TKP HEADLINE

วัดอินทขิล/ประเพณีใส่ขันดอก : ศิลปวัฒนธรรม

วัดอินทขิล/ประเพณีใส่ขันดอก


ประวัติวัดอินทขีล สร้างเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๓๗ โดยปฐมมูลศรัทธา พระเป็นเจ้าธัมมลังก๋ามหาอุปราชหอหน้า (บุญมา) ผู้ที่มีจิตศรัทธาอันแรงกล้า เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้สร้างวัดอินทขิลถวายไว้ในบวรพุทธศาสนา เป็นปูชนียสถาน เป็นที่ทำบุญทำทาน รักษาศีล เป็นที่กราบไหว้เคารพสักการะบูชา แก่สมณะพราหมณ์ เทวดา และสาธุชนทั้งหลายทั่วไป วัดอินทขีล ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕๘ บ้านป่าซาง ถนนสายลำพูน-ลี้ หมู่ที่ ๑ ตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๒๓ ตารางวา มีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุ มีพระเจดีย์ ทรงคล้ายสุวรรณจังโกฏิเจดีย์ หรือปทุมวดีเจดีย์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ และเสาอินทขีล เป็นหลักเมืองเก่าแก่ของเวียงป่าซาง เสาหลักเมืองกลางใจเมืองป่าซาง ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดอินทขิล เมื่อสร้างวัดเรียบร้อยแล้ว ให้นามชื่อวัดว่า วัดอินทขิล ตามเสาหลักเมืองเวียงป่าซาง วัดอินทขิลแปลได้ความว่า เขื่อนเมือง , หลักเมือง หรือ เสาที่พระอินทร์ประทานให้ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ วัดอินทขิลตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

เสาอินทขิล ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารเปลือยไม้สักทรงล้านนาประดับด้วยไม้แกะสลักปิดทองคำเปลว และได้สร้างอนุสาวรีย์เป็นปูชนียบุคคลไว้สองพระรูปคือ

1 พระรูปของสมเด็จพระนราธบดีพระเจ้ากาวีละ พระองค์ได้สร้างเวียงเวฬุคามป่าซาง

2 พระรูปของพระเป็นเจ้าธัมมลังก๋ามหาอุปราชหอหน้า (บุญมา) พระองค์ได้สร้างวัดอินทขิล

ประเพณีที่สำคัญ คือประเพณีใส่ขันดอกไม้บูชาเสาอินทขิล เสาหลักเมืองป่าซางเป็นประเพณีท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา ตามตำนานกล่าวว่า เสาอินทขิลเดิมเป็นไม้ราชพฤกษ์และได้เปลี่ยนเป็นเสาปูนปั้นในสมัยพระเจ้ากาวิละ ราวปี พ.ศ.๒๓๒๕ ประดิษฐานไว้ ณ วัดอินทขิลกลางเวียงเวฬุคามป่าซาง โดยเชื่อว่า เสาอินทขิลเป็นที่รวมดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่สร้างเมืองเวฬุคามป่าซาง ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพชนและนำมาซึ่งความมั่นคง มั่งคั่ง ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์และความเป็นสิริมงคลแก่ชาวเมืองป่าซาง จึงจัดให้มีพิธีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิลขึ้นต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน โดยกำหนดจัดขึ้นในวันขึ้นค่ำ เ...อ่านเพิ่มเติม


Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดลำพูน. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand