเติม

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดลำพูน. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand