ผ้าจกโหล่งลี้ มรดกสายเมือง
" ผ้าจกโหล่งลี้ มรดกสายเมือง จังหวัดลำพูน "
การจกผ้า มรดกแห่งเมืองลี้ เมืองลี้สมัยตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองที่ขึ้นต่อนครลำพูน เจ้าผู้ครองนครลำพูนได้แต่งตั้งผู้ปกครองเมืองลึ้ เรียกว่า“พญาลี้” พร้อมทั้งกำหนดบทบัญญัติเป็นลักษณะตัวบทกฎหมายที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการปกครอง ทั้งนี้พญาลี้คงจะมีการสืบต่อกันมาหลายท่านแล้วไปสิ้นสุดองค์สุดท้ายที่ พญาเขื่อนแก้ว เมื่อสมัยปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งจัดระบบการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นมณฑลเทศาภิบาล จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และเริ่มมีการปกครองในตำแหน่ง “นายอำเภอ” แทนเจ้าเมืองตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๐ ในชั้นต้นเมืองลี้ได้ถูกเปลี่ยนเป็น “อำเภอลี้” โดยอยู่ในเขต การปกครองของจังหวัดลำพูน ทั้งนี้มีการบอกเล่าของผู้รู้ในตำบลลี้ และตำบลดงดำว่า ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ณ เวลาปัญจุบัน นอกจากบางส่วนที่อยู่อาศัยแต่เดิมในพื้นที่แล้ว บางส่วนอพยพมาจากเมืองเถิน ซึ่งกลุ่มแรกที่อพยพมานั้น มาจากบ้านน้ำโท้ง ราวปี พ.ศ. ๒๔๓๗ - ๒๔๔๐ ประมาณ ๑๕ ครัวเรือน โดยเริ่มตั้งถิ่นฐานที่บ้านป่าคาเป็นอันดับแรก แล้วค่อยๆ แพร่กระจายไปทั่วพื้นที่ โดยเฉพาะในตำบลดงดำและตำบลลี้ นอกจากนี้ประวัติของบ้านปวงคำกล่าวว่า เมื่อปี ๒๓๖๖ พ่อหนานเทพ เทพปัน พร้อมผู้คนกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาจากเมืองเถิน เข้ามาตั้งหลักปักฐานหักร้างถางพง ทำมาหากินในที่ดินอันเป็น บริเวณที่อุดมสมบูรณ์ มีการก่อสร้างฝายกั้นน้ำ และพระอารามในพื้นที่บ้านปวงคำในปัจจุบัน ต่อมาก็มีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มเติมเป็นชุมชนใหญ่ เจ้าเมืองลำพูนจึงได้แต่งตั้งพ่อหนานเทพให้เป็นพญาเทพปกครองชุมชนในเวลาต่อมา และที่นี่เป็นบริเวณที่ซิ่นตีนจกโบราณซึ่งเป็นสมบัติของชาวเมืองลี้ว่า “ซิ่นตีนจกโหล่งลี้” นอกจากนี้ก็ยังพบผ้าหลบและหมอนหน้าจกแบบไทยวนทั่วไปในพื้นที่โหล่งลี้ จึงจะเรียกลายจกเหล่านี้ว่า “ลายจกโหล่งลี้” ...อ่านเพิ่มเติม
Post a Comment