TKP HEADLINE

"น้ำถุ้ง...ขี้งัว" วิถีธรรมชาติ ผสานวิถีชีวิต ก่อเกิดวิถีภูมิปัญญาไตลื้อ : ภููมิปัญญาท้องถิ่น

 

"น้ำถุ้ง...ขี้งัว" วิถีธรรมชาติ ผสานวิถีชีวิต ก่อเกิดวิถีภูมิปัญญาไตลื้อ




"น้ำถุ้ง...ขี้งัว"
วิถีธรรมชาติ ผสานวิถีชีวิต ก่อเกิดวิถีภูมิปัญญาไตลื้อ

              ในอดีตสมัยที่ชาวบ้านยังไม่รู้จักน้ำประปา ได้อาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติ และบ่อน้ำในการหล่อเลี้ยงชีวิต ใช้ในการอุปโภค บริโภค ซึ่งการตักน้ำจากบ่อน้ำที่ลึกเป็นไปด้วยความยากลำบาก ชาวบ้านในอดีตจึงต้องสรรหาวิธีในการตักน้ำจากบ่อน้ำให้ได้มากที่สุด และประหยัดแรงมากที่สุดเช่นกัน ซึ่งอุปกรณ์ในสมัยนั้นก็ยังมีไม่มากเท่าในปัจจุบัน ชาวบ้านจึงต้องประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับตักน้ำขึ้นมาใช้งาน โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติรอบตัวมารังสรรค์เป็นนวัตกรรมเพื่อการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
      
            กลุ่มชนไตลื้อ หรือ ไทลื้อ บ้านธิ เป็นอีกชนหนึ่งที่มีร่องรอยของการสร้างอุปกรณ์ในการตักน้ำแบบโบราณ ที่เรียกว่า “น้ำถุ้ง” ซึ่งหมายถึง ถังน้ำ หรือภาชนะสำหรับใส่น้ำที่สานด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับตักน้ำจากบ่อน้ำ มีรูปร่างคล้ายกรวยสั้น ปากกว้าง ก้นเป็นรูปมนแหลม ด้านปากจะมีไม้ไขว้กัน เป็นหูสำหรับผูกกับเชือกที่ใช้ดึงหรือสาวน้ำถุ้งขึ้นจากบ่อน้ำ และจากประสบการณ์ความยากลำบากในการตักน้ำ จึงเกิดภูมิปัญญาชาวบ้านที่ชาญฉลาด ปรับก้นน้ำถุ้งให้มีความมนแหลม เมื่อโยนลงไปในบ่อน้ำ น้ำถุ้ง จะคว่ำลงให้น้ำเข้า เมื่อดึงเชือกขึ้นมาน้ำก็จะเต็มตัวน้ำถุ้งทุกครั้ง จึงทำให้น้ำถุ้งเป็นอุปกรณ์ตักน้ำที่นิยมใช้กันในสมัยโบราณ ชนไตลื้อบ้านธิ จะทำน้ำถุ้งหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เพื่อเอาไว้ใช้สอย และส่งขายให้หมู่บ้านใกล้เคียง โดยหมู่บ้านที่มีการผลิตน้ำถุ้ง มากที่สุดจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน คือ ไทลื้อป่าเป่า หมู่ ๒ ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ... อ่านเพิ่มเติม


Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดลำพูน. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand