TKP HEADLINE

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านท่าป่าเปา : แหล่งเรียนรู้

 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านท่าป่าเปา




ประวัติการก่อตั้งและความเป็นมาของศูนย์ฯ

เริ่มก่อตั้งศูนย์ประมาณปี 2548 เนื่องจากชาวบ้านไม่มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยเริ่มจากกลุ่ม

           ปลูกพืชผักปลอดสารพิษเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต สำนักงานเกษตร อำเภอแม่ทา สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอแม่ทาและสถานีพัฒนาที่ดินลำพูน ให้การสนับสนุนทั้งนี้ ศูนย์ฯ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฏีใหม่โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่ ปี 2551

          ศูนย์ฯ มีความพร้อมสำหรับการจัดฝึกอบรม มีอาคารที่รองรับผู้รับการอบรมประมาณ 60 คน มีสถานที่พักแบบโฮมสเตย์ที่ได้มาตรฐาน มีหอ้งน้ำที่เพียงพอ มีฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร มีการศึกษาดูงานภายในศูนย์ที่เป็นเส้นทางดูงานป่าชุมชนห้วยทรายขาว และการเดินป่าศึกษาธรรมชาติสมุนไพร ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม





กาดนัดบ้านเวียง : แหล่งท่องเที่ยว

 กาดนัดบ้านเวียง


              ในอดีตหลายสิบปีก่อนนั้นอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ถือว่าเป็นแหล่งซื้อขายโค-กระบือที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือก็ว่าได้ โดยมีตลาดที่ซื้อขายโค-กระบือตั้งอยู่ที่หมู่บ้านบ้านเวียงอันเป็นใจกลางของอำเภอเวียงหนองล่อง จะมีพ่อค้านำโค-กระบือจากหลายพื้นที่มาแลกเปลี่ยนกันไกลสุดก็มาจากฝั่งประเทศพม่า สถานที่แห่งนี้จึงมีชื่อเรียกว่า กาดงัว หรือ ตลาดวัว เมื่อการค้าโค-กระบือเริ่มคึกคักขึ้นจึงมีพ่อค้าแม่ค้านำอาหารและสินค้าในท้องถิ่นมาขายให้กับพ่อค้าโค-กระบือ จนกาดงัวหรือตลาดวัวกลายเป็นทั้งแหล่งซื้อขายโค-กระบือและสินค้าต่าง ๆ มากมาย ปัจจุบันการซื้อขายโค-กระบือในกาดงัวแห่งนี้ได้ลดจำนวนลงเนื่องจากมีการซื้อขายกันง่ายขึ้นในแต่ละท้องที่ ประกอบกับการใช้โค-กระบือไถนาในยุคปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมกันแล้ว กาดงัวแห่งนี้จึงแปรสภาพมาเป็นตลาดนัดวันอาทิตย์มีชื่อเรียกที่หลากหลายเช่น กาดติ๊ด(ตลาดวันอาทิตย์) กาดงัว(ตลาดวัว) กาดนัดบ้านเวียง เป็นต้น และยังถือว่าเป็นตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือเพราะมีพื้นของตลาดกว้างขวางมากถึง 50 ไร่ โดยสินค้าที่พ่อค้าแม่ค้านำมาขายกันนั้นเรียกว่ามีตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เกษตรทฤฎีใหม่ : แหล่งเรียนรู้

 เกษตรทฤฎีใหม่



         จากปัญหาการทำเกษตรของไทยที่เกษตรกรขาดที่ดินทำกิน ทั้งยังต้องดิ้นรนทำในปริมาณมาก เป็นหนี้เป็นสิน ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ทำมาแต่ได้น้อยเนื่องจากปลูกเฉพาะพืชเชิงเดี่ยว ราคาขายผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภค ด้วยอัฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้พระราชทาน “ทฤษฎีใหม่” ในการจัดการพื้นที่ขนาดเล็กประมาณ 15 ไร่ เน้นการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนด้วยการจัดการไร่นาอย่างเหมาะสม มีการจัดสรรแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรแบบผสมผสานให้ใช้ได้ในหน้าแล้ง ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรเลี้ยงตัวเองได้ มีรายได้และอาหารไว้บริโภคตลอดปี เป็นการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวไทย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสว่า “…ถึงบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน…”  ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม






สถานีรถไฟศาลาแม่ทา : แหล่งท่องเที่ยว

 

สถานีรถไฟศาลาแม่ทา


        สถานีรถไฟศาลาแม่ทา เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 700.68 กิโลเมตร ตั้งอยู่ตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ซึ่งสถานที่แห่งนี้นอกจากจะเป็นสถานีรถไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในการพักผ่อน

นอกจากการเดินทางด้วยรถไฟ  ในระหว่างทางสามารถชมวิวทิวทัศน์สวยได้แบบเพลินๆ แล้ว บางเส้นทาง ยังกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และจุดถ่ายภาพสวย ให้เหล่าบรรดานักท่องเที่ยว ทั้งสายธรรมชาติ สายฮิป และสายประวัติศาสตร์ แวะเวียนไปเที่ยวชม เช่น สะพานขาวทาชมภู อุโมงค์ขุนตาน เป็นต้น ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

อุทยานอารามสงฆ์บ้านป่าเลาไพรวิเวกธรรม : แหล่งเรียนรู้

 

อุทยานอารามสงฆ์บ้านป่าเลาไพรวิเวกธรรม



ประวัติความเป็น อารามสงฆ์บ้านป่าเลาไพรวิเวก ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
อาราสงฆ์ ป่าเลาไพรวิเวกธรรม ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2557 ได้นิมนต์พระอาจารย์ จิรายุ นิราชชโย มาก่อตั้งโดยมีครูบา อาจารย์ คณะธรรมยุทธ์ ช่วยกันนำผ้าป่ามาถวาย จนแล้วเสร็จ ตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน วัดแห่งนี้เป็นอารามสงฆ์ ที่มีพระมาสับเปลี่ยนกันอยู่และมีปูชนียสถานที่ประกอบไปด้วย พระบรมธาตุ พุทธเมตานาคาธิบดีศรีหริภุญชัย พระพุทธเจ้ามหาจักรพรรดิ์ พระสีวลีเถระ พระพุทธชินราช และมีภาพวิว ทิวทัศน์ที่สวยงาม ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

กิ๋นลมชมดอย อ่างเก็บน้ำแม่กึม : แหล่งท่องเที่ยว

 กิ๋นลมชมดอย อ่างเก็บน้ำแม่กึม




อ่างแม่กึม เป็นอ่างเก็บน้ำในบ้านท้องฝาย หมู่ 1 ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนแห่งหนึ่ง เมื่อก่อนมีร้านค้าขายอาหาร แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ สามารถมาตกเบ็ดไแต่เปิดเป็นฤดูกาลนะคะเนื่องจากอนุรักษ์พันธ์ปลาค่ะ มีรูปปั้นเจ้าพ่อผาด่านซึ่งเป็นทหารของเจ้าแม่จามเทวี เป็นสิ่งศักดิ์ของคนในตำบลให้สักการะค่ะ ให้มีโอกาสได้มาเชิญมาสักการะนะค่ะ ซึ่งทุกปีจะมีงานสรงน้ำในวันที่ 28 เม.ย.ทุกปี  และปัจจุบันนี้เปิดให้เป็นล้านกางเต้น อ่างแม่กึมเริ่มเปิดบริการ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


การเลี้ยงโคนม : อาชีพ

 

การเลี้ยงโคนม





การเลี้ยงโคนมควรจะรู้เรื่องของโคนมซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ 
๑. พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อน เช่น พันธุ์เรดซินดี้ ซาฮิวาล เป็นต้น จะสังเกตว่าโคนมพวกนี้จะมีโหนกหลังใหญ่และทนอากาศร้อนได้ดีแต่ให้นมไม่มากนัก
๒. พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในแถบหนาวหรือเรียกว่า โคนมยุโรปมีอยู่หลายพันธุ์ สังเกตได้ง่ายคือไม่มีโหนกที่หลัง คือจะเห็นแนวสันหลังตรง มักไม่ค่อยทนต่ออากาศร้อน พันธุ์ที่สำคัญได้แก่พันธุ์ขาวดำหรือโฮลสไตน์ฟรีเซียน ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


ที่ว่าง สร้างอาหาร กศน.ตำบลศรีวิชัย : แหล่งเรียนรู้

 ที่ว่าง สร้างอาหาร กศน.ตำบลศรีวิชัย


            ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียง   กศน.ตำบลศรีวิชัย มีพื้นที่ลักษณะ เป็นดินที่มีความกระด้าง พร้อมทั้งมีหินปนอยู่กับดิน ซึ่งไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูก พืชผักต่างๆ ทางกศน.ตำบลศรีวิชัย จึงเริ่มพัฒนา ค้นคว้าหาวิธีต่างๆ เพื่อที่จะพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ กศน.ตำบลศรีวิชัย ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการต่างๆ เช่น การปรุงดิน โดยการนำดินที่มีความกระด้าง และเหนียว มาปรับสภาพให้คุณลักษณะที่เหมาะสมแก่การปลูกพืช ผักต่างๆ โดยการนำดินมาผสมกับ แกลบดิบ มูลวัว แกลบดำ ปอเทือง มาผสมรวมกันและปรุงดินทิ้งไว้เป็นเวลา 3 เดือน พร้อมทั้งรดน้ำสม่ำเสมอ จนดินที่ปรุงมีธาตุอาหาร ที่เหมาะกับการปลูกพืช ผักสวนครัวต่างๆ  ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรไทยบ้านหลุก : แหล่งเรียนรู้

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรไทยบ้านหลุก


วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรไทยบ้านหลุก ตั้งอยู่ที่ 28/2 หมู่ 8 ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2562 โดยมี นายไตรทศ ใจศรีธิ เป็นหัวหน้ากลุ่มฯ เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านวิชาการ การผลิต การแปรรูปทางด้านการเกษตร เน้นการผลิตอาหารที่ปลอดภัย ใส่ใจในทุกขั้นตอนของการผลิตโดยดำเนินการ  ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ...อ่านระเอียดเพิ่มเติม

















พระบฏ จิตรกรรมบนผืนผ้า : วัฒนธรรม

 

พระบฏ จิตรกรรมบนผืน


หลายคนคงเคยเห็นภาพเขียน หรือภาพวาดบนผืนผ้า ที่ปรากฎตามวัดหรือพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่เรียกว่า พระบฏ ซึ่งพระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้า และแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ในประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น  ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม




สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย สืบสานภูมิปัญญาผ้าทอจังหวัดลำพูน : แหล่งเรียนรู้

 สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย สืบสานภูมิปัญญาผ้าทอจังหวัดลำพูน

    จังหวัดลำพูนมีภูมิปัญญาด้านการทอผ้าที่สวยงาม และยังมีการสืบทอดภูมิปัญญาดังกล่าว และนำมาต่อยอดเป็นอาชีพ ทำให้ภูมิปัญญาทอผ้ายังได้รับการสืบทอดและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน
    ภูมิปัญญาทอผ้าชนิดหนึ่งของจังหวัดลำพูนที่ได้รับการยอมรับ คือ การทอยกดอก ซึ่งมีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ และได้รับการยอมรับจนมีการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Thai Geographical Indication) (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2559) ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนได้สนับสนุนภูมิปัญญาดังกล่าว โดยการก่อตั้งสถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย สถานที่ก่อตั้งสถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณเจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน ธิดาของเจ้าพัฒนา ณ ลำพูน (โอรสของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย) กับคุณหญิงเจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน
อาคารสถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย ประกอบด้วย อาคารอำนวยการ อาคารศูนย์ทอผ้า อาคารพิพิธภัณฑ์ผ้าทอโบราณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน มีการขับเคลื่อนสถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย โดยมีการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การทอผ้า และจัดหาผ้าซิ้นโบราณหายากนำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ผ้าทอ ...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดลำพูน. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand